สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต
หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา | |
---|---|
ชื่อเกิด | สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต |
เกิด | 19 ตุลาคม พ.ศ. 2463 จังหวัดพระนคร อาณาจักรสยาม |
เสียชีวิต | 27 กันยายน พ.ศ. 2535 (71 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
บิดา | สุหร่าย สุวรรณทัต |
มารดา | เจอ บุรานนท์ |
คู่สมรส | ยอแสง ภักดีเทวา (หย่า) หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง |
บุตร | ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา หม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง หม่อมราชวงศ์ประยูรพันธุ์ สุริยง หม่อมราชวงศ์นันทนา สุริยง หม่อมราชวงศ์อำพน สุริยง หม่อมราชวงศ์อัจจิมา สุริยง |
อาชีพ | นักแสดง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2482–2535 |
สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต หรือ หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา (19 ตุลาคม พ.ศ. 2463 – 27 กันยายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ป้าทอง เป็นนักแสดงหญิงชาวไทย เธอเป็นมารดาของทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องชาวไทย และเป็นย่าของ สุธีศักดิ์ ภักดีเทวา และ หม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง ซึ่งเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง
ประวัติ
[แก้]สุลาลีวัลย์เป็นบุตรีของสุหร่าย สุวรรณทัต กับเจอ บุรานนท์ ข้าหลวงในเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เมื่ออายุได้ 7-8 ขวบ มารดาได้นำตัวไปถวายกับเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ รุ่นเดียวกันกับพูลทรัพย์ ตราโมท และผัน โมรากุล ได้รับการฝึกฝนให้เรียนละครกับสำนักเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ซึ่งท่านก็แสดงได้ดี จนส่วนใหญ่ได้รับเป็นตัวยืนเครื่องชั้นดี รับบทนำเด่น ๆ เสมอ โดยสุลาลีวัลย์ได้รับการฝึกฝนจากคุณครูที่มีฝีไม้ลายมือชั้นเลิศ เช่น ท้าววรจันทร์ (วาดอิเหนา), เจ้าจอมมารดาเขียน, พระยานัฏกานุรักษ์ เป็นต้น
สุลาลีวัลย์ก้าวเข้าสู่วงการครั้งแรกก็จากการชักชวนของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เมื่อแรกผลิตภาพยนตร์ในนาม ไทยฟิล์ม ช่วงประมาณ ปี พ.ศ. 2482[1] บทบาทแรกเริ่มยังไม่ค่อยโดดเด่นมากนัก จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง วงการภาพยนตร์ต้องหยุดฉาย หยุดสร้าง เพราะวัตถุดิบคือฟิล์มไม่มีการส่งมาจากต่างประเทศ ทำให้บริษัทไทยฟิล์มเลิกกิจการสร้างภาพยนตร์ เปลี่ยนมาทำละครเวทีแทน ในนามอัศวินการละคร ยุคละครเวที พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ได้นางเอกสุพรรณ บูรณะพิมพ์มารับบทนางเอกละครเจ้าน้ำตา เรียกคนดูได้เป็นอย่างดี นางร้ายเลยเหมาะกับสุลาลีวัลย์ โดยใช้นามสกุลเดิมในวงการนามว่า สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต แสดงได้ดี จนทำให้คนดูออกอาการเกลียดนางร้ายอย่างสุลาลีวัลย์อย่างมาก โดยบทที่โด่งดังมากคือบท ป้าทอง ในละครเวทีเรื่องวนิดา[2] จนหม่อมหลวงทรงสอางค์ ฑิฆัมพร ได้ตั้งชื่อเล่นให้สุลาลีวัลย์ว่าป้าทอง[ต้องการอ้างอิง] สุลาลีวัลย์มีชื่อเสียงในรุ่นเดียวกับ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ และ มาลี เวชประเสริฐ
ถึงแม้ชีวิตการแสดงส่วนใหญ่ของสุลาลีวัลย์ มักจะรับบทเป็นคนใช้ ถึงกระนั้นสุลาลีวัลย์ก็เคยรับบทนำเช่นกันใน "กล่องข้าวน้อยฆ่าแม่" (2523)[3] โดยรับบทเป็นแม่ ในการแสดงบทร้าย ๆ นั้นสุพรรณ บูรณะพิมพ์นักแสดงละครเวทีรุ่นน้องก็มักจะนั่งจำท่าทีการแสดงของสุลาลีวัลย์ จนภายหลังสุพรรณได้กลายเป็นนางร้ายผู้ยิ่งใหญ่ในแวดวงละคร
ชีวิตครอบครัว
[แก้]สุลาลีวัลย์สมรสครั้งแรกกับยอแสง ภักดีเทวา อดีตครูโขน มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา นักร้องผู้โด่งดัง[4] และได้หย่าร้าง[5]กับครูยอแสงในเวลาต่อมา
ต่อมาสุลาลีวัลย์สมรสครั้งที่สองกับหม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง[6] เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2482 จึงมีศักดิ์เป็น หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 5 คน ดังนี้
- หม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง (บิดาของหม่อมหลวงสุรีย์วัล สุริยง)
- หม่อมราชวงศ์ประยูรพันธุ์ สุริยง
- หม่อมราชวงศ์นันทนา สุริยง
- หม่อมราชวงศ์อำพน สุริยง
- หม่อมราชวงศ์อัจจิมา สุริยง
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- 2496: นางแมวป่า
- 2498: น้ำใจสาวจีน
- 2498: เมียแก้ว
- 2499: แก้วตานาง
- 2499: สุดฟากฟ้า
- 2500: มัสยา
- 2500: สายโลหิต
- 2501: รมดี
- 2501: ยอดอนงค์
- 2501: สาวน้อย
- 2503: เด็กเสเพล
- 2504: กระท่อมทิพย์
- 2504: พสุธาที่ข้ารัก
- 2504: สุรีรัตน์ล่องหน
- 2505: โจรแพรแดง
- 2505: บันทึกรักของพิมพ์ฉวี
- 2505: ม่านน้ำตา
- 2506: เดนชีวิต
- 2506: ฝนแรก
- 2506: ใจเดียว
- 2506: จำเลยรัก
- 2507: ทับทิม
- 2507: นกน้อย
- 2507: พนาสวรรค์
- 2507: มังกรคนอง
- 2507: เลือดรักนางพราย
- 2508: ลมหวล
- 2508: ขวัญชีวิต
- 2508: ปลาบู่ทอง
- 2508: อ้อมอกดิน
- 2508: แผ่นดินสวรรค์
- 2508: เงิน เงิน เงิน
- 2508: อินทรีมหากาฬ
- 2508: นางพรายคะนอง
- 2508: นางสาวโพระดก
- 2508: ชุมทางเขาชุมทอง
- 2509: เกล้าฟ้า
- 2509: กำไลหยก
- 2509: มือปืนสิบทิศ
- 2509: สายเลือดกตัญญู
- 2509: โสนน้อยเรือนงาม
- 2510: แสนรัก
- 2510: สาวจ้าวสมิง
- 2510: เจ้าแม่ปานทอง
- 2510: เทพธิดาบ้านไร่
- 2511: ดวงใจคนยาก
- 2511: วังสีทอง
- 2512: ปีศาจแสนสวย
- 2513: แม่ย่านาง
- 2513: หวานใจ
- 2514: ลมรักทะเลใต้
- 2515: แม่ปลาบู่
- 2516: กระสือสาว
- 2516: ขอบฟ้าเขาเขียว
- 2516: ภูกระดึง
- 2516: แก้วกลางนา
- 2516: เตะฝุ่น
- 2516: ไม้ป่า
- 2516: กระสือสาว
- 2517: มาแต่เลือด
- 2517: น้ำผึ้งขม
- 2517: แว่วเสียงลมรัก
- 2517: กราบที่ดวงใจ
- 2517: ทองประกายแสด
- 2518: ข้าวนอกนา
- 2518: พ่อยอดมะกอก
- 2518: ชายชาติเสือ
- 2518: ชุมทางผี
- 2519: เทวดาเดินดิน
- 2519: มนต์เรียกผัว
- 2519: นางงูเห่า
- 2519: วีรบุรุษกองขยะ
- 2519: ขุนศึก
- 2519: ขอเพียงรัก
- 2520: เพื่อนรัก
- 2520: คู่ทรหด
- 2520: ใครจะอยู่ค้ำฟ้า
- 2520: ผู้ยิ่งใหญ่ชายแดน
- 2520: 1-2-3 ด่วนมหาภัย
- 2520: สิงห์รถบรรทุก
- 2521: หมอตีนเปล่า
- 2521: ถล่มดงนักเลง
- 2521: เดนนรก
- 2521: ยมบาลจ๋า
- 2521: เท่งป๊ะต๊ะติ๊งโหน่ง
- 2521: ลืมเสียเถิดอย่าคิดถึง
- 2521: 4 อันตราย
- 2521: ผิดทางรัก
- 2521: มือปืนสติเฟื่อง
- 2521: มนต์รักอสูร
- 2522: เรือเพลง
- 2522: ดาวเรือง
- 2522: สังข์ทอง
- 2522: ปลาบู่ทอง
- 2522: อยุธยาที่ข้ารัก
- 2522: กล่อมจอมอิทธิพล
- 2522: ยอดหญิงต๊ะติ๊งโหน่ง
- 2522: รักประหาร
- 2522: เพลิงตะวันอันตราย
- 2523: อาอี๊
- 2523: เคหาสน์สีแดง
- 2523: บ้านทรายทอง
- 2523: พจมานสว่างวงศ์
- 2523: ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
- 2523: ฉุยฉาย
- 2523: 7 ป่าช้า
- 2523: พ่อจ๋า
- 2523: มนต์รักขนมครก
- 2524: คุณปู่ซู่ซ่า
- 2524: ค่าน้ำนม
- 2524: ป่าช้าแตก
- 2524: ไอ้แก่น
- 2524: ลูกสาวแม่ค้า
- 2524: คุณหญิงพวงแข
- 2524: เจ้าบ่าวทีเด็ด
- 2525: ลูกอีสาน
- 2525: ปริศนา
- 2525: กระท่อมนกบินหลา
- 2525: ขุนแผน ตอน ปราบจระเข้เถรขวาด
- 2525: คุณย่าเซ็กซี่
- 2525: คุณนายซาอุ
- 2526: น.ส. เย็นฤดี
- 2526: วีรบุรุษสงคราม
- 2526: พระจันทร์เปลี่ยนสี
- 2526: เงิน เงิน เงิน
- 2526: เสี่ยวอีหลี
- 2527: วัยระเริง
- 2527: แรงอธิษฐาน
- 2527: นางพญางูผี
- 2527: ฟ้าบันดาล
- 2527: แตนป่าแตก
- 2527: ครูเสือ
- 2528: ปางรัก
- 2528: ผัวเชลย
- 2528: ไอ้หนูภูธร
- 2528: ตะวันยิ้มแฉ่ง
- 2529: ขออยู่ถึงพรุ่งนี้
- 2530: ดีแตก
- 2530: สะพานรักสารสิน
- 2530: ผู้หญิงคนนี้ ไม่ใช่ผี
- 2531: ทองประกายแสด
- 2531: อีจู้กู้ปู่ป้า
- 2531: มนต์รักเพลงทะเล้น
- 2531: หวานมันส์ ฉันคือเธอ 2
- 2531: แม่จ๋าแม่
- 2531: แอบฝัน
- 2532: ครูไหวใจร้าย
- 2532: ใช่แล้วหลุดเลย
- 2532: ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ
- 2532: กลิ่นสี 2 ตอน จีบสาวจี๊-จ๊ะ
- 2532: เศรษฐีใหม่
- 2532: ธันยา แม่มดยอดยุ่ง
- 2533: ดีดสีและตีเป่า
- 2533: ใช่แล้วหลุดเลย
- 2533: กลิ่นสีและกาวแป้ง 2
- 2533: ห้าวเล็ก ๆ
- 2533: โกย
- 2533: ต้องปล้น
- 2533: น้องเมีย
- 2533: แฝดแบบว่า
- 2533: หัวใจห้องที่ 5
- 2533: กระท่อมใหม่ทะเลเดิม
- 2534: โฮ่ง
- 2534: ไอ้คุณผี
- 2534: บุญชู 6 โลกนี้ดีออกสุดสวยน่ารักน่าอยู่ถ้าหงุ่ย
- 2535: หอ หึ หึ
- 2535: สมศรี 422 อาร์
- 2535: จะใหญ่จะย่อก็พ่อเรา
- 2535: เพราะฉะนั้น นั่นน่ะซี
- 2535: ยุ่งดะมะด๊อง
ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]- 2504: สี่แผ่นดิน ช่อง 4
- 2510-2522: หุ่นไล่กา ช่อง 5
- 2511-2518: พิภพมัจจุราช ช่อง 5
- 2510: ขุนศึก ช่อง 4
- 2510: เดิมพันชีวิต ช่อง 4
- 2510: วนิดา ช่อง 4
- 2515: คู่กรรม ช่อง 4
- 2517: เหมือนคนละฟากฟ้า ช่อง 3
- 2518: ภาพยนตร์ชุด ปอบผีฟ้า ของดาราฟิล์ม ช่อง 7
- 2518: ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา ช่อง 5
- 2518: อนิลทิตา ช่อง 5
- 2520: ล่าวิญญาณ ช่อง 5
- 2521: ตะวันยอแสง ช่อง 3
- 2521: คู่กรรม ช่อง 9
- 2521: ความรัก ตอนวัยรุ่น ช่อง 3
- 2521: สกาวเดือน ช่อง 9
- 2523: ปิ่นรัก ช่อง 9
- 2523: สี่แผ่นดิน ช่อง 5
- 2526: วิมานคนบาป ช่อง 9
- 2526: แรงรัก ช่อง 9
- 2527: อยู่เพื่อรัก ช่อง 3
- 2528: รักในสายหมอก ช่อง 3
- 2529: ความรักแสนกล ช่อง 3
- 2529: กามนิต-วาสิฏฐี ช่อง 3 (รับเชิญ)
- 2530: ฟ้าต่ำ ช่อง 3
- 2530: ตะวันขึ้นที่อ่าวพังงา ช่อง 5
- 2531: อีสา ช่อง 7
- 2531: อาศรมสาง ช่อง 3
- 2531: สังเวียนรัก ช่อง 3
- 2531: ปราสาทมืด ช่อง 7
- 2531: เกมกามเทพ ช่อง 3
- 2532: ดอกฟ้าและโดมผู้จองหอง ช่อง 3
- 2532: บ้านไม่รู้โรย ช่อง 9
- 2532: เมียหลวง ช่อง 7
- 2532: เคหาสน์สีแดง ช่อง 7
- 2532: เกิดจากวัด ช่อง 3
- 2532: แม่นาคพระโขนง ช่อง 3
- 2533: คนเหนือดวง ช่อง 7
- 2533: ตะกายดาว ตอน ดาวตกกระ ช่อง 9
- 2533: โหด เลว อ้วน ช่อง 3
- 2533: โก๋ตี๋กี๋หมวย ช่อง 3
- 2533: หงส์ทอง ช่อง 7
- 2533: บัวแล้งน้ำ ช่อง 7
- 2533: ดวงตาสวรรค์ ช่อง 7
- 2533: รอยมาร ช่อง 3
- 2534: บ้านสาวโสด ช่อง 3
- 2534: วนิดา ช่อง 3
- 2534: กะลาก้นครัว ช่อง 7
- 2534: ป่ากามเทพ ช่อง 3
- 2534: คุณหญิงบ่าวตั้ง ช่อง 9
- 2534: ละอองเทศ ช่อง 9
- 2534: พระสุริโยทัย ช่อง 5
- 2535: โทน ช่อง 3
- 2535: คลื่นซัดใจ ช่อง 3
- 2535: ชีวิตเปื้อนฝุ่น ช่อง 7 (เรื่องสุดท้ายก่อนเสียชีวิต)
ถึงแก่กรรม
[แก้]สุลาลีวัล สุวรรณทัต หรือ หม่อมสุลาลีวัล สุริยง ณ อยุธยา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2535 สิริอายุ 72 ปี
อัฐิส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ในวิหารน้อย[7] สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในฐานะสมาชิกแห่งราชสกุลสุริยง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บันเทิงเรื่องอดีต
- ↑ ละครไทยในความทรงจำ - ป้าทอง+นางจวง วนิดา 2534 | Facebook
- ↑ "★อมตะหนังไทย เรื่อง "ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" ออกฉายโรงเมื่อ 37 ปีที่แล้ว(ชมฉาก บักทองฆ่าแม่,สร้างพระธาตุฯ และ ตอนบักทองถูกประหารชีวิต)". picpost.postjung.com.
- ↑ "อาลัยแด่นักร้องเสียงอ้อน "ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา"". mgronline.com (ภาษาอังกฤษ). 2007-11-23.
- ↑ บันเทิงเรื่องอดีต
- ↑ หนังสือที่ระลึกในการพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง ป.ม. ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร, วันที่ 5 มิถุนายน 2550
- ↑ "อัฐิของป้าทอง ณ วิหารน้อย สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-05. สืบค้นเมื่อ 2021-06-05.