ข้ามไปเนื้อหา

สาวิกา ไชยเดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาวิกา ไชยเดช
สาวิกาในปี 2552
เกิด19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 (38 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
อาชีพ
  • นักแสดง
  • นางแบบ
  • พิธีกร
  • นักร้อง
  • ยูทูบเบอร์
  • นักธุรกิจ
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2536–ปัจจุบัน
ตัวแทนกันตนา (2544–2553)
ส่วนสูง171 cm (5 ft 7 12 in)
ถูกกล่าวหาแชร์ลูกโซ่
สถานะทางคดีปล่อยตัวชั่วคราว
คู่สมรสอิทธิ ชวลิตธำรง
(สมรส 2557; หย่า 2560)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลงป็อป
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2542–2543
ค่ายเพลงแกรมมี่ (2542–2543)
อดีตสมาชิกบั๊ก บันจี้
ข้อมูลยูทูบ
ช่องPinky Savika Official
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2560–ปัจจุบัน
ประเภทวิดีโอบล็อก
จำนวนผู้ติดตาม1.04 แสน

สาวิกา ไชยเดช (เกิด 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529) ชื่อเล่น พิ้งกี้ เป็นนักแสดงและนักร้องหญิงชาวไทย ที่มีผลงานทั้งทางละคร เพลง และภาพยนตร์ทั้งไทยและอินเดีย[1][2]

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตตอนต้นและการศึกษา

[แก้]

สาวิกา ไชยเดช มีชื่อเล่นว่า พิ้งกี้ เกิดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2529 ที่โรงพยาบาลเพชรเวช กรุงเทพมหานคร[3] ในครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลาม[4] เป็นบุตรคนเล็กจากทั้งหมดสามคนของสมาน[5] กับสรินยา ไชยเดช[6] มีพี่ชายอีกสองคน[7] สาวิกามีเชื้อสายไทย, อังกฤษ, จีน, มอญ และปากีสถาน[8] เธอกล่าวว่าสมาน บิดาของเธอเป็นมุสลิมที่มีเชื้อสายจีน[3]

เข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนพระหฤทัยพัฒนเวศม์[3] ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเพ็ญสมิทธ์[3] และระดับอุดมศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรังสิต[9] ระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา[10]

เธอมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องทางฝ่ายมารดากับอมลรดา ไชยเดช (ชื่อเดิม อนุธิดา อิ่มทรัพย์) ซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน[11][12][13] และมีหลานสาวคนหนึ่งชื่อสุพิชยา ไชยเดช ซึ่งเป็นบุตรของพี่ชาย เคยร่วมเดินแบบกับสาวิกา[14]

เธอนับถือศาสนาอิสลาม และเคยถูกวิจารณ์จากศาสนิกศาสนาเดียวกันในการทำงานบันเทิง[15]

วงการบันเทิง

[แก้]

เข้าวงการบันเทิงตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ ได้รับการชักชวนโดยบังเอิญจากแมวมอง ขณะเดินเล่นกับครอบครัวที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งย่านรามคำแหง[3][16] โดยเริ่มจากการถ่ายโฆษณา มีผลงานแรกคือ โซนีไตรนิตรอน และมีผลงานอีกหลายโฆษณา เริ่มงานละครทางช่อง 3 เรื่อง "ไฟในดวงตา" รับบทเป็นลูกของจันทร์จิรา จูแจ้ง หลังจากนั้นมาเล่นละครกับทางช่อง 7 เรื่องแรกคือ "วันนี้ที่รอคอย" ส่วนละครที่ทำให้เธอเป็นที่รู้จักคือ “ดาวพระศุกร์” รับบทเป็นดาวพระศุกร์ตอนเด็ก[16]

ต่อมามีผลงานเพลงในปี พ.ศ. 2543 สังกัด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ออกอัลบั้มเพลงแนวป็อป วง "บั๊ก บันจี้" (Bug Bunji) กับเพื่อนอีก 3 คน คือวนัสนันท์ ธรรมบูรณะวงษ์, ธัชชา พุ่มอ่อน และเจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช

พ.ศ. 2544 สาวิกากลับมาเล่นละครเรื่อง "ปิ่นไพร" จากนั้นมีผลงานเรื่อง "กษัตริยา" รับบทมณีอินทร์ มเหสีของพระเอกาทศรถ และยังมีละคร "น้องเหมียวเขี้ยวเพชร"[9]

หลังจากเกิดปัญหาพิพาทเรื่องความสัมพันธ์กับสัญชัย เองตระกูลช่วงปี พ.ศ. 2553 เธอมีผลงานในวงการภาพยนตร์กอลลีวูดระยะหนึ่งคือเรื่อง Markandeyan จนในปี พ.ศ. 2555 เธอได้กลับมาแสดงละครไทยอีกครั้งรับบทนางเอกในละครเรื่อง ทองประกายแสด และพลิกบทบาท เป็นนางร้ายครั้งแรก ในละครเรื่อง มารยาริษยา

ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เธอได้เดินทางไปร่วมงานกับภาพยนตร์ตอลลีวูดของอินเดียเรื่อง Emo Gurram Egaravachu[17][18][19][20]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2553 เธอได้ตกเป็นข่าวดังในกรณีมีความสัมพันธ์กับร้อยโทสัญชัย เองตระกูล สามีของธัญญาเรศ เองตระกูลซึ่งเป็นนักแสดงเช่นกัน ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างเธอกับธัญญาเรศ จากเหตุการณ์นั้นทำให้สาวิกาหายหน้าไปจากวงการบันเทิง และถูกสื่อมวลชนตั้งฉายาให้ว่า "อีพิ้งคนเริงเมือง"[21] และ "ส่าหรีลี้รัก"[22] กระทั่งเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 สาวิกาและธัญญาเรศได้กลับมาร่วมงานกันอีกครั้งในงาน "เที่ยวให้สุด ปักหมุดแดนใต้" ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งสองกล่าวว่าได้อโหสิกรรมต่อกันและไม่มีเรื่องหมางใจกันอีก[23][24][25]

สาวิกาสมรสกับอิทธิ ชวลิตธำรง นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ย่านพัทยา เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557 ตามธรรมเนียมศาสนาอิสลาม[26] แต่สามีมิได้เปลี่ยนศาสนา[4] ภายหลังทั้งสองหย่ากันช่วงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560[27][28] โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน[29]

คดีความ

[แก้]

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เธอถูกตั้งข้อหาร่วมกันฉ้อโกงจากกรณีร่วมกันหลอกลวงโดยการโฆษณาชักชวนต่อประชาชนทั่วไปให้เข้าร่วมลงทุนในฟอแร็กซ์-3ดี มีผู้เสียหายจำนวน 9,824 คน และมูลค่าความเสียหายรวม 2.4 พันล้านบาท และศาลอาญาไม่ให้ประกันตัว จึงถูกส่งเข้าทัณฑสถานหญิงกลาง[30]

ผลงาน

[แก้]

ละครโทรทัศน์

[แก้]
พ.ศ. เรื่อง รับบท ออกอากาศ
2536 วันนี้ที่รอคอย บราลี / ม่านฟ้า (วัยเด็ก) ช่อง 7
เกิดแต่ตม มิ่งโกมุท (วัยเด็ก)
บัวแก้ว บัวทอง บัวแก้ว / บัวทอง
ไฟในดวงตา พัดชา ช่อง 3
2537 คลื่นชีวิต จีราวัจน์ (วัยเด็ก)
ดาวพระศุกร์ ดาวพระศุกร์ ช่อง 7
ปลายฝนต้นหนาว นกยูง
ปลาบู่ทอง เอื้อย / อ้าย (วัยเด็ก)
กระสือ พิม
2538 มโหสถชาดก อินทิรา
2539 มณีนพเก้า เทพีโชคชะตา
พันหนึ่งราตรี ดวงจันทร์
2540 นิรมิต เจ้าแสงหล้า (วัยเด็ก)
แก้วจอมแก่น แก้ว
2544 เงาปริศนา เมี๊ยว
ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน พนักงานรับโทรศัพท์ (รับเชิญ)
ปิ่นไพร ศรีทัย
2545 หัวใจไกลปืนเที่ยง น้อย
2546 แดนซ์ไม่เซ่อ...เลยเจอรัก น้ำผึ้ง
กษัตริยา มณีอินทร์ ช่อง 5
2547 มหาราชกู้แผ่นดิน มณีอินทร์
ชุมทางรัก นิธิวดี ช่อง 7
คู่แกร่ง แข่งกันเก่ง สารภี
2548 ยัยตัวร้ายกับนายป่วน อาทิตยา (ต้นหลิว)
อังกอร์ 2 นิชา / องค์หญิงอายา
2549 คดีเด็ด...เหตุแห่งรัก สนิสา
แก่นกะลา ดอกคูณ
สาวน้อยร้อยล้าน น้อย ต้อยติ่ง
ธิดาซาตาน ธารใส (ธาตุน้ำ)
2550 สุภาพบุรุษชาวดิน ภัควดี วรกิจไพศาล (ตุ๊ก)
น้องเหมียวเขี้ยวเพชร เหมียว
2551 ตลาดน้ำดำเนินฯ...รัก ภาค 2 คัทลียา (ดอกเข็ม)
เธอคือชีวิต อรอินทร์ (ตัวเล็ก)
สุภาพบุรุษซาตาน ละติน วรเวช (ลิลลี่) / หนูตุ่น
เจ้าหญิงลำซิ่ง เจ้าหญิงขวัญวาริน / วาริน
2552 วังน้ำค้าง รัตติกาล
วงเวียนหัวใจ บุปผชาติ พิมุขโยธกานต์ (โบว์)
2553 รักซ่อนรส ฟ้าใส
2555 มารยาริษยา ดีนี่ ช่อง 5
ทองประกายแสด ทองดี / ทองประกาย ช่อง 8
ราชินีลูกทุ่ง กุ้งนาง
2556 กากับหงส์ มนฤดี (มดดำ)
2557 คุ้มนางครวญ เจ้านางยอดหล้า / เจ้าแสงหล้า ช่อง 5
2558 แหวนทองเหลือง ดวงใจ / หทัยทิพย์ ช่อง 8
2559 นางโชว์ มะลิวัลย์ / เมนี่ พีพีทีวี
2561 เมืองมายา Live ตอน มายารัก On Lie ชิงชิง ช่องวัน
2562 ภูตพิศวาส แสร์
ศรีอโยธยา ภาค ๒ ทองดี / ทองประกาย ทรูโฟร์ยู
2563 ขุมทรัพย์ลำโขง องค์หญิงพินทรา / เพทาย ช่อง 8
2564 เรือนร่มงิ้ว มาลัย / นิรา
ลวงฆ่าล่ารัก เพียงจันทร์ / พันดาว (ฝาแฝด) พีพีทีวี
ให้รักพิพากษา Dare to Love ทนายคามีเลีย (คามี่) ช่อง 3
2565 ลายกินรี เจ้าจอมกินรี
ดงดอกไม้ เกลียวเกศ ช่องวัน
2567 โนราโหงโรง บุหงา Mono max

ซีรีส์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง บทบาท ออกอากาศ
2561 ศึกสองแสบ น้ำริน ช่องวัน
2562 SLEEPLESS SOCIETY ตอน เรื่องบนเตียง นารา
2563 Club Friday The Series 12 ตอน รักซับซ้อน มะปราง (ปราง) จีเอ็มเอ็ม 25
2565 เมนูลับฉบับแก้มยุ้ย La Cuisine the series แอดมินเพจ (รับเชิญ) ช่อง9/ WeTV

ภาพยนตร์

[แก้]

ในประเทศ

[แก้]
  • 2537 เสียดาย รับบท ดาว
  • 2538 ฉากสุดท้ายของทัดทรวง รับบท น้อยหน่า
  • 2548 หลวงพี่เท่ง รับบท พะเนียง
  • 2548 เด็กเดน รับบท พิงค์
  • 2550 ชุมทางรถไฟผี รับบท ราตรี
  • 2555 จัน ดารา ปฐมบท รับบท ดารา พิจิตรวานิช / ไฮซินธ์
  • 2556 จัน ดารา ปัจฉิมบท รับบท ดารา พิจิตรวานิช / ไฮซินธ์
  • 2557 The Rooms ห้อง...หลอน รับบท เปิ้ล
  • 2557 ทาสรักอสูร รับบท อู้อี้
  • 2561 หอแต๋วแตก แหกต่อ ไม่รอแล้วนะ รับบท นานา
  • 2562 สงกรานต์ แสบสะท้านโลกันต์ รับบท เมษา
  • 2563 The Maid สาวลับใช้ รับบท คุณหญิงอุมา Netflix
  • 2566 กุมาร (Kumarn) รับบท แพม

ต่างประเทศ

[แก้]
  • 2554 Markandeyan (ภาพยนตร์ทมิฬ)
  • 2557 Emo Gurram Egaravachu (ภาพยนตร์ตอลลีวูด)

มิวสิกวิดีโอ

[แก้]
  • ศิลปิน : ไมเคิ่ล หว่อง เพลง "ฉันมาไกล"
  • ศิลปิน : หม่ำ จ๊กมก เพลง "แช่งนิ่ม ๆ"
  • ศิลปิน : มิสเตอร์ดี เพลง "ปั่นป่วน"
  • ศิลปิน : นนน กรภัทร์ เพลง "จักรวาลที่ฉันต้องการมีแค่เธอ (My Universe Is You)"
  • ศิลปิน : จิ๋ว สกุณชัย เพลง "สไบสองชาย"

วรรณกรรม

[แก้]
  • พ้อคเก็ตบุ้ค "สาวไส้สาวิกา"

เพลง

[แก้]

อัลบั้ม

[แก้]

สาวิกา ไชยเดช (พิ้งกี้), วนัสนันท์ ธรรมบูรณะวงษ์ (แก็ก), ธัชชา พุ่มอ่อน (จ๋า), เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช (เจน)

ปี ชื่ออัลบั้ม รายชื่อเพลง
2543 Forest Girl
  1. "o-ya-o"
  2. "รู้ป่ะ"
  3. "ขอบคุณดาว"
  4. "ไปวัดจีน"
  5. "ไม่อยากยืนข้างเธอ"
  6. "อ้ะ..แหม"
  7. "อยากมีแค่เธอ"
  8. "Bad Boy"
  9. "ตื่นสาย"
  10. "เทพนิยาย"
  11. "ผีเสื้อ"
  12. "รู้ป่ะ (MINUS 1)"

ซิงเกิล

[แก้]
  • รับเชิญขับร้องซิงเกิล เพลง "Is this Love" ของวง Unraw Cut

เพลงประกอบละคร

[แก้]
  • เพลง "สุดหล่อ" ประกอบละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (พ.ศ. 2545)
  • เพลง "สาวไส้ใส่กัน" (คู่กับ: รุ่ง สุริยา) ประกอบละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง (พ.ศ. 2545)
  • เพลง "เธอจะต้องชนะ" (คู่กับ: เอมี่ กลิ่นประทุม) ประกอบละครเรื่อง แดนซ์ไม่เซ่อ เลยเจอรัก (พ.ศ. 2546)
  • เพลง "บอกสักนิด" ประกอบละครเรื่อง คู่แกร่ง แข่งกันเก่ง (พ.ศ. 2547)
  • เพลง "ปั่นป่วน" ประกอบละครเรื่อง ยัยตัวร้ายกับนายป่วน (พ.ศ. 2548)
  • เพลง "จั๊กกะจี้" ประกอบละครเรื่อง สาวน้อยร้อยล้าน (พ.ศ. 2549)
  • เพลง "ดาวน้อยในใจเธอ" ประกอบละครเรื่อง สาวน้อยร้อยล้าน (พ.ศ. 2549)
  • เพลง "ขนแขนแสตนอัพ" ประกอบละครเรื่อง สาวน้อยร้อยล้าน (พ.ศ. 2549)
  • เพลง "หยุดเสียที" ประกอบละครเรื่อง ธิดาซาตาน (พ.ศ. 2550)
  • เพลง "มายังไง ไปอย่างงั้น" ประกอบละครเรื่อง ตลาดน้ำดำเนินรัก 2 (พ.ศ. 2551)
  • เพลง "ไหน ไหน ไหน" ประกอบละครเรื่อง ตลาดน้ำดำเนินรัก 2 (พ.ศ. 2551)
  • เพลง "เธอคือชีวิต" ประกอบละครเรื่อง เธอคือชีวิต (พ.ศ. 2551)
  • เพลง "เจ้าหญิงลำซิ่ง" ประกอบละครเรื่อง เจ้าหญิงลำซิ่ง (พ.ศ. 2551)
  • เพลง "ดวงใจในสายน้ำ" ประกอบละครเรื่อง เจ้าหญิงลำซิ่ง (พ.ศ. 2551)
  • เพลง "ไม่รู้ตัวว่ารักเธอ" ประกอบละครเรื่อง วงเวียนหัวใจ (พ.ศ. 2552)
  • เพลง "รักซ่อนรส" ประกอบละครเรื่อง รักซ่อนรส (พ.ศ. 2553)
  • เพลง "ไม่แกล้งเจ้าชู้ แล้วจะรู้ไหมว่าหวง" ประกอบละครเรื่อง ราชินีลูกทุ่ง (พ.ศ. 2555)
  • เพลง "จับความคิดถึง ตรึงไว้บนฟ้า" ประกอบละครเรื่อง ราชินีลูกทุ่ง (พ.ศ. 2555)
  • เพลง "แย่ง" ประกอบละครเรื่อง นาคิน ช่อง 3 (พ.ศ. 2561)

เพลงประกอบภาพยนตร์

[แก้]

ประกวดร้องเพลง

[แก้]

พิธีกร

[แก้]

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • รางวัล นาคเณศ 2565 สาขา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง เรือนร่มงิ้ว
  • รางวัล Rakdaradotcom Award ครั้งที่ 2 สาขา นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ให้รักพิพากษา

รางวัลที่เข้าชิง

[แก้]
  • รางวัล คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 10 สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง มารยาริษยา
  • รางวัล นาฏราช ครั้งที่ 4 สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง มารยาริษยา
  • รางวัล ท็อปอวอร์ด 2012 สาขาดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง มารยาริษยา
  • รางวัล พิฆเนศวร ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 สาขานักแสดงสมทบหญิงดีเด่น จากละครเรื่อง มารยาริษยา
  • รางวัล โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 36 สาขาดาราสนับสนุนหญิงดีเด่น จากละครเรื่อง ให้รักพิพากษา
  • รางวัล โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 36 สาขาดารานำหญิงดีเด่น จากละครเรื่อง ลวงฆ่าล่ารัก
  • รางวัล นาฏราช ครั้งที่ 13 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง ลวงฆ่าล่ารัก
  • รางวัล รางวัล Rakdaradotcom Award ครั้งที่ 2 สาขา นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละครเรื่อง เรือนร่มงิ้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'พิงค์กี้' ปลื้มเล่นหนังอินเดียแต่หวั่นอุปสรรคภาษา-อุบค่าตัว 8 หลัก". ไทยรัฐ. 19 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
  2. "'พิงค์กี้' หวนเล่นหนังอินเดียโวค่าตัวเกือบ50ล". คมชัดลึก. 7 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "ม๊ะมา ! เยี่ยมบ้านเกิด พิ่งกี้ กันเร๊วว". ที่นี่ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  4. 4.0 4.1 ""พิ้งกี้" ร่ำไห้ ตื้นตันแต่ง "เพชร" เจ้าบ่าวท้านับเดือนไม่ป่องก่อนแต่ง". ผู้จัดการออนไลน์. 12 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  5. "ลือ พิงค์กี้ แต่งงานฟ้าแลบ ส่วนพ่อนางเอกดังปฏิเสธยันแค่มาจีบ". เดลินิวส์. 6 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2013.
  6. "'พิงกี้' มึน!วิวาห์ฟ้าแลบ 'แม่อ้อย' เผยลูกสาวไลน์คุยสวีต 'เจสัน'". ไทยรัฐ. 8 มีนาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2013.
  7. สาวิกา ไชยเดช เก็บถาวร 2008-06-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ch7.com
  8. "จัดอันดับ 9 สาวนัยน์ตาชวนฝัน! เครื่องหน้าชัด…ยิ่งมองยิ่งหลง!". แพรว. 20 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  9. 9.0 9.1 สาวิกา ไชยเดช nangdee.com
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2010.
  11. ""ปิ่น ทีวีซีน" เคลียร์ละคร "หงส์สะบัดลาย" พูดถึงนายกฯ ในฝัน แต่ไม่ได้พาดพิงใคร". ASTV ผู้จัดการออนไลน์. 7 สิงหาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2015.[ลิงก์เสีย]
  12. "'โมนา'นางเอกฮอต-ตาคม น่ารักสุด ๆ ที่แท้น้อง'พิ้งกี้'". เดลินิวส์. 3 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2015.
  13. "บันเทิงแนวหน้า". Whiteline. 2 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2015.
  14. "น่ารักจัง น้าพิงกี้ เตรียมดัน หลานซีลิน ให้เป็นดาว". ไทยรัฐออนไลน์. 17 มกราคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  15. ""พิงค์กี้" บอกไร้สาระดึงศาสนาโยงเรื่องงาน(ถ่ายหวือ)". ผู้จัดการออนไลน์. 1 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022.
  16. 16.0 16.1 "พิ้งกี้ สาวิกา ไชยเดช - MSN บันเทิง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2008.
  17. ""พิ้งกี้"โกอินเดียอีกหน-ค่าตัว8หลัก". ข่าวสด. 12 กุมภาพันธ์ 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
  18. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-06-21.
  19. Suresh Kavirayani (23 มกราคม 2013). "Foreign girls taking Tollywood by storm!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2018.
  20. Thai actress Pinky Savika in Sumanth’s film Emo Gurran Egaravachu
  21. "'พิงกี้' ตัดขาด 'เป๊ก-ธัญญ่า' ยิ้มรับฉายา 'อีพิ้งคนเริงเมือง'". ไทยรัฐ. 14 พฤษภาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
  22. "ส่าหรีลี้รัก". ไทยรัฐ. 19 มิถุนายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013.
  23. "ชื่นมื่น เปิด 8 ประโยคเด็ดเข็ดฟัน 'ธัญญ่า พิงกี้' ได้ยินแล้วซึ้งไหม?". ไทยรัฐออนไลน์. 17 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  24. "จบแบบสวยงาม! วินาทีขอโทษกันและกัน ธัญญ่า-พิงกี้-แม่". ไทยรัฐออนไลน์. 18 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  25. "'ธัญญ่า' กอด 'พิงกี้' ก้าวข้ามความขัดแย้ง". ไทยรัฐฉบับพิมพ์. 19 พฤษภาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  26. "ประมวลภาพแต่งงานสุดอลังการ 'พิงกี้-เพชร' หวานเว่อร์!!". ไทยรัฐออนไลน์. 12 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  27. "นางเอก 'พิงกี้' ส่อแววเตียงหัก! แยกทาง'เพชร'สามีไฮโซ". ไทยรัฐออนไลน์. 11 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  28. ""พิ้งกี้" งงสุดๆ!! "ไฮโซเพชร" ประจานปมเตียงหัก : กี้ไม่รู้ว่าตอนนี้เขาคิดอะไร หรือใครไปทำให้เขาต้องมาพูดอะไรแบบนี้หรือเปล่า". ข่าวสด. 1 ธันวาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  29. ""เพชร" เปิดใจหย่า "พิ้งกี้" ลั่น ! โชคดีไม่มีทายาท". เดลินิวส์. 13 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2018.
  30. "ประวัติ "พิ้งกี้ สาวิกา" จากดาวเด่นวงการบันเทิงสู่ผู้ต้องหาคดีแชร์ลูกโซ่". ฐานเศรษฐกิจ. 19 สิงหาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]