สแตนลีย์ มิลแกรม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สแตนลีย์ มิลแกรม | |
---|---|
เกิด | 15 สิงหาคม ค.ศ. 1933 นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก, สหรัฐ |
เสียชีวิต | ธันวาคม 20, 1984 แมนแฮตตัน, นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก, สหรัฐ | (51 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | โรคหัวใจ[1] |
การศึกษา | Queens College, New York (B.A., Political Science, 1954) Harvard University (Ph.D., Social Psychology, 1960) |
มีชื่อเสียงจาก | Milgram experiment Small world experiment Familiar stranger |
ตำแหน่ง | ศาสตราจารย์[2] |
คู่สมรส | Alexandra Menkin Milgram |
บุตร | 2[2] |
บิดามารดา | Samuel และ Adele Milgram[3] |
สแตนลีย์ มิลแกรม (อังกฤษ: Stanley Milgram; 15 สิงหาคม ค.ศ. 1933 – 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984) เป็นนักจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังที่ถูกจัดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ขณะที่เขาเป็นศาสตราจารย์ ณ มหาวิทยาลัยเยล[4] มิลแกรมได้รับแรงบันดาลใจในการพัฒนาการทดลอง จากเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ โดยเฉพาะการพิจารณาและตัดสินคดีของอดอล์ฟ ไอชมันน์
หลังได้รับดุษฎีบัณฑิตด้านจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาสอนที่มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด การทดลองโลกใบเล็ก (small-world experiment) ที่เขาทำระหว่างอยู่ที่มหาลัยฮาร์วาร์ด นำนักวิจัยให้วิเคราะห์ระดับการเชื่อมต่อ รวมไปถึงทฤษฎีหกช่วงคน (six degrees of separation) ต่อมามิลแกรมพัฒนาเทคนิคสำหรับการสร้างตัวแทนทางสังคมแบบโต้ตอบ หรือ ไซรานอยดส์ (cyranoids) ซึ่งต่อมาถูกใช้เพื่อสำรวจมุมมองต่าง ๆ ทางสังคม และมุมมองเกี่ยวกับตัวเอง
เขาถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์จิตวิทยาสังคม แบบสำรวจจาก Review of General Psychology ในปีค.ศ. 2002 จัดอันดับให้มิลแกรมเป็นนักจิตวิทยาที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดอันดับที่ 46 ในศตวรรษที่ 20[5]
ประวัติ
[แก้]ชีวิตวัยเด็กและชีวิตส่วนตัว
[แก้]มิลแกรมผู้เป็นชาวยิว[6] เกิดเมื่อค.ศ. 1933 ในเดอะบร็องซ์ ณ นครนิวยอร์ก[7] เป็นลูกชายของอะเดลและซามูเอล มิลแกรม (ค.ศ. 1902 – ค.ศ. 1953) ผู้อพยพไปที่สหรัฐอเมริกาจากประเทศโรมันเนียและประเทศฮังการีตามลำดับในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[8][9][10][11] เขาเป็นลูกคนที่สองจากสามคน[12][13] ครอบครัวของมิลแกรมได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ และหลังสงคราม คนในครอบครัวของเขาที่รอดจากค่ายกักกันของนาซี ได้มาอยู่กับครอบครัวของเขาช่วงเวลาหนึ่ง[14]
สุนทรพจน์ในพิธีฉลองเด็กอายุ 13 ปีของยิว (Bar Mitzvah speech) ของเขาเกี่ยวกับชะตากรรมของชาวยิวในยุโรปและผลกระทบที่สงครามโลกครั้งที่สองจะมีต่อชาวยิวทั้งโลก[15][16] เขากล่าวขณะกำลังเป็นชายเต็มตัวภายใต้กฎหมายชาวยิวว่า "ขณะที่ฉัน...พบความสุขในการเข้าร่วมตำแหน่งของอิสราเอล ความรู้เกี่ยวกับความทรมานอันโหดร้ายของเหล่าพวกพ้องชาวยิว...ทำให้สิ่งนี้...เป็นโอกาสที่จะสะท้อนถึงมรดกของคนของฉัน—ซึ่งกำลังกลายเป็นของฉัน...ฉันต้องพยายามเข้าใจคนของฉันและพยายามให้ดีที่สุดที่จะแบ่งเบาความรับผิดชอบซึ่งประวัติศาสตร์ให้ไว้กับเราทุกคน ต่อมาเขาเขียนถึงเพื่อนวัยเด็กว่า "ฉันน่าจะเกิดในชุมชนชาวยิวที่พูดภาษาเยอรมันในกรุงปรากเมื่อ ค.ศ. 1922 และตายในห้องรมควันซัก 20 ปีต่อมา ด้วยความที่ฉันเกิดในโรงพยาบาลบล็องซ์ ฉันคงไม่มีวันเข้าใจ"[17] มิลแกรมแต่งงานกับภรรยา อเล็กซานดร้า เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1961 และมีลูกสองคน มิเชลล์ และ มาร์ก[18]
ความสนใจในฮอโลคอสต์ของมิลแกรมมีฐานอยู่บนสิ่งที่ผู้เขียนชีวประวัติของมิลแกรมเรียกว่า "การพิสูจน์ตนกับชาวยิวชั่วชีวิต" ของมิลแกรม[19] ผู้เขียน Kirsten Fermaglich เขียนว่ามิลแกรมขณะเป็นผู้ใหญ่เคยมี "ความขัดแย้งส่วนตัว ด้วยความที่เป็นชาวยิวผู้มองตนเองเป็น ทั้งคนนอก เหยื่อของการทำลายร้างโดยนาซี และเป็นคนใน เป็นนักวิทยาศาสตร์"[20] อเล็กซานดร้ากล่าวว่าการระบุตนเองเป็นชาวยิวของมิลแกรมทำให้เขามุ้งความสนใจไปที่ฮอโลคอสต์และการวิจัยเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ
พ่อของมิลแกรมทำงานเป็นคนอบขนมปังซึ่งทำรายได้พอประมาณให้กับครอบครัว จนเสียชีวิตใน ค.ศ. 1953 (จากนั้นแม่ของเขาจึงรับกิจการร้านขายขนมปังต่อ) มิลแกรมเข้าเรียนที่ PS 77 และ James Monroe High School ในเดอะบร็องซ์ เขาเรียนจบภายในสามปี เข้าเก่งกาจด้านวิชาการและเป็นหัวหน้าที่ดีเยี่ยมในหมู่เพื่อนร่วมชั้น เมื่อเขาอยู่ในวัยมหาลัย ครอบครัวของเขาย้ายไปอยู่ที่เคาน์ตีควีนส์ไม่ไกลจากที่อยู้เดิม ในค.ศ. 1954 มิลแกรมได้รับปริญญาตรีในสาขารัฐศาสตร์จาก Queens College ในนครนิวยอร์ก โดยไม่เสียค่าเทอม เขายังศึกษาที่ Brooklyn College และได้เกรด A ในวิชา "จิตวิทยาของบุคลิกลักษณะ" และ "วิธีต่าง ๆ ในการเข้าถึงจิตวิทยาทางสังคม" เขาสมัครในปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (Ph.D) ด้านจิตวิทยาสังคมท่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และถูกปฏิเสธเนื่องจากไม่มีพื้นฐานด้านจิตวิทยาเพียงพอ ด้วยความที่เขาไม่ได้เรียนวิชาเกี่ยวกับจิตวิทยาในปริญญาตรีที่ Queens Collage ต่อมาเขาได้รับเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปีค.ศ. 1954 หลังสมัครเป็นนักเรียนที่ สำนักงานนักเรียนพิเศษของมหาลัยฮาร์วาร์ด
ชีวิตการทำงาน
[แก้]ในค.ศ. 1960 มิลแกรมได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตด้านจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเยลในฤดูใบไม้ร่วงของปีค.ศ. 1960 เขาทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ในแผนกความสัมพันธ์ทางสังคม ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ ค.ศ. 1963 ถึง ค.ศ. 1966 ในสัญญายาวสามปี จากนั้นสัญญาถูกต่ออีกหนึ่งปี ทว่าในตำแหน่งผผู้บรรยายที่ต่ำกว่า[21] น่าจะเป็นเพราะการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังอันเป็นที่ถกเถียงของเขา มิลแกรมจึงถูกปฏิเสธตำแหน่งประจำที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ในค.ศ. 1967 เขารับข้อเสนอของตำแหน่งประจำศาสตราจารย์จาก City University of New York Graduate Center และเขาสอนที่ City University จนเสียชีวิตในค.ศ. 1984[22]
การเสียชีวิต
[แก้]มิลแกรมเสียชีวิตในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1984 ในวัย 51 ปี จากหัวใจวายในนครนิวยอร์ก โดยมันเป็นการหัวใจวายครั้งที่หน้าของเขา เขามีภรรยา อเล็กซานดร้า มิลแกรม ลูกสาว มิเชลล์ ซาร่า และลูกชาย มาร์ก แดเนียล[23]
การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ
[แก้]ใน ค.ศ. 1963 มิลแกรมส่งผลของการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของเขาในงานวิจิย "การวิจัยพฤติกรรมของการเชื่อฟัง (Behavioral Study of Obedience)" ด้วยกรณีโต้แย้งจากการทดลองของเขาสมาคมจิตวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychological Association) ยั้งการสมัครการสมาชิกของเขาไว้เป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับจริยธรรมของการทดลองของเขา ทว่าในที่สุดก็ให้เขาเป็นสมาชิก สิบปีต่อมา ในค.ศ. 1974 มิลแกรมตีพิมพ์ การเชื่อฟังผู้มีอำนาจ (Obedience to Authority) เขาได้รับรางวัล AAAS Prize for Behavioral Science Research ในค.ศ. 1964 จากงานเกี่ยวกับมุมมองด้านสังคมของการเชื่อฟังเป็นส่วนใหญ่[24] ด้วยความที่ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากการตัดสินคดีของอดอล์ฟ ไอชมันน์ในค.ศ. 1961 แบบจำลองของเขาถูกใช้ ในเวลาต่อมาเพื่ออธิบายการสังหารหมู่ที่หมีลายในค.ศ. 1961 (รวมไปถึงการฝึกฝนภายใต้ผู้มีอำนาจในการทหาร การมองศัตรูว่าไม่ใช่คนโดยใช้ความแตกต่างทางเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม เขาทำภาพยนตร์เกี่ยวกับการทดลองของเขาซึ่งถูกเรียกว่าเป็นตัวอย่างแบบดั้งเดิมของจิตวิทยาทางสังคม
บทความใน American Psychologist [25] สรุปการทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของมิลแกรมไว้ดังนี้
ในตัวอย่างต้นแบบของมิลแกรม ผู้รับการทดลองเดินเข้าไปในห้องทดลอง โดยเชื่อว่าเขากำลังจะร่วมในการทดลองเกี่ยวกับการศึกษาความจำและการเรียนรู้ หลังได้รับมอบหมายให้รับบทเป็นครู ผู้รับการทดลองถูกบอกให้สอนการเชื่อมโยงคำศัพท์ให้กับผู้รับการทนลองอีกคนหนึ่ง (ผู้ที่จริงแล้วเป็นผู้ทดลอง) วิธีการสอนนั้น ผิดจากปกติ โดยมีการใช้ไฟฟ้าแรงสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช็อตผู้เรียน เมื่อความแรงของกระแสไฟฟ้าถึงจุดหนึ่ง ผู้รับการทดองจะพบกับความขัดแย้ง ด้านหนึ่ง ผู้เรียนซึ่งถูกมัดอยู่บอกว่าเขาอยากเป็นอิสระและดูเจ็บปวด การทำการทดลองต่อไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้เรียน อีกด้านหนึ่ง เมื่อถูกถามผู้ทดลองยืนยันว่าผู้เรียนไม่ได้อ่อนแออย่างที่เห็นและครูควรสอนต่อไป ผลการทดลองตรงข้ามกับทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญและคนทั่วไปคาดไว้ ประมาณ 65% ของผู้รับการทดลองทำการช็อตไฟฟ้าต่อไปถึงระดับสูงสุด
การทดลองหลังจากนั้น พบว่าผลลัพธ์แบบนี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ผู้ร่วมทดลองเชื่อว่าผลการทดลองนั้นสำคัญต่อข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น[26]
มิลแกรมเชื่อว่า "แก่นของการเชื่อฟังประกอบไปด้วยความจริงที่คนมองตนเองเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อกระทำตามความต้องการของอีกคน และดังนั้นเขามองว่าตนเองไม่ได้มีความรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา เมื่อคนมีมุมมองตามนี้แล้ว ลักษณะอื่น ๆ ของการเชื่อฟังจะตามมา" ดังนั้น "ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้รับการทดลอง คือการกลับมาควบคุมตนเองหลังตกลงที่จะทำตามความตั้งใจของผู้ทดลอง"[27] นอกจากนี้ มิลแกรมยังเสนอปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อฟังของผู้รับการทดลอง เช่น ความสุภาพ ความอึดอัดที่จะล้มเลิก การเชื่อในมุมมองทางเทคนิกของงาน ความเชื่อที่การทดลองจะให้ผลลัพธ์ที่ดี และความกังวล
คำอธิบายอีกมุมมองหนึ่ง[25] ของผลลัพธ์ของมิลแกรมชี้ว่า ความยึดมั่นอยู่กับความเชื่อ (belief perseverance) อาจเป็นปัจจัยที่แท้จริง "สิ่งที่คนไม่สามารถทำใจให้เชื่อได้ คือความจริงที่ผู้มีอำนาจซึ่งดูมีความเมตตานั้นแท้จริงแล้วเป็นอันตราย แม้พวกเขาจะเจอหลักฐานมากมายที่ฟ้องว่าผู้มีอำนาจนั้นอันตราย ดังนั้นเหตุผลแท้จริงของการกระทำอันน่าตกใจของผู้รับการทดลองอาจเพียงมาจากแนวคิด และไม่ใช่ 'ความสามารถของมนุษย์ที่จะละทิ้งมนุษยชาติของเขา เมื่อผสมผสานบุคลิกลักษณะส่วนตัวของเขาให้เป็นโครงสร้างสถาบันขนาดใหญ่ขึ้น' อย่างที่ถูกกล่าวหา"
การทดลองเกี่ยวกับการเชื่อฟังของมิลแกรมถูกโจมตีเป็นวงกว้าง นักวิจารณ์บางคนโต้เถียงว่าความถูกต้องของการทดลองเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแสดงของทั้งผู้ทำการทดลองและผู้เรียน และผู้รับการทดลองส่วนใหญ่น่าจะรู้สึกถึงความไม่สมจริงของสถานการณ์ หลายคนยังตั้งคำถามเกี่ยวกับการเปรียบเทียบระหว่างการทดลองเหล่านี้กับโลกแห่งความจริง
คำวิจารณ์ที่สร้างความเสียหายมากที่สุดนั้นเกี่ยวกับจริยธรรมของการออกแบบการทดลอง ศาสตราจารย์มิลแกรมรู้สึกว่า ความไม่ไว้วางใจในการทดลองของเขาเกิดจากผลลัพธ์อันไม่เป็นที่น่าพอใจ มิลแกรมเขียนไว้ว่า "ภายใต้การวิจารณ์ของการทดลอง คืออีกหนึ่งแบบจำลองของธรรมชาติมนุษย์ซึ่งกล่าวว่าเมื่อต้องเลือกละหว่างการทำร้ายคนอื่นกับการทำตามผู้มีอำนาจ คนปกติจะปฏิเสธที่จะทำตาม" [28]
แดเนียล เรเวอร์ หวนคิดว่า:
แม้ความสนใจส่วนตัวของมิลแรมมีความหลากหลาย ผลงานในวงการจิตวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขามาจากการทดลองเพียงหนึ่งชุดซึ่งได้มีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย เขาช่วยพิสูจน์วิทยาศาสตร์ในด้านที่หลาย ๆ คน มองว่าไม่สำคัญ มีส่วนร่วมในการเข้าใจมนุษยชาติ และยังมีส่วนร่วมในเรื่องของการการรักษาพยาบาลของผู้เข้าร่วมทดลอง
ปรากฏการณ์โลกใบเล็ก
[แก้]แนวคิดทฤษฎีหกช่วงคนมาจาก "การทดลองโลกใบเล็ก" ของมิลแกรมในปีค.ศ. 1967 ซึ่งติดตามการเชื่อมโยงของคนรู้จักในสหรัฐอเมริกา ในการทดลอง มิลแกรมสุ่มส่งพัสดุจำนวนหนึ่งไปให้คน 160 ที่อาศัยอยู่ในเมืองโอมาฮา รัฐเนแบรสกา โดยบอกให้พวกเขาส่งพัสดุต่อไปให้เพื่อน หรือ คนรู้จัก ที่พวกเขาคิดว่าจะสามารถนำพัสดุไปใกล้กับกลุ่มคนสุดท้ายที่เป็นนายหน้าค้าหุ้นชาวเมืองบอสตัน ในรัฐแมสซาชูเซตส์ "ผู้เริ่มต้น" แต่ละคนได้รับคำสั่งให้ส่งแฟ้มเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ ไปยังผู้รับ โดยมีกฎว่าผู้เริ่มต้นต้องส่งแฟ้มไปยังคนที่พวกเขารู้จักและมีความสนิทสนมอย่างน้อยระดับหนึ่ง เท่านั้น ผู้รับจะได้รับคำสั่งแบบเดียวกัน และต้องส่งแฟ้มต่อไปยังคนรู้จักของพวกเขา โดยหวังว่าคนเหล่านั้นจะรู้จักผู้รับซึ่งเป็นเป้าหมาย
ผู้เริ่มต้นรู้เพีนงชื่อและที่อยู่ของผู้รับผู้เป็นเป้าหมาย ภารกิจที่พวกเขาได้รับจึงเหมือนกับเป็นไปไม่ได้ มิลแกรมเฝ้าดูความก้าวหน้าของแต่ละคน เขาพบว่าแฟ้มแรกที่ได้ไปถึงเป้าหมายภายในเวลาเพียงสี่วันและผ่านคนกลางเพียงสองคนเท่านั้น โดยรวม มิลแกรมรายงานว่าการเชื่อมโยงนั้นมีระยะตั้งแต่สองถึงสิบคนกลาง โดยมีค่ากลางอยู่ที่ห้าคนกลางระหว่างผู้ส่งคนแรกและผู้รับเป้าหมาย
ทฤษฎีหกช่วงคนของมิลแกรมถูกวิจารณ์อย่างหนัก เขาไม่ได้ติดตามพัสดุหลายจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ไม่เชื่อว่าทฤษฎีหกช่วงคนนั้นมีอยู่จริง[29] Elizabeth DeVita–Raebu ได้อภิปรายเกี่ยวกับปัญหาของการทดลองของมิลแกรม[30]
ในปีค.ศ. 2008 การวิจัยโดยบริษัทไมโครซอฟท์แสดงว่าการเชื่อมโยงโดยเฉลี่ยของผู้ติดต่อระหว่างผู้ใช้ของ '.NET Messenger Service' นั้นอยู่ที่ 6.6 คน[31]
การทดลองจดหมายที่หายไป
[แก้]มิลแกรมได้พัฒนาเทคนิคที่ถูกเรียกว่า การทดลอง "จดหมายที่หายไป" เพื่อวัดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่ผู้คนมีต่อคนแปลกหน้าที่ไม่อยู่ตรงหน้า และทัศนคติต่อคนกลุ่มต่าง ๆ จดหมายปิดผนึกติดแสตมป์ถูกนำไปวางในที่สาธารณะ และจ่าหน้าถึงสิ่งต่าง ๆ เช่น บุคคล องค์กรซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ เช่น องค์กรวิจัยทางการแพทย์ และ องค์กรที่ถูกตราหน้า อย่างที่เกี่ยวกับพรรคนาซี มิลแกรมพบว่าจดหมายส่วนใหญ่ที่จ่าหน้าไปยังบุคคลและองค์กรซึ่งเป็นที่ชื่นชอบ นั้นถูกส่ง ขณะที่จดหมายซึ่งจ่าหน้าไปยังองค์กรที่ถูกตราหน้านั้นส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกส่ง[32][33]
การทดลองพฤติกรรมต่อต้านสังคม
[แก้]ในปีค.ศ. 1970-71 มิลแกรมทำการทดลองซึ่งพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคสื่อ (ในกรณีนี้คือการดูโทรทัศน์) และพฤติกรรมต่อต้านสังคม การทดลองเสนอโอกาสในการขโมยเงิน การบริจาค หรือ ไม่ทำอะไรเลย และทดสอบว่าอัตราของแต่ละตัวเลือกนั้นเกี่ยวข้องกับการดูการกระทำที่คล้ายกันในตอนจบของตอนละคร Medical Center ซึ่งถูกทำมาเป็นพิเศษ หรือไม่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Goleman, Daniel (1984-12-22). "DR. STANLEY MILGRAM, 51, IS DEAD - STUDIED OBEDIENCE TO AUTHORITY". NYTimes.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ 2.0 2.1 "Mental Health and Mental Disorders: An Encyclopedia of Conditions ..." Books.google.com. 2015-12-14. p. 70. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Dr. Megan E. Bradley (1933-08-15). "Stanley Milgram". Faculty.frostburg.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-02. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Blass, T. (2004).
- ↑ Haggbloom, Steven J.; Renee; Warnick, Jason E.; Jones, Vinessa K.; Yarbrough, Gary L.; Russell, Tenea M.; Borecky, Chris M.; McGahhey, Reagan; Powell, John L., III; และคณะ (2002). "The 100 most eminent psychologists of the 20th century". Review of General Psychology. 6 (2): 139–152. doi:10.1037/1089-2680.6.2.139.
- ↑ "The Man Who Shocked the World: The Life and Legacy of Stanley Milgram - Thomas Blass - Google Books". Books.google.com. 2009-02-23. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Blass, Thomas (1998). "The roots of Stanley Milgram's obedience experiments and their relevance to the Holocaust" (PDF). Analyse & Kritik. Wiesbaden: Westdeutscher Verlag. 20 (1): 49. ISSN 0171-5860. OCLC 66542890. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ January 14, 2012.
- ↑ Thomas Blass (November 2000). Obedience to Authority: Current Perspectives on the Milgram Paradigm. Psychology Press. p. 1. ISBN 0-8058-3934-8.
- ↑ Jackson, Kenneth T.; Markoe, Karen; Markoe, Arnie (August 1, 1998). The Scribner Encyclopedia of American Lives. New York, NY, USA: Charles Scribner's Sons. ISBN 0684804921. OCLC 755235271. สืบค้นเมื่อ August 29, 2012.
- ↑ "Moral Education: M-Z". Books.google.com. p. 270. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ "Stanley Milgram Facts, information, pictures | Encyclopedia.com articles about Stanley Milgram". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ "The Man Who Shocked The World". Psychology Today. 2016-03-01. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Dr. Megan E. Bradley (1933-08-15). "Stanley Milgram". Faculty.frostburg.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-02. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Kirsten Fermaglich. "American Dreams and Nazi Nightmares: Early Holocaust Consciousness and ..." Books.google.com. p. 164. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Thomas Blass. "From New Haven to Santa Clara : A Historical Perspective on the Milgram Obedience Experiments" (PDF). Uni-muenster.de. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Thomas Blass. "The Man Who Shocked the World: The Life and Legacy of Stanley Milgram". Books.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-23. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Tartakovsky, Margarita (2011-09-04). "Stanley Milgram & The Shock Heard Around the World | World of Psychology". Psychcentral.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-03. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Thomas Blass. "The Man Who Shocked the World: The Life and Legacy of Stanley Milgram". Books.google.com. p. 74. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Thomas Blass. "From New Haven to Santa Clara : A Historical Perspective on the Milgram Obedience Experiments" (PDF). Uni-muenster.de. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ Kirsten Fermaglich. "American Dreams and Nazi Nightmares: Early Holocaust Consciousness and ..." Books.google.com. p. 100. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ "Stanley Milgram". faculty.frostburg.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-02. สืบค้นเมื่อ 2015-10-23.
- ↑ Cary L. Cooper (2004-10-01). "A sparky study that tests your blind obedience". Times Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2009-07-25.
- ↑ Goleman, Daniel (December 22, 1984). "Dr. Stanley Milgram, 51, ss dead". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-08-07.
Dr. Stanley Milgram, a psychologist widely known for his experiments on obedience to authority, died of a heart attack Thursday night at the Columbia Medical Center. He was 51 years old and lived in New Rochelle, N.Y. Dr. Milgram, who was a professor of psychology at the Graduate ...
- ↑ "AAAS Prize for Behavioral Science Research". Archives.aaas.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ 25.0 25.1 Nissani, Moti (1990). "A cognitive reinterpretation of Stanley Milgram's observations on obedience to authority". American Psychologist. 45: 1384–1385. doi:10.1037/0003-066x.45.12.1384.
- ↑ "The Bad Show". WNYC. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
- ↑ Milgram, Stanley (1974). Obedience to Authority. New York: Harper & Row. pp. xii, xiii.
- ↑ Milgram, Stanley (1974). Obedience to Authority. New York: Harper & Row. p. 169.
- ↑ "Could It Be A Big World After All?". Uaf.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
- ↑ Elizabeth DeVita–Raebu (2008-01-28). "If Osama's Only 6 Degrees Away, Why Can't We Find Him? | Human Origins". DISCOVER Magazine. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
- ↑ Jure Leskovec; Eric Horvitz (2008). "Planetary-Scale Views on an Instant-Messaging Network". arXiv:0803.0939 [physics.soc-ph].
- ↑ Harvey Russell Bernard. "Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches". Books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2016-05-05.
- ↑ "Stanley Milgram". Everything2.com. สืบค้นเมื่อ 2009-06-22.
บรรณานุกรม
[แก้]- Milgram, S. (1974), Obedience to Authority; An Experimental View ISBN 0-06-131983-X
- Milgram, S. (1977), The individual in a social world: Essays and experiments. 3rd expanded edition published 2010 by Pinter & Martin, ISBN 978-1-905177-12-7.
- Blass, T. (2004). The Man Who Shocked the World: The Life and Legacy of Stanley Milgram. ISBN 0-7382-0399-8
- Milgram, S. (1965), Liberating Effects of Group Pressure [1]
- Milgram, S.; Liberty; II; Toledo, R.; Blacken, J. (1956). "Response to intrusion in waiting lines". Journal of Personality and Social Psychology. 51: 683–9. doi:10.1037/0022-3514.51.4.683.
- Baumann, Michael; Leist, Anton, บ.ก. (1998). "Milgram und die Täter des Holocaust (1998 heft 1 abstracts)" [Milgram and the perpetrators of the Holocaust (1998 issue 1 abstracts)]. Analyse & Kritik (ภาษาเยอรมัน และ อังกฤษ). Wiesbaden: Westdeutscher Verlag. 20 (1): 49. ISSN 0171-5860. OCLC 66542890. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-07. สืบค้นเมื่อ January 14, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- stanleymilgram.com - site maintained by Dr Thomas Blass
- milgramreenactment.org - site documenting Milgram's Obedience to Authority experiment by UK artist Rod Dickinson
- Milgram Page - page documenting Milgram's Obedience to Authority experiment
- 'The Man Who Shocked the World' เก็บถาวร 2004-10-13 ที่ archive.today article in Psychology Today by Thomas Blass
- 'The Man Who Shocked the World' article in BMJ by Raj Persaud
- 'Steve Blinkhorn's review of 'The man who shocked the world: the life and legacy of Stanley Milgram' by Thomas Blass.
- [2] เก็บถาวร 2006-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and [3] เก็บถาวร 2006-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - papers on the ethics of the Obedience to Authority experiments by Milgram's research assistant, Alan Elms
- Pinter & Martin, Milgram's British publishers
- [4] - link to the short film Atrocity, which re-enacts the Milgram Experiment
- Guide to the Stanley Milgram Papers, Manuscripts and Archives, Yale University Library
- Stanley Milgram, Obedience to Authority (1974) Chapter 1 and Chapter 15
- Milgram's Obedience To Authority เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — Commentary from 50 Psychology Classics (2007)