ข้ามไปเนื้อหา

สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก

ฮะซัยมา บินต์ นาศิร
(الملكة حزيمة بنت الشريف ناصر)

สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก
ฮะซัยมา บินต์ นาศิร
สมเด็จพระราชินีแห่งซีเรีย
สมเด็จพระราชินีแห่งอิรัก
สมเด็จพระราชชนนีแห่งอิรัก
ประสูติพ.ศ. 2427
เมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
สวรรคตพ.ศ. 2478
แบกแดด ประเทศอิรัก
(พระชนมายุ 51 พรรษา)
พระราชสวามีพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก
พระราชบุตรเจ้าหญิงอัซซาแห่งอิรัก
เจ้าหญิงราจิฮาแห่งอิรัก
เจ้าหญิงไรฟิอาแห่งอิรัก
พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก
สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (ฮาชิม)
พระราชบิดานาศิร อิบต์ อะลี
พระราชมารดาดิลเบอระห์ ฮะนุม

สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก หรือ เจ้าหญิงฮะซัยมา บินต์ นาศิร (พ.ศ. 2427 - พ.ศ. 2478) ทรงเป็นเจ้าหญิงอาหรับ และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกและสุดท้ายแห่งซีเรีย ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกแห่งอิรัก โดยเป็นพระมเหสีในพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรัก และทรงเป็นสมเด็จพระราชชนนีแห่งอิรักในรัชสมัยของพระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก

พระราชประวัติ

[แก้]
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งซีเรียและอิรัก

เจ้าหญิงฮะซัยมา บินต์ นาศิร ประสูติในปีพ.ศ. 2427 ทรงเป็นธิดาในนาศิร อิบต์ อะลีกับดิลเบอระห์ ฮะนุม ทรงประสูติที่กรุงเมกกะ

ในปีพ.ศ. 2447 ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฮุซัยน์ บิน อะลี อัลฮาชิมี พระโอรสในฮุซัยน์ บิน อะลี แกรนด์ชะรีฟแห่งมักกะฮ์กับอับดิยะห์ บิน อับดุลลาห์ มีพระโอรสรวมกัน 4 พระองค์

หลังจากการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาณาเขตปกครองของจักรวรรดิออตโตมันเดิมถูกแบ่งเป็นส่วนๆโดยชาติยุโรป หรือได้ประกาศเอกราช ในปีพ.ศ. 2463 เจ้าชายฟัยศ็อลทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งซีเรีย และเจ้าหญิงฮะซัยมาจึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งซีเรีย เมื่อคำสั่งมาถึงพระสวามี พระนางจึงพาพระโอรสธิดาย้ายไปยังที่พำนักใหม่คือพระราชวังหลวงในกรุงดามัสกัส แต่น่าเสียดายที่ทรงครองราชสมบัติเพียง 4 เดือนเท่านั้น ราชอาณาจักรซีเรียถูกล้มล้างหลังจากสงครามฝรั่งเศส - ซีเรีย และทำให้พระเจ้าฟัยศ็อลและพระราชินีฮะซัยมาสูณเสียพระอิศริยยศไป

ในปีพ.ศ. 2464 รัฐบาลอังกฤษได้กราบบังคมทูลเชิญอดีตพระเจ้าฟัยศ็อลแห่งซีเรียไปครองราชบัลลังก์แห่งใหม่ที่ราชอาณาจักรอิรัก ที่ซึ่งได้รับอำนาจในการปกครองจากนานาชาติ พระองค์ทรงตอบรับและได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิรัก อดีตพระราชินีฮะซัยมาแห่งซีเรียจึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอิรักและพระราชวงศ์ได้ย้ายไปประทับที่กรุงแบกแดดเมืองหลวงแห่งใหม่ของราชอาณาจักร

พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรักเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2476 เจ้าชายฆอซี พระราชโอรสทรงครองราชบัลลังก์สืบต่อเป็น พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก พระนางจึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชชนนีแห่งอิรัก พระนางทรงดำรงพระชนม์ชีพทันพระราชพิธีอภิเษกสมรสของพระโอรสกับเจ้าหญิงอะลียะฮ์ บินต์ อะลีแห่งเฮแจซ

หลังจากพระโอรสครองราชย์ได้ 2 ปี สมเด็จพระราชชนนีฮะซัยมาแห่งอิรักสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2478 ณ แบกแดด ประเทศอิรัก สิริพระชนมายุ 51 พรรษา

พระโอรส-ธิดา

[แก้]

พระนางกับพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 1 แห่งอิรักมีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ได้แก่

  พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา
เจ้าหญิงอัซซาแห่งอิรัก 1906พ.ศ. 2449 1936พ.ศ. 2479
เจ้าหญิงราจิฮาแห่งอิรัก 1907พ.ศ. 2450 1959พ.ศ. 2502
เจ้าหญิงไรฟิอาแห่งอิรัก 1910พ.ศ. 2453 1934พ.ศ. 2477
พระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก 191221 มีนาคม
พ.ศ. 2455
19394 เมษายน
พ.ศ. 2482
อภิเษกสมรส 25 มกราคม พ.ศ. 2477
เจ้าหญิงอะลียะฮ์ บินต์ อะลีแห่งเฮแจซ
มีพระโอรส 1 พระองค์ ได้แก่
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • http://en.wikipedia.org/wiki/Huzaima_bint_Nasser
  • Masalha, N. (Oct., 1991). "Faisal's Pan-Arabism, 1921–33". Middle Eastern Studies. 27 (4): 679–693. JSTOR 4283470. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • Simon, Reeva S. (Jun., 1974). "The Hashemite 'Conspiracy': Hashemite Unity Attempts, 1921–1958". International Journal of Middle East Studies. 5 (3): 314–327. JSTOR 162381. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • Charles, Tripp (2007). A History of Iraq (3 ed.). New York: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-87823-4.
ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีฮะซัยมาแห่งอิรัก ถัดไป
พระอิศริยยศใหม่
สถาปนาราชอาณาจักรซีเรีย

สมเด็จพระราชินีแห่งซีเรีย
(8 มีนาคม พ.ศ. 2463 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2463)
สิ้นสุด
ราชอาณาจักรซีเรียถูกล้มล้าง
พระอิศริยยศใหม่
สถาปนาราชอาณาจักรอิรัก

สมเด็จพระราชินีแห่งอิรัก
(23 สิงหาคม พ.ศ. 2464 - 8 กันยายน พ.ศ. 2476)
เจ้าหญิงอะลียะฮ์ บินต์ อะลีแห่งเฮแจซ