ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ4 มิถุนายน พ.ศ. 2429
สิ้นชีพตักษัย1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 (57 ปี)
หม่อมหม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์ผ่องลักษณ์ ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์พักตร์พริ้ง ทองใหญ่
หม่อมราชวงศ์สิงคธา ทองใหญ่
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระมารดาหม่อมพริ้ง
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ พลตรี

พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ (4 มิถุนายน พ.ศ. 2429 – 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมพริ้ง

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ประสูติแต่หม่อมพริ้ง เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2429 เนื่องจากเป็นโอรสองค์แรกที่ไม่ถึงชีพิตักษัยดังเช่นโอรสและธิดาองค์ก่อน ๆ จึงเรียกว่า "ทองรอด" ต่อมามีพระนามจริงว่า "ทองฑีฆายุ" และได้ขนานนามว่า "พระบิดาของเหล่าทหารการสัตว์และสัตวแพทย์ไทย"[1] ทรงเคยเสด็จไปทรงศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศรัสเซีย ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ตั้งแต่ชันษา 12 ปี ทรงดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 2 และถูกปรับเป็นนายทหารนอกประจำการ เมื่อปี พ.ศ. 2475[2]

พลตรี หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พระราชทานเพลิงศพ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

พระยศ

[แก้]
  • – นายร้อยเอก
  • 28 เมษายน พ.ศ. 2458: นายพันตรี[3]
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2458: เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศ[4]
  • 23 มีนาคม พ.ศ. 2459: นายพันโท[5]
  • 24 เมษายน พ.ศ. 2463: นายพันเอก[6]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2471: นายพลตรี[7]

ตำแหน่ง

[แก้]
  • 10 เมษายน 2455 – ราชองครักษ์เวร[8]
  • – ปลัดกรมทหารม้าที่ 2
  • เมษายน 2457 – รักษาราชการในตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2[9]
  • มกราคม 2457 – ผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 1 (รักษาพระองค์) และคงเป็นผู้ช่วยจเรการม้าและสัตว์พาหนะทหารบก[10]
  • 24 มีนาคม 2459 – ราชองครักษ์เวร[11]
  • สิงหาคม 2460 – พ้นจากตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2[12]

โอรสและธิดา

[แก้]
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่, หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา และโอรสธิดา

หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ มีโอรสและธิดากับหม่อมลุดมิลา 4 คน คือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
  2. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1343.PDF
  3. พระราชทานยศนายทหารบก
  4. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศนายทหารบก
  5. พระราชทานยศนายทหารบก
  6. พระราชทานยศทหารบก
  7. พระราชทานยศทหารบก
  8. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง แต่งตั้งนายทหาร
  9. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ
  10. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ย้ายนายทหารรับราชการ
  11. แจ้งความกรมราชองครักษ์
  12. แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง เลื่อนย้ายนายทหารรับราชการ
  13. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานเฉลิมพระชมนพรรษา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3079 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2473
  14. ราชกิจจานุบกษา วันที่ 27 พฤศจิกายน 2464 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2471.PDF
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 44 หน้า 3866 วันที่ 4 มีนาคม 2470
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙, ตอน ๐ ง, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕, หน้า ๒๘๖๑
  17. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 40 หน้า 3431 วันที่ 7 มกราคม 2466
  18. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2020-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 พฤศจิกายน 2464