ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค
พระราชอิสริยยศ
ปกครอง
สาขา
ประมุขพระองค์แรกเอลีมาร์ที่ 1 เคานต์แห่งอ็อลเดินบวร์ค
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันฟรีดริช เฟร์ดินันด์ เจ้าชายแห่งชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์[1][2]
ประมุขพระองค์สุดท้าย
เดนมาร์ก:
มาร์เกรเธอที่ 2 (1972–2024) (สืบตระกูลฝั่งพระราชบิดา)
รัสเซีย:
นิโคลัสที่ 2 (1894–1917)
สวีเดน:
คาร์ลที่ 13 (1809–1818)
กรีซ:
กอนสตันดีโนสที่ 2 (1964–1973)
อ็อลเดินบวร์ค:
ฟรีดริช เอากุสท์ที่ 2 (1900–1918)
ชเลสวิช ฮ็อลชไตน์ และซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค:
คริสเตียนที่ 9 (1863–1864)
สถาปนา1101; 923 ปีที่แล้ว (1101)
ล่มสลาย
รัสเซีย:
การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์, 1917
กรีซ:
การลงประชามติสาธารณรัฐกรีก ค.ศ. 1974, 1974
อ็อลเดินบวร์ค:
การปฏิวัติเยอรมัน, 1918
ซัคเซิน-เลาเอินบวร์ค:
สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง, 1864
ชเลสวิชและฮ็อลชไตน์:
สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง, 1864

ราชวงศ์อ็อลเดินบวร์ค (อังกฤษ: House of Oldenburg) เป็นสายราชตระกูลเยอรมัน[3]ที่ปกครองหรือเคยปกครองเหนือเดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ กรีซ นอร์เวย์ รัสเซีย สวีเดน สหราชอาณาจักร ชเลสวิช ฮ็อลชไตน์ และอ็อลเดินบวร์ค พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของนอร์เวย์และสหราชอาณาจักรสืบเชื้อสายทางพระราชบิดาของสายกลึคส์บวร์คในราชวงศ์นี้

ราชตระกูลรุ่งเรืองขึ้นมามีความสำคัญเมื่อเคานต์คริสเตียนที่ 1 แห่งอ็อลเดินบวร์คได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1448 และนอร์เวย์ในปี ค.ศ. 1450 และราชวงศ์อ็อลเดินบวร์คก็ได้ปกครองเดนมาร์กตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ประวัติ

[แก้]

การเสกสมรสของเคานต์แห่งอ็อลเดินบวร์ค ในยุคกลางเป็นการปูทางไปสู่การเป็นทายาทของพระมหากษัตริย์ในราชอาณาจักรต่างๆ ในสแกนดิเนเวีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 โดยการเสกสมรสระหว่างผู้สืบเชื้อสายของพระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 1 แห่งสวีเดน และพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก ก็ทำให้ได้ครองสวีเดนและเดนมาร์กมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1350

ในขณะนั้นคู่แข่งคือผู้สืบเชื้อสายจากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ทายาทอ็อลเดินบวร์ค สมรสกับเฮดวิกแห่งฮ็อลชไตน์ผู้สืบเชื้อสายมาจากยูเฟเมียแห่งสวีเดนและนอร์เวย์ และจากพระเจ้าอีริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก พระโอรสคริสเตียนจึงกลายเป็นพระมหากษัตริย์ของทั้งสามอาณาจักรที่เรียกว่าสหราชอาณาจักรคาลมาร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Genealogisches Handbuch des Adels, Fürstliche Häuser, Band XVII, "Oldenburg". C.A. Starke Verlag, 2004, pp. 44–50 (in German). ISBN 9783798008335.
  2. Burke's Royal Families of the World, p. 60. ISBN 0-85011-023-8.
  3. Wilson, Peter Hamish (2011). The Thirty Years War: Europe's Tragedy (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. ISBN 978-0-674-06231-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]