ข้ามไปเนื้อหา

หลวงบรรณสารประสิทธิ์ (สิทธิ โรจนวิภาต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลวงบรรณสารประสิทธิ์

(สิทธิ โรจนวิภาต)
คำนำหน้าชื่อพระภิกษุ หลวงบรรณสารประสิทธิ์ ปรฺณสาโร
ส่วนบุคคล
เกิด22 ธันวาคม พ.ศ. 2435 (77 ปี)
มรณภาพ12 ธันวาคม พ.ศ. 2513
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท6 กรกฎาคม พ.ศ. 2490
พรรษา23

พระภิกษุ หลวงบรรณสารประสิทธิ์ ปรฺณสาโร ชื่อจริง สิทธิ โรจนวิภาต (นามเดิม"เนื่อง") อดีตขุนนางและข้าราชการชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการหลายจังหวัด รวมถึงได้เข้าไปดูแลรักษาในพระราชวังและคอยรับและดูแลรับใช้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอยู่เสมอ

ประวัติ

[แก้]

สิทธิเป็นบุตรของหลวงพิจารณาคดีราษฎร์ (สมบุญ โรจนวิภาต) และนางอั๊ว โรจนวิภาต(เกิดศร) (นางอั๊วเป็นลูกพี่ลูกน้องกับนางพิจารณาคดีราษฎร์(วรรณ โรจนวิภาต)มารดาพระยาอาชญาจักร์ (บุญมา โรจนวิภาต)) เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2435 ที่จังหวัดอ่างทอง มีพี่น้องรวม 8 คน

  1. พระยาอาชญาจักร์ (บุญมา โรจนวิภาต)
  2. นางถนอม สุขีโมกข์
  3. นายสวัสดิ์ โรจนวิภาต
  4. ร้อยตำรวจเอก ชั้น โรจนวิภาต
  5. พระชัยปริญญา (เชื้อ โรจนวิภาต) พันธุสมบุญ
  6. ร้อยตรี สุวรรณ โรจนวิภาต
  7. นายจำรัส โรจนวิภาต
  8. นายพ่วง โรจนวิภาต

การศึกษา

[แก้]

ท่านได้รับเบื้องต้นที่จังหวัดตัวอย่างกรุงเก่าฯ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ต่อมาบิดาได้ส่งเข้าเรียนที่กรุงเทพฯที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน) สอบไล่วิชาปกครองชั้นสำรองปลัดอำเภอ ได้ที่ 1 ต่อมาได้เรียนวิชากฎหมายและ สอบไล่เนติบัณฑิตไทย

รับราชการ

[แก้]
หลวงบรรณสารประสิทธิ์ เมื่อยังเป็นฆราวาส

เมื่อพระยาบรรหารทัณฑกิจ (ลำใย โรจนวิภาต) รับราชการเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมราชทัณฑ์ได้เอาตัวหลวงบรรณสารประสิทธิ์มาใช้สอยใกล้ชิดและได้ฝากให้รับราชการในกระทรวงนครบาล

ต่อมาท่านได้ลาออกจากราชการ เพราะรับราชการนาน

ปัจฉิมวัย

[แก้]

ภายหลังที่ได้ได้ลาออกจากราชการแล้ว หลวงบรรณสารประสิทธิ์ ได้พิจารณาเห็นว่าถ้าไปอุปสมบทแล้ว จะทำให้ความเป็นอยู่ในชีวิตสงบราบรื่น จึงได้อุปสมบท ณ วัดเบ็ญจมบพิตร เมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 และระหว่าง 2-3 ปีที่แล้วมา พระภิกษุหลวงบรรณสารประสิทธิ์ได้อาพาธ ซึ่งเป็นไปตามวาระของผู้มีอายุสูง อาการหนักบ้าง จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2513 เวลาประมาณ 04.00 น. ด้วยโรคหัวใจ รวมอายุได้ 74 ปีเศษ

ครอบครัว

[แก้]

หลวงบรรณสารประสิทธิ์ มีบุตรธิดาต่างมารดากันรวม 6 คน

  1. นางสุรี จารุศร
  2. นายสุทัน โรจนวิภาต
  3. นายสุธี โรจนวิภาต
  4. นางสุนทรี พิทักษ์ราษฎร์
  5. นายประหยัด โรจนวิภาต
  6. นางสาวทรัพย์สิริ โรจนวิภาต

ยศและบรรดาศักดิ์

[แก้]
  • 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 - รองอำมาตย์ตรี[1]
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - รองอำมาตย์โท[2]
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - หลวงบรรณสารประสิทธิ์ ถือศักดินา ๖๐๐[3]
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - รองอำมาตย์เอก[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๓๒, ๕ ธันวาคม ๒๔๖๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๓๘, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๙๔, ๑ ธันวาคม ๒๔๗๒
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานยศ, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๙, ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๕๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๘๗, ๗ ตุลาคม ๒๔๘๓
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๔๗, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๑ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๙๕๐, ๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๓๐๒๘, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๖

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

บรรณสารประสิทธิ์ (หลวง). ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระภิกษุ หลวงบรรณสารประสิทธิ์ ปรฺณสาโร (สิทธิ โรจนวิภาต). พระนคร :โรงพิมพ์ประจักษ์การพิมพ์, 2513