วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร | |
---|---|
องค์พระธาตุเชิงชุม | |
ที่ตั้ง | ถนนเจริญเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท (มหานิกาย) |
เจ้าอาวาส | พระเทพสิทธิโสภณ (สุรสีห์ กิตติโสภโณ) |
เวลาทำการ | 06.00-20.00 น. |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมหนองหาร ถนนเจริญเมือง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จะมีงานนมัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี่
ลําดับเจ้าอาวาส
[แก้]ลำดับ | นาม-ฉายา | ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
1. | พระครูหลักคำ | ||
2. | พระครูชิน | ||
3. | พระครูเหม | ||
4. | พระครูเสือ | ||
5. | พระครูสอน | ||
6. | พระครูพรหมมา | ||
7. | พระครูแพง | ||
8. | พระครูหลักคำ (พน) | 2430 - 2453 | |
9. | พระครูสกลสมณกิจสังฆปาโมกข์ (บุตรดี ปัญญาวุฑโฑ) | 2453 - 2466 | |
10. | พระเทพวิมลเมธี (วันดี สิริวัณโณ) | 2476 - 2529 | |
11. | พระเทพวิสุทธาจารย์ (กง โฆสโก) | 2542 - 2552 | |
12. | พระเทพสิทธิโสภณ (สุรสีห์ กิตติโสภโณ) | 2552 - ปัจจุบัน |
ตำนาน
[แก้]พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน เสด็จตามลำแม่น้ำโขง มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า เป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมนะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ตามพงศาวดารลาว ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาน
สิ่งก่อสร้างภายในวัด
[แก้]พระธาตุ
[แก้]พระธาตุเชิงชุม ตั้งหันหน้าไปทางหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ยอดฉัตรทองคำเหนือองค์พระธาตุเชิงชุมทำด้วยทองคำบริสุทธิ์มีน้ำหนัก 247 บาท ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอม ด้านทิศ เหนือ ใต้ และตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงด้านทิศตะวันออกแต่แรกเริ่มพระธาตุเชิงชุมคงเป็นปราสาทหินทรายศิลปะสมัยขอม ภายในกรอบประตูทางเข้าอุโมงค์ด้านขวามือ มีจารึกพระธาตุเชิงชุมอักษรขอมโบราณ ราวพุทธศตวรรษที่ 16 องค์พระธาตุในปัจจุบันเป็นศิลปะล้านช้าง เนื่องจากช่วงที่อิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างแผ่เข้ามาบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และได้มีการบูรณะองค์พระธาตุขึ้นมาใหม่
วิหาร
[แก้]ภายในพระวิหารประดิษฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร
อุโบสถ
[แก้]พ.ศ. 2370 สร้างพระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้
ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น
บ่อน้ำศักดิ์สิทธ์
[แก้]เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ แล้วไหลมาผุดที่นี่ เรียกว่า "ภูน้ำซอด" หรือ "ภูน้ำลอด" แล้วไหลผ่านไปที่สระพังทอง ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด เมื่อน้ำน้อยลงเรื่อย ๆ จึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป ในอดีตจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำที่นี่ไปประกอบพิธีเมื่อมีพิธีกรรมอันสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย
หอกลอง
[แก้]หอกลองหรือหอระฆัง เป็นหอกลองสูงทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้มาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร ร่วมใจกันสร้างขึ้นถวายองค์พระธาตุเชิงชุมเพื่อเป็นพุทธบูชาเพื่อใช้บอกเวลายามต่าง ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร". snk.onab.go.th.
- http://www.radc.go.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=159257&Ntype= เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน