อำเภอท่าช้าง
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอท่าช้าง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Tha Chang |
คำขวัญ: ถิ่นช้างศึกครั้งกรุงศรี บารมีหลวงพ่อแพ | |
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภอท่าช้าง | |
พิกัด: 14°45′42″N 100°23′24″E / 14.76167°N 100.39000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สิงห์บุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 48.4 ตร.กม. (18.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 13,902 คน |
• ความหนาแน่น | 287.23 คน/ตร.กม. (743.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 16140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1705 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอท่าช้าง ถนนท่าช้าง-ท่าข้าม ตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี 16140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ท่าช้าง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสิงห์บุรี
ประวัติ
[แก้]อำเภอท่าช้าง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ปรากฎชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า บ้านขุนโลก ซึ่งเป็นสนามรบในวีรกรรมชาวบ้านบางระจัน ครั้งที่ 7 ต่อมาได้มีการแยกตำบลในอำเภอพรหมบุรี ซึ่งอยู่ห่างไกลจำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลถอนสมอ ตำบลวิหารขาว และตำบลโพประจักษ์ มารวมเข้าด้วยกัน สาเหตุที่แยกออกมาเป็นอำเภอ เพราะประชาชนในพื้นที่ 3 ตำบลดังกล่าว ไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อกับราชการ จะติดต่อได้โดยทางน้ำซึ่งต้องผ่านประตูของกรมชลประทาน ทั้ง 2 แห่ง ได้แก่ ประตูน้ำพระงามและประตูน้ำยางมณี ทางบกไม่มีเส้นทางติดต่อ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ประกอบกับเคยมีการตั้งอำนวยการเฉพาะกิจเพื่อปราบปรามโจรผู้ร้ายจับคนเรียกค่าไถ่ ณ ที่ตลาดท่าช้างในปัจจุบัน ใน พ.ศ. 2503 ได้รับการจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอท่าช้าง ขึ้นกับอำเภอพรหมบุรี[1] และใน พ.ศ. 2506 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอท่าช้าง[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอท่าช้างตั้งอยู่ตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอค่ายบางระจัน อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรหมบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ทองและอำเภอแสวงหา (จังหวัดอ่างทอง)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอค่ายบางระจัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอท่าช้างแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[3] |
---|---|---|---|
1. | ถอนสมอ | Thon Samo | 5,699
|
2. | โพประจักษ์ | Pho Prachak | 3,479
|
3. | วิหารขาว | Wihan Khao | 1,899
|
4. | พิกุลทอง | Phikun Thong | 2,934
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอท่าช้างประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลถอนสมอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลถอนสมอและตำบลพิกุลทองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพประจักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพประจักษ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวิหารขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิหารขาวทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานที่สำคัญ ๆ ในอำเภอได้แก่
ศาสนสถาน
[แก้]- วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง
- วัดโบสถ์
- วัดวิหารขาว
- วัดโสภา
- วัดเสาธงหิน
- วัดจำปาทอง
- วัดเสมาทอง
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนท่าช้างวิทยาคาร
- โรงเรียนวัดโบสถ์
- โรงเรียนวัดถอนสมอ
- โรงเรียนวัดโสภา
- โรงเรียนวัดพิกุลทอง
- โรงเรียนวัดวิหารขาว
- โรงเรียนชุมชนวัดเสาธงหิน
- โรงเรียนอนุบาลท่าช้าง
- โรงเรียนใจเพียรวิทยานุสรณ์
- วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี แห่งที่ 2
- ห้องเรียนวัดพิกุลทอง จังหวัดสิงห์บุรี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ธนาคาร
[แก้]- ธนาคารออมสิน สาขาท่าช้าง
โบราณสถาน
[แก้]- วัดขุนโลก
- วัดโบสถ์
- วัดถอนสมอ
- วัดดงควายโทน
- วัดน้อย กะดีแดง
- วัดใหญ่ กะดีแดง
- วัดน้อย เสาธงหิน
- วัดมะปรางหวาน
- วัดบ้านสร้าง
- วัดสาคู
- วัดตะโก
- วัดกุฎิ ละเมาะยุบ
- วัดกุฎ พิกุลทอง
- วัดเศวตรฉัตร
- วัดสน่ำ
- วัดเจดีย์ กะดีแดง
- วัดฉิ้ง
- วัดเตย
สถานพยาบาล
[แก้]- โรงพยาบาลท่าช้าง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถอนสมอ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิกุลทอง
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวิหารขาว
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพประจักษ์
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง
- โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริหนองลาด
- วัดโบสถ์
- วัดขุนโลก (วัดร้าง)
- วัดบ้านสร้าง (วัดร้าง)
ศูนย์เรียนรู้
[แก้]- ศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฏีใหม่ ตำบลโพประจักษ์
- แหล่งเรียนรู้การปลูกบอนสีสวนผู้ใหญ่โชติ ตำบลพิกุลทอง
- ฟาร์มของกำนันไพโรจน์ พูลศรี ตำบลวิหารขาว
- สวนรักษ์ดาว ตำบลถอนสมอ
- ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลถอนสมอ
- ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชองชุมชนบ้านจำปาทอง ตำบลถอนสมอ
คนสำคัญและมีชื่อเสียง
[แก้]- พระธรรมมุนี (หลวงพ่อแพ เขมังกโร)[4]
- สันติสุข พรหมศิริ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (108 ง): 2562–2564. 27 ธันวาคม 2503. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย ... และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72): 362–366. 16 กรกฎาคม 2506. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2012-05-13.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์วัดพิกุลทอง พระอารามหลวง เก็บถาวร 2014-12-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน