อำเภอวัดสิงห์
อำเภอวัดสิงห์ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Wat Sing |
คำขวัญ: หลวงปู่ศุขมิ่งเมือง นามกระเดื่อง เครื่องจักสาน ขนมหวานตำนานไทย ต้นน้ำใหญ่ท่าจีน | |
แผนที่จังหวัดชัยนาท เน้นอำเภอวัดสิงห์ | |
พิกัด: 15°15′19″N 100°2′17″E / 15.25528°N 100.03806°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชัยนาท |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 315.318 ตร.กม. (121.745 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 24,860 คน |
• ความหนาแน่น | 78.84 คน/ตร.กม. (204.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 17120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1803 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์ หมู่ที่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 17120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
วัดสิงห์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยนาท เป็นที่ตั้งของวัดปากคลองมะขามเฒ่าซึ่งมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต คือพระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) หรือที่ชาวบ้านรู้จักในนาม หลวงปู่ศุข[1] และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำท่าจีนที่ปากคลองมะขามเฒ่า ช่วงผ่านจังหวัดชัยนาทเรียกว่า "แม่น้ำมะขามเฒ่า"
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอวัดสิงห์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองขาหย่างและอำเภอเมืองอุทัยธานี (จังหวัดอุทัยธานี)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองชัยนาท
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอหันคา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองมะโมง
ประวัติ
[แก้]อำเภอวัดสิงห์สมัยก่อนไม่มีที่ทำการแน่นอน ต่อมาประมาณก่อนปี พ.ศ. 2449[2] ได้มีการก่อสร้างอำเภอขึ้นเป็นครั้งแรก ในที่ดินของหลวงชิงและคุณยายอึ่ง ในสมัยของหลวงไชยเขตต์ (พระยาธานินทร์ดกกิจ) นายอำเภอคนแรก ที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์หลังแรกตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำท่าจีนเป็นอาคารไม้ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลตำบลวัดสิงห์ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีการสร้างอาคารหลังใหม่เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า เนื้อที่ ประมาณ 40 ไร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการสร้างที่ว่าอำเภอหลังใหม่เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น เนื่องจากอาคารเดิมชำรุดทรุดโทรม ซึ่งได้เปิดใช้อาคารเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา
ท้องที่อำเภอวัดสิงห์มีตลาดเป็นที่ประชุมชน มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น มีการคมนาคมและการค้าขายเจริญมาก ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงได้จัดตั้ง "เทศบาลตำบลวัดสิงห์" ขึ้น เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480[3] เป็นเทศบาลตำบลแห่งแรกของจังหวัดชัยนาท ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังเทศบาลเมืองชัยนาทเพียง 3 เดือน จึงนับได้ว่าอำเภอวัดสิงห์เป็นอำเภอที่มีความเจริญมากมาตั้งแต่ในอดีต สมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี บริเวณด้านตะวันตกของเทศบาลเป็นสถานที่ชุมนุมการค้า จำเป็นที่จะต้องขยายตลาดวัดสิงห์ออกไปให้พ้นจากคันกั้นน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา จึงปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เหมาะสมแก่การปกครองและทะนุบำรุง[4] และตัดพื้นที่ตำบลอื่นที่อยู่ในเขตเทศบาลมารวมอยู่ในตำบลเดียว[5] เพื่อให้พื้นที่บริเวณเทศบาลอยู่ในเขตการปกครองของตำบลเดียวและเพื่อประโยชน์ในการดูแลเทศบาล
- วันที่ 4 มิถุนายน 2449 สร้างที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์ แขวงชัยนาท[2]
- วันที่ 4 มกราคม 2473 ตั้งตำบลหนองน้อย แยกออกจากตำบลวัดสิงห์ และตำบลหนองขุ่น ตั้งตำบลหนองมะโมง แยกออกจากตำบลกุดจอก[6]
- วันที่ 14 มีนาคม 2480 ยกฐานะท้องที่บางส่วนของตำบลวัดสิงห์ จัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลวัดสิงห์[3]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลหนองขุ่น แยกออกจากตำบลบ่อแร่ ตำบลมะขามเฒ่า และตำบลหนองบัว ตั้งตำบลหนองมะโมง แยกออกจากตำบลกุดจอก[7]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2497 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์ เพื่อความเหมาะสมแก่การบริหารกิจการท้องถิ่น[4] โดยขยายพื้นที่ไปถึงหมู่ 3 บางส่วน ตำบลมะขามเฒ่า และหมู่ 5 บางส่วน ตำบลหนองบัว
- วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2498 โอนพื้นที่หมู่ 3 ตำบลมะขามเฒ่า และหมู่ 5 ตำบลหนองบัว (เฉพาะส่วนที่ถูกตัดเข้าในเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์) ไปรวมกับตำบลวัดสิงห์[5]
- วันที่ 30 ตุลาคม 2522 ตั้งตำบลวังตะเคียน แยกออกจากตำบลหนองมะโมง[8]
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2526 ตั้งตำบลสะพานหิน แยกออกจากตำบลกุดจอก[9]
- วันที่ 25 กันยายน 2527 ตั้งตำบลวังหมัน แยกออกจากตำบลหนองน้อย[10]
- วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลหนองมะโมง ตำบลวังตะเคียน ตำบลสะพานหิน และตำบลกุดจอก อำเภอวัดสิงห์ มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองมะโมง ขึ้นกับอำเภอวัดสิงห์[11]
- วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหนองมะโมง อำเภอวัดสิงห์ เป็น อำเภอหนองมะโมง[12]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอวัดสิงห์แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[13] |
---|---|---|---|---|
1. | วัดสิงห์ | Wat Sing | –
|
3,117
|
2. | มะขามเฒ่า | Makham Thao | 11
|
5,096
|
3. | หนองน้อย | Nong Noi | 8
|
3,626
|
4. | หนองบัว | Nong Bua | 5
|
2,853
|
5. | หนองขุ่น | Nong Khun | 8
|
3,559
|
6. | บ่อแร่ | Bo Rae | 7
|
2,353
|
7. | วังหมัน | Wang Man | 8
|
4,443
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลวัดสิงห์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดสิงห์ทั้งตำบล (มีฐานะเป็นท้องถิ่นเทศบาลตำบลนับแต่แรกตั้ง)[3]
- เทศบาลตำบลหนองน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองน้อยทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองขุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขุ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามเฒ่าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อแร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังหมัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังหมันทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "มุมพระเครื่อง - เมื่อหลวงปู่ศุข เกสโร มรณภาพ เมื่อท่านมรณภาพ ณ เดือนอ้าย แรม ๑ ค่ำ ปีกุน ตรงกับเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เวลาประมาณ ๔ โมงเย็น".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)สืบค้นวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - ↑ 2.0 2.1 "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอวัดสิงห์ แขวงเมืองชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 435–438. วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2449
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พุทธศักราช ๒๔๘๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 1895–1898. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480
- ↑ 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท พ.ศ. ๒๔๙๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 71 (88 ก): 100–103. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2497
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (16 ง): 435–436. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลหนองน้อย ซึ่งแยกจากตำบลวัดสิงห์และตำบลหนองขุ่น และตำบลหนองมะโมง ซึ่งแยกจากตำบลกุดจอก ท้องที่อำเภอวัดสิงห์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 341–342. วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2473
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (184 ง): 3929–3932. วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (114 ง): 2226–2229. วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (130 ง): 3347–3350. วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2527
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองมะโมง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 18 ง): 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27. วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2539
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย อำเภอดอนจาน อำเภอนาคู อำเภอสามชัย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอบึงสามัคคี อำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอซำสูง อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านแฮด อำเภอเวียงเก่า อำเภอหนองนาคำ อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอคลองเขื่อน อำเภอเกาะจันทร์ อำเภอเนินขาม อำเภอหนองมะโมง อำเภอซับใหญ่ อำเภอดอยหลวง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอดอยหล่อ อำเภอแม่ออน อำเภอหาดสำราญ อำเภอเกาะกูด อำเภอเกาะช้าง อำเภอวังเจ้า อำเภอวังยาง อำเภอเทพารักษ์ อำเภอบัวลาย อำเภอพระทองคำ อำเภอเมืองยาง อำเภอลำทะเมนชัย อำเภอสีดา อำเภอช้างกลาง อำเภอนบพิตำ อำเภอชุมตาบง อำเภอแม่เปิน อำเภอภูเพียง อำเภอแคนดง อำเภอบ้านด่าน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอภูกามยาว อำเภอภูซาง อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอดงเจริญ อำเภอบึงนาราง อำเภอสากเหล็ก อำเภอกุดรัง อำเภอชื่นชม อำเภอเชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอหนองฮี อำเภอสุขสำราญ อำเภอเขาชะเมา อำเภอนิคมพัฒนา อำเภอบ้านคา อำเภอเวียงหนองล่อง อำเภอหนองหิน อำเภอเอราวัณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอศิลาลาด อำเภอมะนัง อำเภอบางเสาธง อำเภอโคกสูง อำเภอวังสมบูรณ์ อำเภอวิภาวดี อำเภอเขวาสินรินทร์ อำเภอโนนนารายณ์ อำเภอพนมดงรัก อำเภอศรีณรงค์ อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอโพธิ์ตาก อำเภอรัตนวาปี อำเภอสระใคร อำเภอกู่แก้ว อำเภอประจักษ์ศิลปาคม อำเภอนาตาล อำเภอนาเยีย อำเภอน้ำขุ่น อำเภอสว่างวีระวงศ์ และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-09-27. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.