ข้ามไปเนื้อหา

สนามกีฬาติณสูลานนท์

พิกัด: 7°12′26″N 100°35′55″E / 7.20722°N 100.59861°E / 7.20722; 100.59861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามกีฬาติณสูลานนท์
แผนที่
ชื่อเต็มสนามกีฬาติณสูลานนท์
ที่ตั้งตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
เจ้าของการกีฬาแห่งประเทศไทย (2538-2557)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (2557-ปัจจุบัน)
ความจุ24,121 ที่นั่ง
ขนาดสนาม95 x 62 เมตร
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้างพ.ศ. 2538
ต่อเติมพ.ศ. 2557
การใช้งาน
สโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด (2555–2560)
สโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี (2542–2555, 2562–ปัจจุบัน)
กีฬาฟุตบอลในเอเชียนเกมส์ 1998
กีฬาแห่งชาติ 2560
ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020
ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 50

สนามกีฬาติณสูลานนท์ เป็นสนามกีฬาในตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสงขลา เอฟซี ในอดีตเคยเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลสงขลา ยูไนเต็ด

ในปี พ.ศ. 2541 สนามกีฬาติณสูลานนท์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสนามแข่งขันรอบคัดเลือกและนัดชิงที่ 3 ของกีฬาฟุตบอล ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 โดยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในนัดชิงที่ 3 หรือรอบชิงเหรียญทองแดง ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติจีน ซึ่งทีมชาติไทยแพ้ไป 0-3 โดยมีจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันประมาณ 30,000 กว่าคน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้โอนการดูแลสนามมาให้กับทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และใช้งบประมาณร่วม 200 ล้านบาทในการปรับปรุงสนามฟุตบอลและสนามอื่น ๆ โดยเพิ่มความจุสนามจาก 35,000 ที่นั่งเป็น 45,000 ที่นั่งและเปลี่ยนเป็นเก้าอี้ และปรับปรุงอัฒจรรย์ฝั่งประธานให้เป็นอัฒจรรย์ 2 ชั้นขนาด 10,000 ที่นั่ง เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ สงขลาเกมส์ ในปี พ.ศ. 2560

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

ฟุตบอล

[แก้]
  • ฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 ระหว่างวันที่ 8–26 มกราคม พ.ศ. 2563[1] ใช้จัดการแข่งขัน 5 นัดในกลุ่ม ซี
  • ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 11-14 ตุลาคม พ.ศ. 2567 ใช้การจัดการแข่งขัน 4 ทีม (ประกอบด้วยทีมชาติไทย ทาจิกิสถาน ฟิลิปปินส์ ซีเรีย) แข่งขันแบบน็อคเอาท์ ทีมชาติไทยเอาชนะฟิลิปปินส์ 3-1 และชนะซีเรีย 2-1 ทำให้คว้าแชมป์คิงส์คัพมาครองได้สำเร็จ นับเป็นการได้แชมป์ในรอบ 7 ปี เป็นแชมป์สมัยที่ 16 และเป็นการได้แชมป์ที่มีการแข่งขันในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกอีกด้วย[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ผู้ว่ากกท. ส่งมอบ 4 สนามให้ เอเอฟซี 27 ธ.ค.นี้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-25. สืบค้นเมื่อ 2020-01-06.
  2. "ผลบอลคิงส์คัพ ไทย ชนะ ซีเรีย 2-1 คว้าแชมป์คิงส์ คัพ ในรอบ 7 ปี". สืบค้นเมื่อ 2024-10-14.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

7°12′26″N 100°35′55″E / 7.20722°N 100.59861°E / 7.20722; 100.59861