อำเภอสบปราบ
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
อำเภอสบปราบ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sop Prap |
คำขวัญ: อุทยานดอยจง มั่นคงวัฒนธรรม งามล้ำน้ำตกแม่ไซงู เชิดชูบ่อน้ำทิพย์ อ่างนับสิบรอบเมือง ฟูเฟื่องเรื่องดินขาว พร่างพราวปลาหลากพันธุ์ | |
แผนที่จังหวัดลำปาง เน้นอำเภอสบปราบ | |
พิกัด: 17°52′51″N 99°20′14″E / 17.88083°N 99.33722°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำปาง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 502.46 ตร.กม. (194.00 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 26,652 คน |
• ความหนาแน่น | 53.04 คน/ตร.กม. (137.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 52170 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 5211 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอสบปราบ เลขที่ 10/1 หมู่ที่ 2 ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง 52170 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
สบปราบ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นอำเภอในจังหวัดลำปาง เดิมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อำเภอเสริมงามทั้งหมด ต่อมาทางราชการยุบเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอำเภอเกาะคาในปี พ.ศ. 2460 เนื่องจากการงานทางราชการมีน้อย[1] ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอดังเดิมในปี พ.ศ. 2496[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอสบปราบมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเสริมงาม อำเภอเกาะคา และอำเภอแม่ทะ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังชิ้น (จังหวัดแพร่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเถิน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเถินและอำเภอเสริมงาม
ประวัติ
[แก้]ในสมัยโบราณพม่าได้ยกกองทัพมาโจมตีไทยตามหัวเมืองต่างๆได้มีกองทัพพม่ามาตั้งค่าย ที่บ้านสบปราบและมีคนไทยในท้องที่สบปราบรวบรวมพลังขึ้นต่อต้านพม่า เมื่อสบโอกาสก็เข้าโจมตีพม่าพร้อม ๆ กัน ณ ที่บ้าน สบปราบในที่สุดพม่าก็ถูกตีแตกพ่ายไปในสถานที่แห่งนี้ จึงได้เรียกว่า "บ้านสบปราบ" ซึ่งแปลได้ว่าได้มาพบข้าสึกและได้โจมตี ข้าสึกพ่ายไป หรืออีกนัยหนึ่งคำว่า สบ หมายถึง ที่ที่ลำห้วยไหลมาบรรจบกับกับแม่น้ำใหญ่ ตามคำเรียกของคนพื้นเมืองเหนือ คำว่า "สบปราบ" คือสถานที่ลำห้วยแม่ปราบไหลมาบรรจบกับแม่น้ำวังตรงจุดนี้
เมื่อราษฎรได้รบพุ่งชนะข้าศึกแล้วก็ได้สร้างหลักฐาน สร้างบ้านเรือนอยู่สถานที่นั้นตลอดมาและมีประชากรจากบ้านเมืองอื่นอพยพเข้ามาทำมาหากินเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นชุมชนใหญ่เช่นปัจจุบัน ก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2450 เป็นอำเภอขึ้นตรงต่อจังหวัดลำปาง และมาอีกชั่วระยะหนึ่งในปี พ.ศ. 2460 ได้มีการยุบอำเภอสบปราบลงเป็น กิ่งอำเภอสบปราบ ขึ้นตรงต่ออำเภอเกาะคาเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2496 จึงได้รับแต่งตั้งเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอสบปราบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 46 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อตำบล | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | จำนวนประชากร[3] |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | สบปราบ | Sop Prap | 15 | 3,275 | 10,668 | |
2. | สมัย | Samai | 13 | 1,917 | 7,573 | |
3. | แม่กัวะ | Mae Kua | 8 | 1,492 | 5,041 | |
4. | นายาง | Na Yang | 10 | 1,458 | 4,776 |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอสบปราบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลสบปราบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสบปราบ
- องค์การบริหารส่วนตำบลสบปราบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสบปราบ (นอกเขตเทศบาลตำบลสบปราบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสมัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมัยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กัวะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่กัวะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายางทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอสบปราบลงเป็นกิ่งอำเภอสบปราบ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ง): 504. วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2460
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอจักราช อำเภอสัตตหีบ อำเภอศรีสงคราม อำเภอชะอวด อำเภอหนองแซง อำเภอภาชี อำเภอเขาไชยสน อำเภอชุมพลบุรี อำเภอวาริชภูมิ อำเภอสบปราบ และอำเภอสุไหงโกลก พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (17 ก): 368–371. วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496
- ↑ จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดลำปาง ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553, สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย