วิหารไฟแห่งแยซด์
วิหารไฟแห่งแยซด์ (เปอร์เซีย: آتشکده یزد, Ātaškade-ye Yazd, อังกฤษ: Fire Temple of Yazd) หรือ ออแตชแบฮ์รอเมแยซด์ (เปอร์เซีย: آتش بهرام یزد, Ātaš Bahrām-e Yazd หรือ Yazd Atash Behram) เป็นวิหารไฟในศาสนาโซโรอัสเตอร์ ตั้งอยู่ที่แยซด์ แคว้นแยซด์ ประเทศอิหร่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มาตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล[1] ในวิหารเป็นที่ประดิษฐานออแตชแบฮ์รอมหรือ "ไฟแห่งชัยชนะ" ที่ลุกไหม้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 470 และเป็นไฟเดียวในเก้าออแตชแบฮ์รอม ที่ตั้งอยู่ในอิหร่าน ที่เหลืออีกแปดไฟปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดีย[2][3] การบูชาไฟในศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นการบูชาไฟในฐานะรูปอวตารของพระอาฮูรามาซดา[2] ไฟชนิดออแตชแบฮ์รอมเป็นไฟศักดิ์สิทธิ์ที่ประกอบขึ้นมาจากไฟสิบหกแหล่งแตกต่างกัน เช่น ไฟที่เกิดจากฟ้าผ่า[4]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ในป้ายข้อมูลของวิหารระบุว่าวิหารสร้างขึ้นในปี 1934 ทุนทรัพย์การก่อสร้างวิหารมาจากการบริจาคของสมาคมชาวปาร์สีในประเทศอินเดีย การก่อสร้างเป็นไปภายใต้การดูแลกำกับของญามชีด อามานัต (Jamshid Amanat) ส่วนไฟศักดิ์สิทธิ์ในวิหารว่ากันว่าเผาไหม้มาตั้งแต่ ค.ศ. 470[3] เริ่มมาตั้งแต่ในสมัยชาฮ์แห่งซาสซาเนีย ที่ซึ่งไฟนี้ประดิษฐานอยู่ที่วิหารไฟแปร์สแกร์แยน ที่ปัจจุบันอยู่ในแคว้นแลเรสถาน[4] จากนั้น ไฟได้ถูกเคลื่อนย้ายมายังออกแด และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 700 ปี ก่อนที่จะถูกย้ายอีกครั้งในปี 1173 ไปยังวิหารแนฮีเดแปร์ส (Nahid-e Pars) ในออร์แดแกนที่อยู่ไม่ไกลกัน ตั้งอยู่อีก 300 ก่อนที่จะย้ายไปยังที่พำนักของนักบวชระดับสูงในแยซด์ และในปี 1934 ได้ประกอบพิธีย้ายไฟมาประดิษฐานในวิหารหลังปัจจุบัน[3][5]
รูปปั้นท่อนบนของ Maneckji Limji Hataria ผู้มีบทบาทสำคัญในการระดมทุนก่อสร้างวิหาร สามารถพบได้อยู่ในบริเวณวิหาร was ประกอบสัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์และดวงจันทร์[6]
ลักษณะ
[แก้]วิหารสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมอะเคเมนิด ด้วยงานก่ออิฐถือปูน ตามการออกแบบโดยสถาปนิกจากบอมเบย์ ลักษณะการออกแบบของวิหารคล้ายคลึงกับวิหารระดับออแตชเบฮ์รอมในอินเดีย โดยรอบของวิหารเป็นสวนที่มีต้นผลไม้[7] ประตูทางเข้าของวิหารมีรูปของพระอะฮูระมาซดาติดตั้งอยู่บนเหนือประตู[8]
ไฟศักดิ์สิทธิ์ในวิหารประดิษฐานอยู่หลังกระจก ห้องที่มีไฟศักดิ์สิทธิ์นี้อนุญาตให้เฉพาะศาสนิกชนของโซโรอัสเตอร์เข้าไปได้เท่านั้น คนนอกศาสนาสามารถมองไฟได้จากนอกห้องกระจก[9] ไฟนี้เผาไหม้อยู่ในเตาบรอนซ์ขนาดใหญ่ โดยมีบุคคลที่เรียกว่า "ฮีร์โบด" (Hirbod) เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ[10]
ออแก รูสแตม โนชีแรแวน เบลีแวนี (Aga Rustam Noshiravan Belivani) แห่งชารีฟาบาด ระบุว่าแอนจูแมนีแนซีรี (Anjuman-i Nasiri; เจ้าหน้าที่ทางศาสนาโซโรอัสเตอร์ที่มาจากการเลือกตั้ง) ได้เปิดวิหารไฟสู่สาธารณชนที่รวมถึงคนที่ไม่ใช่ศาสนิกชนของโซโรอัสเตอร์นับตั้งแต่ทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา[11] ตามธรรมเนียมแล้วนิยมสร้างวิหารไฟให้อยู่ติดแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อให้เป็นการครบธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม ไฟ) แต่วิหารไฟนี้ไม่ได้อยู่ใกล้แหล่งน้ำใด ๆ จึงมีการสร้างสระน้ำด้านหน้าแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Steytler, Georgina (26 May 2010). "Iran: treasures and contrasts". The West Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Ejaz 2010, p. 18.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Eduljee, K. E. "Yazd". Heritage Institute. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
- ↑ 4.0 4.1 Rogerson 2013, p. 140.
- ↑ Eduljee, K. E. "Zoroastrian Places of Worship". Heritage Institute. สืบค้นเมื่อ 13 April 2015.
- ↑ Warden 2002, p. 32.
- ↑ Godrej & Mistree 2002, p. 315.
- ↑ Karber 2012, p. 160.
- ↑ Godrej & Mistree 2002, p. 285.
- ↑ "Yazd Atashkadeh (Yazd Atash Behram)". DAD Hotel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ 2020-02-10.
- ↑ Godrej & Mistree 2002, p. 323.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ejaz, Khadija (23 December 2010). In the Persian Empire. Mitchell Lane Publishers, Incorporated. ISBN 978-1-61228-025-7.
- Giara, Marzban Jamshedji (2002). Global Directory of Zoroastrian Fire Temples. Marzban J. Giara.
- Godrej, Pheroza; Mistree, Firoza Punthakey (2002). A Zoroastrian Tapestry: Art, Religion & Culture. Mapin Pub. ISBN 978-81-85822-71-6.
- Karber, Phil (18 June 2012). Fear and Faith in Paradise: Exploring Conflict and Religion in the Middle East. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-1-4422-1479-8.
- Rogerson, Barnaby (7 November 2013). Rogerson's Book of Numbers: The culture of numbers from 1001 Nights to the Seven Wonders of the World. Profile Books. ISBN 978-1-84765-983-5.
- Warden, P. (2002). Parsiana. Vol. 25. Bombay: P. Warden.