อันวาร์ อิบราฮิม
อันวาร์ อิบราฮิม | |
---|---|
انوار ابراهيم Anwar Ibrahim 安华·依布拉欣 | |
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย คนที่ 10 | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลละฮ์ ชะฮ์ สมเด็จพระราชาธิบดีอิบราฮิม อิซมาอิล |
รอง | อาหมัด ซาหิต ฮามิดี ฟาดิลลาห์ ยูซอฟ |
ก่อนหน้า | อิซมาอิล ซับรี ยักกบ |
ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 | |
นายกรัฐมนตรี | มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน อิซมาอิล ซับรี ยักกบ |
ก่อนหน้า | อิซมาอิล ซับรี ยักกบ |
ถัดไป | มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน |
ดำรงตำแหน่ง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี นาจิบ ราซัก |
ก่อนหน้า | วันอาซีซะห์ วันอิสมาอิล |
ถัดไป | วันอาซิซะห์ วันอิสมาอิล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาเลเซียจากเขต Permatang Pauh | |
ดำรงตำแหน่ง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 | |
ก่อนหน้า | วันอะซีซะห์ วันอิสมาอิล |
ถัดไป | มุฮ์ยิดดิน ยัซซิน |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2525 – 14 เมษายน พ.ศ. 2542 | |
ก่อนหน้า | ซาบิดี อาลี |
ถัดไป | วันอาซีซะห์ วันอิสมาอิล |
คู่สมรสรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย | |
ดำรงตำแหน่ง 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 – 24 กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | ฮามิดะห์ คามิส |
ถัดไป | มูไฮนี ไซนัล อาบิดีน |
รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนที่ 7 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 – 2 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
นายกรัฐมนตรี | มหาเธร์ โมฮัมหมัด |
ก่อนหน้า | ฆาฟาร์ บาบา |
ถัดไป | อับดุลละห์ อะห์มัด บาดาวี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2490 จโระก์ ตก กุน รัฐปีนัง สหภาพมาลายา |
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนีย์ |
พรรคการเมือง | PR – PKR (2006–ปัจจุบัน) BN – UMNO (1982–1998) |
คู่สมรส | วันอาซีซะห์ วันอิสมาอิล |
บุตร | 6 คน รวมนูรุล อิซซะห์ อันวาร์ |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยมาลายา |
วิชาชีพ | นักการเมือง |
ดาโต๊ะ ซรี อันวาร์ บิน อิบราฮิม (มลายู: Dato' Sri Anwar bin Ibrahim, ยาวี: انوار بن ابراهيم; เกิด 10 สิงหาคม พ.ศ. 2490) เป็นนักการเมืองชาวมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีหลายกระทรวง ผู้นำฝ่ายค้าน
ใน พ.ศ. 2542 เขาถูกตัดสินจำคุกหกปีด้วยข้อหาทุจริต และใน พ.ศ. 2543 ถูกตัดสินจำคุกอีกเก้าปีด้วยข้อหาร่วมเพศทางทวารหนัก ใน พ.ศ. 2547 ศาลสหพันธรัฐกลับการพิพากษาลงโทษที่สองและเขาได้รับการปล่อยตัว ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เขาถูกจับกุมจากข้อกล่าวหาว่า เขาร่วมเพศกับเพื่อนร่วมงานชายคนหนึ่งทางทวารหนัก แต่ศาลพิพากษายกฟ้องในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555[1] ต่อมา อัลวาร์เป็นบุคคลนำในฝ่ายค้านและช่วยรวมพรรคฝ่ายค้านเป็นปากาตันรักยัต ซึ่งลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2551 และ 2556
ผู้นำฝ่ายค้านสมัยแรก
[แก้]ที่การประชุมใหญ่สหองค์การมลายูแห่งชาติ มีการแจกจ่ายหนังสือ 50 Dalil Kenapa Anwar Tidak Boleh Jadi PM ("50 เหตุผลว่าทำไมอันวาร์จึงเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้") ซึ่งมีเนื้อหากล่าวหาชัดเจนเช่นเดียวกับกล่าวโทษอันวาร์ว่าฉ้อราษฎร์บังหลวง หนังสือนี้เขียนขึ้นโดย คาลิด จาฟรี อดีตบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์อูตูซานมาเลเซียซึ่งรัฐบาลควบคุม และอดีตบรรณาธิการฮาเรียนเนชันแนลที่ล้มเหลว อันวาร์ได้คำสั่งห้ามจากศาลมิให้จำหน่ายหนังสืออีกและดำเนินคดีต่อผู้เขียนในข้อหาหมิ่นประมาท ตำรวจแจ้งข้อหาตีพิมพ์ข่าวเท็จโดยเจตนาร้ายต่อผู้เขียนหนังสือ[2] ในบรรดาข้อกล่าวหาในหนังสือ หนึ่งในนั้นคือ อันวาร์เป็นพวกรักร่วมเพศ ตำรวจได้รับการชี้แจงให้สอบสวนความถูกต้องของการอ้างนี้ อันวาร์ถูกแจ้งข้อหาร่วมเพศทางทวารหนัก ถูกตัดสินโทษจำคุก 15 ปี ซึ่งซิดนีย์มอร์นิงแฮโรลเรียกว่า "การจัดฉากทางการเมืองอย่างโจ๋งครึ่ม"[3]
ระหว่างการคุมขังของตำรวจใน พ.ศ. 2541 อันวาร์ถูกทุบตีโดย เราะฮิม นูร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นจเรตำรวจ ภายหลังเราะฮิมถูกตัดสินว่ามีความผิดจริงฐานทำร้ายร่างกายและถูกจำคุกสองเดือนใน พ.ศ. 2543 เขาขอโทษอย่างเป็นทางการต่ออันวาร์และจ่ายค่าเสียหายไม่ทราบจำนวน[4]
ใน พ.ศ. 2542 อันวาร์แจ้งความดำเนินคดีต่อนายกรัฐมนตรีมหาเธร์ในข้อหาหมิ่นประมาทที่กล่าวหาว่าประพฤติผิดศีลธรรมและเรียกอันวาร์ว่าพวกรักร่วมเพศในการแถลงข่าวในมาเลเซีย[5]
คำตัดสินนี้ถูกพลิกบางส่วนใน พ.ศ. 2547 เป็นผลให้อันวาร์ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำ ผู้เขียนหนังสือดั้งเดิมเสียชีวิตใน พ.ศ. 2548 ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน แต่ไม่ก่อนหน้าที่ศาลสูงจะพิพากษาว่าเขามีความผิดฐานหมิ่นประมาทและต้องจ่ายค่าชดเชยแก่อันวาร์หลายล้านริงกิต[6] ศาลสหพันธ์พิพากษาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 ว่า การที่มหาเธร์ปลดอันวาร์จากตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีของเขาชอบตามรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า อันวาร์ล้มเหลวในการต่อสู้คัดค้านการปลดเขาออกจากตำแหน่ง[7][8][9]
ข้อกล่าวหาการร่วมเพศทางทวารหนัก
[แก้]วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เว็บท่าข่าวออนไลน์มาเลเซียกินีรายงานว่า ผู้ร่วมงานของอันวาร์ อิบราฮิมฟ้องรายงานตำรวจโดยอ้างว่า เขาถูกอันวาร์ร่วมเพศทางทวารหนัก[10] อันวาร์กล่าวว่า โทษจำคุกจากข้อหานี้ที่เป็นไปได้นั้นอาจถูกมองได้ว่าเป็นความพยายามปลดเขาจากตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านหลังเขาได้รับการสนับสนุนเพิ่มขึ้นและชัยชนะในการเลือกตั้งซ่อม เขายังยืนยันความบริสุทธิ์ของตนอีกและอ้างหลักฐานในแบบรายงานการแพทย์ด้วย[11]
ศาลตัดสินยกฟ้องในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555 เกือบสองปีหลังการพิจารณาเริ่มขึ้น ซึ่งผู้พิพากษาเห็นว่าหลักฐานดีเอ็นเอที่อัยการส่งมานั้นเชื่อถือไม่ได้ และยกฟ้องอันวาร์[12]
สองปีให้หลัง ศาลอุทธรณ์กลับคำตัดสินปล่อยตัวจำเลยเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2557 ทำให้อันวาร์ถูกตัดสินจำคุกห้าปี แต่ยังได้ประกันตัวระหว่างเขาอุทธรณ์คำตัดสินของคณะลูกขุน ฮิวแมนไรท์วอตช์และคณะกรรมการนักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลมาเลเซียว่าแทรกแซงในประเด็นตุลาการนี้[13] วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ศาลกลางมาเลเซียสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และยืนยันโทษจำคุกห้าปี[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ *"Anwar Ibrahim found not guilty of sodomy". Aljazeera. 9 January 2012. สืบค้นเมื่อ 9 January 2012.
- ↑ "Judge gives reasons for ruling in favour of Anwar". Daily Express. UK. 26 January 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 3 February 2010.
- ↑ Hartcher, Peter (23 February 2010). "Outdated political thuggery embarrasses Malaysia". The Sydney Morning Herald.
- ↑ "Apology ends Anwar's suit over beating". nytimes.com. 4 August 2005. สืบค้นเมื่อ 11 January 2012.
- ↑ "Anwar vs Dr M: Two of three judges recuse themselves (Updated)". The Star. 1 March 2010. สืบค้นเมื่อ 1 March 2010.
- ↑ "What is RM100 million?". Malaysian Insider. 28 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-15. สืบค้นเมื่อ 30 January 2010.
- ↑ "Court: Anwar's sacking from cabinet posts is valid". The Malay Mail. 8 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-09. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
- ↑ "Anwar's Sacking From Cabinet Posts In 1998 Is Valid, Federal Court Rules". Bernama. 8 March 2010. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
- ↑ "Update Anwar's sacking was lawful, rules Federal Court". TheEdge. 8 March 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-26. สืบค้นเมื่อ 8 March 2010.
- ↑ "Aide alleges sodomy: Report lodged". Malaysiakini. Mkini Dotcom Sdn Bhd. 28 June 2008. สืบค้นเมื่อ 28 June 2008.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อthe-diplomat.com
- ↑ "Malaysia court finds Anwar Ibrahim not guilty of sodomy". BBC News Asia. 9 January 2011. สืบค้นเมื่อ 9 January 2012.
- ↑ "Malaysia Judiciary Criticized Over Anwar Ibrahim Verdict". VOA. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "ANWAR GUILTY". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-10. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.