อาการปวดเค้นหัวใจ
อาการปวดเค้นหัวใจ (angina pectoris) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | I20 |
ICD-9 | 413 |
DiseasesDB | 8695 |
eMedicine | med/133 |
MeSH | D000787 |
อาการปวดเค้นหัวใจ (อังกฤษ: angina pectoris) คืออาการเจ็บหน้าอกอย่างหนึ่ง[1]ซึ่งเป็นผลจากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการอุดตันหรือหดเกร็งของหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดเค้นหัวใจคือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการเกิดการแข็งของหลอดเลือดหัวใจ คำภาษาอังกฤษของอาการปวดเค้นหัวใจคือ angina pectoris มาจากคำภาษาลาตินว่า "angere" ("บีบรัด") ประกอบกับคำว่า pectus ("อก") ดังนั้นอาจแปลตามรูปศัพท์ได้ว่าอาการปวดเหมือนถูกบีบรัดหน้าอก
ความรุนแรงของความเจ็บปวดมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการขาดออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจอยู่บ้างเพียงเล็กน้อย (หมายความว่าแม้จะมีอาการปวดรุนแรง แต่อาจไม่เป็นหัวใจขาดเลือดก็ได้ และผู้ป่วยหัวใจขาดเลือด อาจไม่เจ็บหรือเจ็บไม่มากก็ได้)
อาการปวดที่เป็นมากขึ้นๆ ("crescendo") อาการปวดที่เป็นมากขึ้นทันทีทันใดขณะไม่ได้ออกแรงหรือพัก และอาการปวดที่เป็นอยู่นานกว่า 15 นาที เป็นอาการของอาการปวดเค้นไม่เสถียร ("unstable angina") (มักนับรวมกับโรคอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันเป็นกลุ่มภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน) อาการเช่นนี้มีโอกาสสูงที่จะเป็นจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด จำเป็นต้องได้รับการตรวจจากแพทย์โดยด่วน ส่วนใหญ่เบื้องต้นมักถือว่าเป็นหัวใจขาดเลือดไว้ก่อน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "MerckMedicus : Dorland's Medical Dictionary". สืบค้นเมื่อ 2009-01-09.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Information on ACTION - A Coronary Disease Trial Investigating Outcome with Nifedipine GITS in Patients with chronic stable angina pectoris เก็บถาวร 2007-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- British Heart Foundation - Angina เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Angina Pectoris Animation Video 3D เก็บถาวร 2011-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน