ข้ามไปเนื้อหา

สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

พิกัด: 13°45′45.88″N 100°32′13.51″E / 13.7627444°N 100.5370861°E / 13.7627444; 100.5370861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
N3

Victory Monument
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°45′45.88″N 100°32′13.51″E / 13.7627444°N 100.5370861°E / 13.7627444; 100.5370861
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
ผู้ให้บริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอสซี)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ทางวิ่ง2
การเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างยกระดับ
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีN3
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ5 ธันวาคม พ.ศ. 2542; 24 ปีก่อน (2542-12-05)
ผู้โดยสาร
25644,193,569
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีต่อไป
สนามเป้า
มุ่งหน้า คูคต
สายสุขุมวิท พญาไท
มุ่งหน้า เคหะฯ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (อังกฤษ: Victory Monument station; รหัส: N3) เป็นสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแบบยกระดับในเส้นทางสายสุขุมวิท ยกระดับเหนือถนนพญาไทบริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในพื้นที่เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในจุดต่อรถโดยสารจุดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง

[แก้]
ชานชาลาสถานี ก่อนมีการติดตั้งประตูกั้นชานชาลา

ถนนพญาไท บริเวณทิศใต้ของอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในพื้นที่แขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบันบริเวณรอบอนุสาวรีย์ฯ เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางจุดใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ทำให้สถานีแห่งนี้มีผู้โดยสารใช้บริการมากตลอดทั้งวัน ทั้งผู้ที่โดยสารรถประจำทางหรือรถตู้ไปยังฝั่งธนบุรี ย่านปิ่นเกล้า นนทบุรี รังสิต บางเขน สถานีขนส่งจตุจักร ดินแดง ห้วยขวาง รามคำแหง มีนบุรี ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฯลฯ ซึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง และผู้ที่เดินทางด้วยรถตู้ทางไกลไปยังจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งมีจุดจอดอยู่ตามตรอกซอกซอยรอบอนุสาวรีย์ฯ เช่น ชะอำ หัวหิน พัทยา ตลาดโรงเกลือ สระบุรี ลพบุรี บ้านนา พนมทวน เป็นต้น

แผนผังสถานี

[แก้]
U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 1 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า เคหะฯ (พญาไท)
ชานชาลา 2 สายสุขุมวิท มุ่งหน้า คูคต (สนามเป้า)
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-4, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
สะพานทางเดินรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, อาคารอุทุมพร
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, เซ็นเตอร์วัน, แฟชั่นมอลล์
เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, โรงพยาบาลราชวิถี และ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก), สวนสันติภาพ
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และ พระราชวังพญาไท

รูปแบบของสถานี

[แก้]

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสารและชานชาลา รวมทั้งมีประตูอัตโนมัติกั้นชานชาลาแบบครึ่งความสูง

ทางเข้า-ออก

[แก้]
  • 1 ป้ายรถประจำทางไปอนุสาวรีย์ฯ, ถนนโยธี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, สำนักงานเขตราชเทวี, กรมแพทย์ทหารบก (ลิฟต์)
  • 2 เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า (สะพานเชื่อม), รถรับ-ส่ง ไปยังคิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์, โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ, ป้ายรถประจำทางไปราชเทวี, ถนนรางน้ำ
  • 3 โรงพยาบาลราชวิถี (บันไดเลื่อน)
  • 4 สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย (ลิฟต์)
  • สะพานทางเดินรอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
    • อาคารอุทุมพร (สะพานเชื่อม)
    • ป้ายรถประจำทางไปสี่แยกตึกชัย หน้า รพ.ราชวิถี
    • ป้ายรถประจำทางไปราชเทวี หน้าภัตตาคารพงหลี (บันไดเลื่อน)
    • เซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า (สะพานเชื่อม)
    • แฟชั่นมอลล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ (สะพานเชื่อม)
    • ป้ายรถประจำทางไปดินแดง หน้าแฟชั่นมอลล์
    • ป้ายรถประจำทางไปสะพานควาย ฝั่งโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

จุดรวมพลอยู่ที่ทางออก 2 หน้าเซนจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า

เวลาให้บริการ

[แก้]
ปลายทาง ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสุขุมวิท[1]
ชานชาลาที่ 1
E23 เคหะฯ 05.23 23.54
E15 สำโรง 00.08
ชานชาลาที่ 2
N24 คูคต 05.49 00.07
N9 ห้าแยกลาดพร้าว 00.21

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้]

ศูนย์การค้า

[แก้]
  • เซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า
  • เซ็นเตอร์วัน ช้อปปิ้งพลาซ่า
  • คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ
  • วิคตอรี่ฮับ
  • วิคตอรี่ มอลล์

อาคารสำนักงาน

[แก้]

โรงแรม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เวลาให้บริการของรถไฟฟ้าบีทีเอส" (PDF). 2021-11-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-08-25.