ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ได้รับสมัญญานามมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มหาราช (อังกฤษ: The Great) เป็นชื่อต่อท้ายพระนามของกษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ได้ทำภารกิจอย่างมากมายช่วยเหลือผู้คนทั้งด้านการรบ การแก้ไขปัญหาภายในประเทศ การรักษาเอกราชของประเทศ คงไว้ด้วยความยุติธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดี ในกลุ่มคนที่พูดภาษานั้น ๆ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น "มหาราช" เขียนไว้ที่ท้ายพระนาม

ประวัติ

[แก้]

สมัญญานาม "มหาราช" สันนิษฐานว่ามาจาก "มหาราชา" ของเปอร์เซีย โดยสมัญญานาม "มหาราช" นี้ถูกใช้ครั้งแรกโดยกษัตริย์ผู้พิชิต พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย[1]

หลังจากนั้น สมัญญานามดังกล่าวถูกนำไปใช้โดย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอน เมื่อกองทัพของพระองค์ยึดครองจักรวรรดิเปอร์เซีย และฉายานี้ก็ได้กลายเป็นตำแหน่งคู่กายของพระองค์ การอ้างอิงถึงในครั้งแรกในละครของพลอตัสได้สันนิษฐานว่าทุกคนรู้จัก "พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช"[2] อย่างไรก็ตาม ไม่เคยปรากฏหลักฐานก่อนหน้านั้นว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอนเคยได้รับฉายาว่า "มหาราช"

ต่อมา กษัตริย์ของจักรวรรดิซิลูซิดในช่วงต้น ซึ่งเป็นจักรวรรดิที่เกิดขึ้นภายหลังจักรวรรดิเปอร์เซีย ได้ใช้สมัญญานาม "มหาราช" ในพงศาวดารท้องถิ่น แต่กษัตริย์ที่มักจะเป็นที่รู้จักกัน คือ พระเจ้าแอนไทโอคัสมหาราช

ผู้นำและผู้บัญชาการทหารในเวลาต่อมาได้เริ่มใช้สมัญญานาม "มหาราช" ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น แม่ทัพปอมปีย์มหาราชชาวโรมัน ซึ่งใช้เป็นชื่อส่วนตัว ส่วนอีกหลายคนหรือพระองค์ได้รับสมัญญานามนี้ในภายหลัง เมื่อสมัญญานามนั้นได้นำไปใช้ในปัจจุบัน และยังมีผู้ที่ได้รับฉายาที่ให้เกียรตินี้ ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่มีอำนาจทางการเมือง อย่างเช่น นักปราชญ์ อัลเบอร์ตัส แม็กนัส เป็นต้น

รายพระนาม

[แก้]

ต่างประเทศ

[แก้]

ประเทศไทย

[แก้]

ประเทศพม่า

[แก้]

ประเทศลาว

[แก้]

ประเทศกัมพูชา

[แก้]

ประเทศเวียดนาม

[แก้]

อดีตอาณาจักรเมืองมาวหลวง

[แก้]

อดีตอาณาจักรโยนกเชียงแสน

[แก้]

อดีตอาณาจักรล้านนา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. In a clay cylinder (online เก็บถาวร 2007-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน). Note that the expression was used in a propagandistic context: the conqueror wants to show he is a normal Babylonian ruler. The first Persian ruler to use the title in an Iranian context was Darius I of Persia (Darius the Great), in the Behistun Inscription (online เก็บถาวร 2007-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  2. Plautus, Mostellaria 775.
  3. http://www.iranchamber.com/history/reza_shah/reza_shah.php
  4. Iranian parliament named him Rezā Shāh Kabir (Reza Shah the Great) in 1948, after his death. However, this became almost obsolete after the 1979 revolution.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม ๒. (เฉพาะรัชกาลก่อน)
  6. พระราชสมัญญานาม “มหาราช” เก็บถาวร 2009-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พระบรมเดชานุภาพแห่งรัชกาลที่ 9.