สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1815–ค.ศ. 1839 | |||||||||||||||||||||
เพลงชาติ: "Those in whom Dutch blood" | |||||||||||||||||||||
ที่ตั้งของเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1815 และราชรัฐลักเซมเบิร์ก | |||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | เดอะเฮกและบรัสเซลส์ | ||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ดัตช์ (ทางการ) และฝรั่งเศส (ทางการในวอลลูน) กลุ่มภาษาฟรีเชีย, ลิมเบิร์ก, ดัตช์แซกซันตอนล่าง, ยิดดิชตะวันตกเฉียงเหนือ, โรมานีเหนือ | ||||||||||||||||||||
ศาสนา | ปฏิรูปดัตช์ โรมันคาทอลิก | ||||||||||||||||||||
เดมะนิม | ดัตช์ | ||||||||||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||||||||||||||||||
กษัตริย์ | |||||||||||||||||||||
• ค.ศ. 1815–1839 | วิลเลิมที่ 1 | ||||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | สภาฐานันดร | ||||||||||||||||||||
• สภาสูง | วุฒิสภา | ||||||||||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยใหม่ตอนปลาย | ||||||||||||||||||||
16 มีนาคม ค.ศ. 1815 | |||||||||||||||||||||
24 สิงหาคม ค.ศ. 1815 | |||||||||||||||||||||
25 สิงหาคม ค.ศ. 1830 | |||||||||||||||||||||
19 เมษายน ค.ศ. 1839 | |||||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||||
• 1815 | ป. 2,233,000[2] | ||||||||||||||||||||
• 1839 | ป. 3,500,000[2] | ||||||||||||||||||||
สกุลเงิน | กิลเดอร์ดัตช์ | ||||||||||||||||||||
รหัส ISO 3166 | NL | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก |
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ หรือ ราชอาณาจักรสหเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Verenigd Koninkrijk der Nederlanden; ฝรั่งเศส: Royaume-Uni des Pays-Bas; อังกฤษ: United Kingdom of the Netherlands หรือ Kingdom of the United Netherlands; ค.ศ. 1815 - ค.ศ. 1830) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่หมายถึงรัฐใหม่ของยุโรปที่เกิดขึ้นจากจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ระหว่างการประชุมแห่งเวียนนาใน ค.ศ. 1815 ที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์" ที่ประกอบด้วยอดีตสาธารณรัฐแห่งรัฐดัตช์ทั้งเจ็ด[3]ทางตอนเหนือ, อดีตเนเธอร์แลนด์ออสเตรียทางตอนใต้, และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอเป็นประมุขของราชอาณาจักรใหม่
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ล่มสลายลงหลังจากการปฏิวัติเบลเยียมใน ค.ศ. 1830 พระเจ้าวิลเลิมที่ 1ปฏิเสธไม่ทรงยอมรับฐานะของเบลเยียมจนเมื่อทรงถูกกดดันให้ลงนามในสนธิสัญญาลอนดอนในปี ค.ศ. 1839 และทรงยอมให้จัดการเขตแดน รวมทั้งรับรองสถานะความเป็นเอกราชและความเป็นกลางของเบลเยียม
ประวัติ
[แก้]ก่อนสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ.1792-1802) กลุ่มประเทศต่ำได้กลายมาเป็นหน่วยการเมืองสำคัญอันเป็นผลมาจากสงครามแปดสิบปี (ค.ศ.1568-1648) โดยมีสาธารณรัฐดัตช์ซึ่งเป็นประเทศเอกราชตั้งอยู่ตอนเหนือ ในขณะที่ดินแดนทางใต้นั้นถูกแบ่งเป็นของออสเตรีย ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค และราชรัฐมุขนายกลีแยฌ[4] ซึ่งทั้งสองส่วนนั้นขึ้นกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยภายหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ทำให้สงครามสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นในปีค.ศ. 1792 ซึ่งฝรั่งเศสได้ถูกรุกรานโดยปรัสเซีย และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สงครามได้กินเวลาถึงสองปีจนกระทั่งดินแดนในเนเธอร์แลนด์ของออสเตรียและราชรัฐมุขนายกลีแยฌ ได้ถูกยึดครองโดยกองทัพฝรั่งเศสโดยราบคาบในปีค.ศ. 1794 และถูกผนวกดินแดนเข้ากับฝรั่งเศสในที่สุด[5] ซึ่งทำให้สาธารณรัฐดัตช์ล่มสลายลงและกลายเป็นรัฐบริวารของสาธารณรัฐฝรั่งเศส
การปกครอง
[แก้]รัฐธรรมนูญ และรัฐบาล
[แก้]ถึงแม้ว่าสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์จะปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐ และหัวหน้ารัฐบาลยังมีไม่จำกัด โดยมีรัฐสภา (States General) แบบสองสภา ประกอบด้วยวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร
โดยการปกครองนั้นเป็นที่น่ากังขากันมากเนื่องจากสัดส่วนผู้แทนราษฎรรวมทั้งสิ้น 110 ที่นั่ง ถูกแบ่งเท่ากันสำหรับดินแดนเหนือ และดินแดนใต้ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่า จึงทำให้ชาวเนเธอร์แลนด์ใต้ไม่พอใจเพราะสภานั้นถูกชี้นำโดยชาวเหนือ อีกทั้งพระราชอำนาจในพระมหากษัตริย์นั้นมีมากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียมในปัจจุบัน ซึ่งในสมัยนั้นทรงแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยตรง
มณฑล
[แก้]สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์แบ่งเป็นมณฑลปกครองรวมทั้งสิ้น 17 มณฑล ซึ่งไม่รวมถึงราชรัฐลักเซมเบิร์กซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเดียวกัน ซึ่งมณฑลทั้งหมดนี้ส่วนมากถูกแบ่งมาก่อนแต่เดิมสมัยที่ถูกปกครองโดยฝรั่งเศสแล้ว
- แอนต์เวิร์ป
- เดรนเทอ
- ฟลานเดอร์ตะวันออก
- ฟรีสลันด์
- เกลเดอร์ลันด์
- โกรนิงเงิน
- แอโน
- ฮอลแลนด์
- ลิมบืร์ค
- ลีแยฌ
- นามูร์
- บราบรันต์เหนือ
- โอเฟอไรส์เซิล
- บราบันต์ใต้
- ยูเทรกต์
- ฟลานเดอร์ตะวันตก
- จังหวัดเซลันด์
ความตึงเครียดในภูมิภาค
[แก้]ความตึงเครียดในระหว่างดินแดนทางเหนือและใต้เริ่มต้นมาจากศาสนาเนื่องจากเนเธอร์แลนด์ใต้นั้นเป็นดินแดนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเคร่งครัด ในขณะที่เนเธอร์แลนด์เหนือนั้นนับถือคริสตจักรปฏิรูปแห่งดัตช์เป็นหลัก[6] โดยทางฝั่งคาทอลิกได้แสดงความไม่พอใจจากการถูกเบียดเบียนด้านสิทธิพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านการศึกษา อีกทั้งการบังคับใช้ภาษาดัตช์ในเขตที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักทำให้เหล่าชนชั้นนำไม่พอใจ[7] ชาวเบลเยียมส่วนใหญ่ไม่พอใจในรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นกลางและแบ่งแยกอย่างชัดเจน ในขณะที่จำนวนประชากรเบลเยียมนั้นมีมากถึง 62% แต่มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ส่วนในวุฒิสภานั้นมีเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งด้วยซ้ำ โดยมีการจัดสรรงบประมาณอย่างไม่เป็นธรรมโดยนำรายได้จากเบลเยียมที่มีมากกว่าไปชดเชยให้กับฝั่งเนเธอร์แลนด์ที่ยากจนกว่า ในช่วงกลางยุคค.ศ. 1820 ได้มีการจัดตั้งสหภาพฝ่ายค้านขึ้นในเบลเยียมที่รวมเอาทั้งกลุ่มเสรีนิยม และอนุรักษ์นิยมคาทอลิกไว้ด้วยกันเพื่อต่อต้านกับการปกครองของดัตช์
การปฏิวัติเบลเยียม
[แก้]การปฏิวัติเบลเยียมได้อุบัติขึ้นเมื่อ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1830 โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติเดือนกรกฎาคมในฝรั่งเศส โดยการกองทัพก็ไม่สามารถหยุดการปฏิวัติในบรัสเซลส์ได้ ซึ่งต่อมาได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1830 โดยใช้การปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระเจ้าเลออปอลที่ 1 รับราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม
พระเจ้าวิลเลิมที่ 1 ได้ปฏิเสธการรับรองเอกราชของเบลเยียม และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1831 ได้ส่งกองทัพดัตช์เข้ายึดอำนาจในยุทธการสิบวัน ซึ่งเกือบจะมีชัยชนะในช่วงแรก แต่ด้วยความช่วยเหลือของกองทัพเหนือแห่งฝรั่งเศสการรุกรานครั้งนี้จึงต้องถูกยกเลิกในที่สุด[8] สุดท้ายจึงได้ตกลงกันในสนธิสัญญาลอนดอน (ค.ศ. 1839) ซึ่งฝ่ายดัตช์ยอมรับในเอกราชของเบลเยียมอย่างสมบูรณ์เพื่อแลกเปลี่ยนกับดินแดนบางส่วน[9] และได้มีการจัดการเรื่องเขตแดนกันโดยสนธิสัญญามาสทริชท์ในปีค.ศ. 1843 ส่วนลักเซมเบิร์กนั้นได้เป็นรัฐอิสระโดยมีประมุขร่วมกับเนเธอร์แลนด์ แต่ยังต้องเสียดินแดนบางส่วนไปให้กับเบลเยียม
ดินแดน
[แก้]- 1, 2 และ 3 - สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (จนกระทั่ง ค.ศ. 1830)
- 1 และ 2 - ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ (หลังจาก ค.ศ. 1830)
- 2 - ดัชชีลิมเบิร์ก (ในสมาพันธรัฐเยอรมนีหลังจาก ค.ศ. 1839 เป็นการตอบแทนสำหรับ วาลส์-ลักเซมเบิร์ก)
- 3 และ 4 - ราชอาณาจักรเบลเยียม (หลังจาก 1830)
- 4 และ 5 - อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์ก (จนกระทั่ง ค.ศ. 1830)
- 4 - จังหวัดลักเซมเบิร์ก (วาลส์-ลักเซมเบิร์ก, เสียให้แก่เบลเยียม ค.ศ. 1839)
- 5 - อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์ก (ลักเซมเบิร์กเยอรมนี; จนกระทั่ง ค.ศ. 1839) ในบริเวณสีน้ำเงินเขตแดนของสมาพันธรัฐเยอรมัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ La parenthèse française et hollandaise (1795-1830), Encyclopædia Universalis. Retrieved on 4 July 2021.
- ↑ 2.0 2.1 Demographics of the Netherlands เก็บถาวร 2011-12-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jan Lahmeyer. Retrieved on 10 December 2013.
- ↑ Pieter Geyl, History of the Dutch-Speaking Peoples, 1555-1648. Phoenix Press, 2001
- ↑ S Marteel, The Intellectual Origins of the Belgian Revolution (2018) p. 23
- ↑ A W Ward, The Cambridge History of British Foreign Policy 1783-1919 Vol I (Cambridge 1922) p. 263
- ↑ S Marteel, The Intellectual Origins of the Belgian Revolution (2018) p. 4
- ↑ D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 86-7
- ↑ D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 88
- ↑ D Richards, Modern Europe (London 1964) p. 89
บรรณานุกรม
[แก้]- Kossmann, E.H. (1988). The Low Countries, 1780-1940. Oxford: Clarendon. ISBN 9780198221081.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์