ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าเหมพินธุไพจิตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าเหมพินธุไพจิตร
เจ้านครลำพูน
ครองราชย์21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439
รัชสมัย2 ปี
รัชกาลก่อนหน้าเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์
รัชกาลถัดไปเจ้าอินทยงยศโชติ
ประสูติพ.ศ. 2364 (75 ปี)
พิราลัย5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439
พระบุตร19 พระองค์
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลลังกาพินธุ์
พระบิดาเจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ
พระมารดาแม่เจ้าคำจ๋ามหาเทวี

เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงเป็น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าเหมพินธุไพจิตร มีพระนามเดิมว่า เจ้าน้อยคำหยาด ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2364 [1] ณ เมืองนครลำพูน ทรงเป็นราชโอรสใน เจ้าไชยลังกาพิศาลโสภาคย์คุณ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 6 กับ แม่เจ้าคำจ๋าราชเทวี และทรงเป็นพระนัดดา (หลานปู่) ใน พระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 1 และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 3 กับ แม่เจ้าคำแปงราชเทวี

เจ้าเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมราชมารดา 3 พระองค์ มีนามตามลำดับ ดังนี้

  • เจ้าหญิงแสน ณ ลำพูน - ชายา "เจ้าหนานยศ ณ ลำพูน"
  • เจ้าน้อยบุ ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยหล้า ณ ลำพูน - พิราลัยแต่เยาว์

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2405 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นที่ เจ้าราชบุตร เมืองนครลำพูน และต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนขึ้นเป็น เจ้าอุปราช เมืองนครลำพูน และต่อมาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2437 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนฐานันดรศักดิ์ เจ้าอุปราช (น้อยคำหยาด) เมืองนครลำพูน ขึ้นเป็น ... เจ้าเหมพินธุไพจิตร ศุภกิจเกียรติโศภน วิมลสัตยสวามิภักดิคุณ หริภุญไชยรัษฎารักษ ตทรรคเจดียบูชากร ราษฎรธุรธาดา เอกัจจโยนกาธิบดี เจ้านครลำพูน ... [2]ทรงเสด็จขึ้นครองเมืองนครลำพูนต่อจาก เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 ผู้เป็นราชเชษฐาต่างราชมารดา รวมระยะเวลาที่ทรงปกครองเมืองนครลำพูน 2 ปี และเสด็จถึงแก่พิราลัย เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 สิริชนมายุได้ 75 ปี[3]ด้วยพระโรคอุจาระ ธาตุพิการ

ในขณะที่ท่านได้เป็นเจ้าครองนครลำพูนนั้น ท่านได้เป็นผู้นำราษฎรลำพูนให้เอาใจใส่ในการเกษตรกรรมทุก ๆ สาขา มีการปลูกข้าวและทดน้ำเข้านาสร้างเหมืองฝายมากมาย ปรับปรุงที่ดอนให้เป็นพื้นที่ราบ และ ขุดลอกเหมืองเก่าให้น้ำเข้านาได้สะดวก ที่ใดไม่มีเหมืองฝายก็สร้างเหมืองฝายใหม่เพื่อทดน้ำเข้านา พอข้าวเสร็จก็ปลูกหอมกระเทียมและใบยากันต่อไป

นอกจากนั้นท่านได้เป็นผู้นำในการบำรุงพระพุทธศาสนา ปรับปรุงวัดที่เก่าแก่ให้เจริญก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม ชักชวนราษฎรปั้นอิฐ ก่อกำแพง สร้างวิหาร กุฏิ โบสถ์ วัดวาอาราม บริเวณนอกเมืองและในเมืองลำพูน ชักชวนราษฎรสร้างสะพาน ยกร่องถนนในหมู่บ้านให้ล้อเกวียนเข้าได้ ขุดร่องระบายน้ำเวลาฝนตก

ราชโอรส ราชธิดา

[แก้]

เจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ทรงมีราชโอรสและราชธิดา รวม 19 พระองค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำพูน และ ลังการ์พินธุ์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้

แม่เจ้าเปาคำเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าเปาคำเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1 ราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงรสคำ (ณ ลำพูน) ณ เชียงใหม่ - ชายา เจ้าน้อยแก้วมรกต ณ เชียงใหม่
  • เจ้าน้อยสองเมือง ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงลัมนุช ณ ลำพูน

แม่เจ้าอุษาเหมพินธุไพจิตรราชเทวี

[แก้]

ใน แม่เจ้าอุษาเหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าบุรีรัตน์ สุริยะ ณ ลำพูน, เจ้าบุรีรัตน์นครลำพูน

แม่เจ้าบัวทิพย์เหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวทิพย์เหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าไชยสงคราม โอรส ณ ลำพูน, เจ้าไชยสงครามนครลำพูน

แม่เจ้าบัวเขียวใหญ่เหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวเขียวใหญ่เหมพินธุไพจิตรเทวี (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าอุตรการโกศล เมืองคำ ณ ลำพูน, เจ้าอุตรการโกศลนครลำพูน

แม่เจ้าบัวเขียวน้อยเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวเขียวน้อยเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 2)

  • เจ้าน้อยอินเหลา ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยคำมุง ณ ลำพูน

แม่เจ้าฝางเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าฝางเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1 ราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงลังกา ณ ลำพูน
  • เจ้าน้อยอินทยศ ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำปาเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าคำปาเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยแจ่ม ณ ลำพูน

แม่เจ้าบัวล้อมเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าบัวล้อมเหมพินธุ์ไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยรามจักร ลังการ์พินธุ์ - เจ้าน้อยรามจักรฯ ได้รับพระราชทานใช้นามราชตระกูลสาขา "ลังการ์พินธุ์"

แม่เจ้าบุญเป็งเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าบุญเป็งเหมพินธุไพจิตร (มีราชโอรส 1)

  • เจ้าน้อยคำหมื่น ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำแปงเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าคำแปงเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงคำแตน ณ ลำพูน

แม่เจ้าคำปันเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าคำปันเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงจันทร์ฟอง ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงจันทร์เที่ยง ณ ลำพูน

แม่เจ้าปันเหมพินธุไพจิตร

[แก้]

ใน แม่เจ้าปันเหมพินธุไพจิตร (มีราชธิดา 2)

  • เจ้าหญิงมุกดิ์ ณ ลำพูน
  • เจ้าหญิงพิมพา ณ ลำพูน

หม่อม -

[แก้]

ใน หม่อม - (มีราชธิดา 1)

  • เจ้าหญิงแว่นคำ (ณ ลำพูน) ธนัญชยานนท์ - ชายา เจ้าราชบุตร มหาวัน ธนัญชยานนท์, เจ้าราชบุตรนครลำพูน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
  • สมหมาย เปรมจิตต์, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตำนานสิบห้าราชวงศ์ (ฉบับสอบชำระ) . เชียงใหม่: มิ่งเมือง, 2540.
  • ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
  • เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่, คณะทายาทสายสกุล ณ เชียงใหม่. เจ้าหลวงเชียงใหม่.
  • คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546
  • นงเยาว์ กาญจนจารี. ดารารัศมี : พระประวัติพระราชชายา เจ้าดารารัศมี. เชียงใหม่ :สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์, 2539.
  • คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า เจ้าเหมพินธุไพจิตร ถัดไป
เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน
(พ.ศ. 2434 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439)
เจ้าอินทยงยศโชติ