วันศุกร์ประเสริฐ
วันศุกร์ประเสริฐ | |
---|---|
พระเยซูถูกตรึงบนไม้กางเขน | |
ประเภท | วันสำคัญทางศาสนาคริสต์ |
วันที่ | วันศุกร์ก่อนวันอีสเตอร์ |
วันที่ในปี 2024 |
|
วันที่ในปี 2025 |
|
วันที่ในปี 2026 |
|
วันที่ในปี 2027 |
|
ส่วนเกี่ยวข้อง | สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ |
วันศุกร์ประเสริฐ[2] (อังกฤษ: Good Friday) หรือวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (อังกฤษ: Holy Friday) เป็นวันสำคัญทางศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ในตรีวารปัสคา (ก่อนวันอีสเตอร์) ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขน
พระวรสารในสารบบระบุว่าพระเยซูทรงถูกตรึงกางเขนในวันเตรียมวันสะบาโตซึ่งตรงกับวันศุกร์[3] และกลับคืนพระชนม์ในเช้าวันอาทิตย์หลังจากนั้น
วันที่
[แก้]ทางตะวันตกกับตะวันออกจะมีวันศุกร์ประเสริฐที่แตกต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปี สามารถคำนวณได้จากก่อนวันอีสเตอร์สองวัน ดังนี้
ปี | ตะวันตก | ตะวันออก |
---|---|---|
2001 | 13 เม.ย. | |
2002 | 29 มี.ค. | 3 พ.ค. |
2003 | 18 เม.ย. | 25 เม.ย. |
2004 | 9 เม.ย. | |
2005 | 25 มี.ค. | 29 เม.ย. |
2006 | 14 เม.ย. | 21 เม.ย. |
2007 | 6 เม.ย. | |
2008 | 21 มี.ค. | 25 เม.ย. |
2009 | 10 เม.ย. | 17 เม.ย. |
2010 | 2 เม.ย. | |
2011 | 22 เม.ย. | |
2012 | 6 เม.ย. | 13 เม.ย. |
2013 | 29 มี.ค. | 3 พ.ค. |
2014 | 18 เม.ย. | |
2015 | 3 เม.ย. | 10 เม.ย. |
2016 | 25 มี.ค. | 29 เม.ย. |
2017 | 14 เม.ย. | |
2018 | 30 มี.ค. | 6 เม.ย. |
2019 | 19 เม.ย. | 26 เม.ย. |
2020 | 10 เม.ย. | 17 เม.ย. |
2021 | 2 เม.ย. | 30 เม.ย. |
กิจกรรม
[แก้]โรมันคาทอลิก
[แก้]คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกเรียกวันนี้ว่า วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ในโบสถ์คาทอลิกจะงดทำพิธีมิสซาในวันนี้ แต่มีพิธีนมัสการกางเขน อ่านคัมภีร์ไบเบิล และอธิษฐานเพื่อคนทั้งโลก ชาวคาทอลิกทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดเนื้อ ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปต้องอดอาหารด้วย คือการรับประทานอิ่มเพียงมื้อเดียวในวันนั้น[4] ที่โบสถ์บางแห่งจะมีการแสดงละครเพื่อระลึกถึงการตรึงพระเยซูที่กางเขนด้วย
โปรเตสแตนต์
[แก้]ในวันศุกร์ประเสริฐ คริสต์ศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์จะไปที่โบสถ์เพื่อร่วมกันระลึกถึงความรักและความทุกข์ทรมานของพระเยซู สำรวมกายใจให้สงบ สำนึกในความผิดบาปของตน[5]
พิธีกรรมและประเพณี
[แก้]คริสตจักรทั่วโลกมีพิธีกรรมและประเพณีเฉลิมฉลองวันสำคัญนี้ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่มีร่วมกันก็คือบรรยากาศแห่งความศักดิ์สิทธิ์และการระลึกถึงการเสียสละของพระคริสต์ ในคริสตจักรแบบดั้งเดิม พิธีกรรมสำคัญจะจัดขึ้นตอนบ่ายวันศุกร์ที่เรียกว่า The Celebration of the Passion of the Lord ประกอบด้วยการอ่านบทบรรยายเหตุการณ์ การนมัสการกางเขน และพิธีกรรมภาวนาอื่น ๆ และในบางประเทศที่มีคริสเตียนเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น ฟิลิปปินส์หรือสเปน อาจมีขบวนแห่บนท้องถนนและการแสดงละครประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชีวิตและการสิ้นพระชนม์ของพระคริสต์อย่างสมจริง[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Selected Christian Observances, 2025, U.S. Naval Observatory Astronomical Applications Department
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 221-2
- ↑ มาระโก 15, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ มีอะไรในสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์[ลิงก์เสีย], สังฆมณฑลเชียงใหม่, เรียกข้อมูลวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ ประมวลเรื่องวันศุกร์ประเสริฐ เก็บถาวร 2010-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกข้อมูลวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556
- ↑ Thosapol (2024-03-29). "รู้จัก "วันศุกร์ประเสริฐ" Good Friday ระลึก "พระเยซู" ไถ่บาปบนไม้กางเขน". Thaiger ข่าวไทย.