ข้ามไปเนื้อหา

เกษมสันต์ วีระกุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกษมสันต์ วีระกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กันยายน พ.ศ. 2506 (61 ปี)
ศาสนาพุทธ

เกษมสันต์ วีระกุล อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2554) รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน อดีตคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรองหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา อดีตผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และอดีตผู้ดำเนินรายการ เหตุบ้านการเมือง ทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

ประวัติ

[แก้]

เกษมสันต์ วีระกุล เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2506

การศึกษา

[แก้]
  • มัธยมศึกษา พ.ศ. 2519-2524 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • ปริญญาตรี พ.ศ. 2524 – 2527 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโท พ.ศ. 2527 – 2528 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ภาคภาษาอังกฤษ)
  • พ.ศ. 2528 – 2529 นักวิจัยทุนรัฐบาลญี่ปุ่น มหาวิทยาลัย โอซาก้า 2 ปี

การทำงาน (ปัจจุบัน)

[แก้]

1.     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

2.     ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสารภาครัฐเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชน คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ

3.     ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์วุฒิสภา

4.     อนุกรรมาธิการศึกษาและเสนอแนะแนวทางด้านการสื่อสารในการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

5.     คณะทำงานศึกษาแนวทางส่งเสริมการตระหนักรู้เกี่ยวกับสังคม (Social Media Awareness) ในกรรมาธิการการเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม วุฒิสภา

6.     คณะอนุกรรมการสื่อสารองค์กรเพื่อการต่อต้านการทุจริต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)

7.     กรรมการ คณะกรรมการยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการมุ่งสู่การปฎิบัติ

8.     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

9.     นักวิชาการอิสระเชี่ยวชาญด้านเออีซี

10.   ประธานกรรมการ บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

11.   กรรมการบริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)

12.    ประธานกรรมการ บริษัท SI.com (Thailand) Co., Ltd.

13.   ประธานกรรมการบริหารกองทุนทำบุญวันเกิดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14.   วิทยากรประจำรายการ “Good Morning ASEAN” ทางสถานี วิทยุ FM100.5

งานการเมือง

[แก้]

เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมชาติพัฒนา และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน) โดยได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับมอบหมายให้ทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค และลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 8 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554

•  บรรณาธิการบริหาร ศูนย์บริหารสื่อสารในภาวะวิกฤต เพื่อวางกลยุทธ์สื่อสาร ศบค.

• ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง(พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2554)

• รองหัวหน้าพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา (มกราคม พ.ศ. 2550- พฤษภาคม พ.ศ. 2554)

• หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ พรรคชาติไทยพัฒนา

ด้านธุรกิจ

[แก้]

• รองประธานกรรมการบริษัทสุรากระทิงแดง (1988) จำกัด

• รองประธานกรรมการบริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่แอนด์ดิสทิลเลอรี่ จำกัด

• รองประธานกรรมการบริษัทสีมาธุรกิจ จำกัด

• รองประธานกรรมการบริษัทนทีชัย จำกัด

• รองประธานกรรมการบริษัทหลักชัยค้าสุรา จำกัด

• ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

• รองประธานกรรมการบริหารบริษัททศภาค จำกัด

• กรรมการผู้จัดการ บริษัทยูไนเต็ดไวน์เนอรี่ แอนด์ ดิสทิลเลอรี่ จำกัด

• กรรมการผู้จัดการ บริษัทยู.ดับบลิว.ดี.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด

• กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิธ แอนด์ คิน คอมมิวนิวเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

• กรรมการผู้จัดการ บริษัท ว็อชด็อก จำกัด

ด้านวิชาการ/ ด้านการศึกษา

[แก้]

• ที่ปรึกษาสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

• เลขาธิการสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

• กรรมการวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• กรรมการฝ่ายอำนวยการและกรรมการบริหารศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

• คณะกรรมการ อนุกรรมการและที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ ขององค์กรธุรกิจ สังคม และราชการหลายแห่ง

• อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• วิทยากรบรรยายหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง ระดับรองผู้บังคับการ

• ผู้บรรยายพิเศษด้านการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนหลายแห่ง

ด้านสื่อมวลชน

[แก้]

• ผู้ดำเนินรายการ “ข่าวเช้าวันหยุด” ทางช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

• ผู้ดำเนินรายการ “เที่ยงวันทันโลก” ทางช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

• ผู้ดำเนินรายการ “เป็นข่าวเช้านี้” ทางช่อง 13 Family

• ผู้ดำเนินรายการ “เหตุบ้านการเมือง” ทางช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

• ผู้ดำเนินรายการ AEC กับเกษมสันต์ ทางสถานีโทรทัศน์ TNN24

• ผู้ดำเนินรายการ “ถามตรง” ช่วงข่าว 4 ทุ่ม ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

• ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ “ตามดูผู้แทน” “เดินหน้าหาผู้แทน” และ “ 11 รายวัน” ทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์

• ผู้ดำเนินรายการไทยสกายเคเบิลทีวี “อรุณสวัสดิ์กรุงเทพ”

• ผู้ดำเนินรายการวิทยุ และดูแลรายการ “เปิดประเด็น” ทาง F.M. 97

• ผู้ดำเนินรายการ AEC PLUS กับเกษมสันต์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 SD

• ผู้ดำเนินรายการข่าววันใหม่ ช่วง MORNING AEC กับเกษมสันต์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

• ผู้ดำเนินรายการข่าววันใหม่ ช่วง AEC Energy กับเกษมสันต์ ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 อ.ส.ม.ท.

• ผู้เชี่ยวชาญด้าน AEC ประจำรายการ คนหลังข่าว ทางสถานีโทรทัศน์ TNN24

• คอลัมนิสต์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และหนังสือพิมพ์คู่แข่งธุรกิจ

• คอลัมนิสต์ประจำหนังสือ Mother and Care Magazine

• คอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ คอลัมน์ รับมือ AEC

• คอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์ทันหุ้น คอลัมน์ เปิดประตูอาเซียน

• คอลัมนิสต์ประจำหนังสือ Leader Time Magazine คอลัมน์รอบรั้วอาเซียน

ด้านสังคม

[แก้]

• กรรมการมูลนิธิโกมลคีมทอง

• ประธานกรรมการ บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)

ด้านกีฬา

[แก้]

• นายกสมาคม สควอชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

รางวัล

[แก้]

•       รางวัลนักบริหารดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2564 สาขาผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ มูลนิธิเพื่อสังคมไทย

•        รางวัลคนดีศรีสวนกุหลาบ รุ่นที่ 99 โรงเรียนสวนกุหลาบ ประจำปี 2560

•        ได้รับรางวัลพระราชทาน รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 17 ประจำปี 2559 ด้านนักวิทยุโทรทัศน์ดีเด่น

•        รางวัล Boss of the year 2005 นักบริหารจัดการดีเด่น สาขาบริหารจัดการธุรกิจการตลาด ประจำปี 2548

•        รางวัลผู้ที่ได้รับคัดเลือกจากสมาคมเศรฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ให้เป็น “ศิษย์เก่าดีเด่นประจำปี 2547”

•             รางวัลศิษย์เก่าผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ สร้างและเผยแพร่ชื่อเสียงหรือปกป้องเกียรติคุณของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในรอบ 70ปี ประจำปี 2547

•        ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้ดำเนินรายการชายดีเด่น รายการเหตุบ้านการเมือง ประจำปี 2543

•        ได้รับรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประเภทรายการสถานการณ์ปัจจุบันดีเด่น ประจำปี 2542

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

แหล่งอ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๙๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๓๔๖, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐