รางวัลตำนานแกรมมี
รางวัลตำนานแกรมมี | |
---|---|
รางวัลสำหรับ | ผลงานและอิทธิพลอย่างต่อเนื่องในอุตสาหกรรมดนตรี |
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
จัดโดย | สถาบันการทึกเสียง |
รางวัลแรก | 1990 |
เว็บไซต์ | grammy.com |
รางวัลตำนานแกรมมี (อังกฤษ: Grammy Legend Award)[1][2] เป็นรางวัลพิเศษที่มอบให้แก่ศิลปินที่ได้รับรางวัลแกรมมี ซึ่งเป็นพิธีมอบรางวัลทางดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1958[3][4] พิธีมอบเกียรติคุณในหลายประเภทจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถาบันการบันทึกเสียงของสหรัฐอเมริกา สำหรับความสำเร็จอันโดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรี[5][6]
รางวัลตำนานแกรมมีมอบครั้งแรกออกในปี ค.ศ. 1990 ให้แก่ สโมกีย์ โรบินสัน, วิลลี เนลสัน, แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ และไลซา มินเนลลิ เป็นการเปิดตัวเพื่อเป็นเกียรติของ "การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและอิทธิพลในด้านการบันทึกเพลง"[7] ในปีถัดไปมีนักดนตรีอีกสี่คน (อารีทา แฟรงคลิน, บิลลี โจเอล, จอห์นนี แคช และควินซี โจนส์) ได้รับรางวัลตำนานแกรมมี รางวัลนี้มอบให้กับบาร์บรา สไตรแซนด์ ในปี ค.ศ. 1992 และไมเคิล แจ็กสัน ในปี ค.ศ. 1993
หลังจากปี ค.ศ. 1994 เมื่อนักดนตรีชาวอเมริกันเคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ และแฟรงก์ ซินาตรา ต่างก็ได้รับรางวัลตำนานแกรมมี เป็นการให้เกียรติแก่ศิลปินที่บันทึกเสียงเป็นระยะ ๆ ลูชาโน ปาวารอตตี นักร้องโอเปราเทเนอร์ชาวอิตาลีเป็นผู้รับรางวัลในปี ค.ศ. 1998 ในปีต่อมา เอลตัน จอห์นนักร้องนักแต่งเพลงชาวอังกฤษได้รับการยกย่อง ส่วนบีจีส์กลายเป็นผู้รับรางวัลกลุ่มแรกในศตวรรษที่ 21 เมื่อสองพี่น้องได้รับการยอมรับจากแกรมมีในปี ค.ศ. 2003 โดยรวมแล้ว นักดนตรีเดี่ยว 14 คน และวงดนตรีหนึ่งวงได้รับรางวัลตำนานแกรมมี
ผู้รับ
[แก้]ปี | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|
1990 | แอนดรูว์ ลอยด์ เวบเบอร์ | [8] | |
ไลซา มินเนลลิ | [1] | ||
สโมกีย์ โรบินสัน | [9] | ||
วิลลี เนลสัน | [7] | ||
1991 | อารีทา แฟรงคลิน | [10] | |
บิลลี โจเอล | [11] | ||
จอห์นนี แคช | [12] | ||
ควินซี โจนส์ | [7] | ||
1992 | บาร์บรา สไตรแซนด์ | [13] | |
1993 | ไมเคิล แจ็กสัน | [14] | |
1994 | เคอร์ทิส เมย์ฟิลด์ | [15] | |
แฟรงก์ ซินาตรา | [16] | ||
1998 | ลูชาโน ปาวารอตตี | [17] | |
1999 | เอลตัน จอห์น | [7] | |
2003 | บีจีส์ | [18] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Kotb, Hoda (March 12, 2004). "Liza: Life in the limelight". NBC News. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "Billy Joel biography". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2009. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.
- ↑ "Seen and heard at the 50th Grammy Awards". USA Today. Gannett. February 11, 2008. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ Henken, John (February 18, 2001). "The 2001 Grammys". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ Hilburn, Richard (March 13, 1970). "Top Grammy Winners Announced". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ "The Prem Rawat Foundation Presents Its Initiatives at the Grammy Awards". America's Intelligence Wire. February 9, 2007. สืบค้นเมื่อ December 21, 2009.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Grammy Legend Award". Grammy Awards. สืบค้นเมื่อ March 19, 2023.
- ↑ 2001 People Entertainment Almanac. People, Cader Books. 2000. p. 545. ISBN 978-1929049073.
- ↑ Kalte, Pamela M. (2005). Contemporary Black Biography. Gale Group. p. 117. ISBN 0-7876-7921-6.
- ↑ Barrera, Sandra (September 6, 2005). "Franklin not ready to rest on another laurel". Milwaukee Journal Sentinel. Journal Communications. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Gunderson, Edna (March 16, 1999). "Billy Joel enters his classical period Joining Hall of Fame, he leaves rock behind". USA Today. Gannett Company. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ "Critic's choice". Fort Worth Star-Telegram. McClatchy. February 15, 1991. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ "The 1992 Grammys an 'unforgettable' night for Natalie Cole, Bonnie Raitt and R.E.M". The Philadelphia Inquirer. Philadelphia Media Holdings. February 26, 1992. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ McShane, Larry (February 25, 1993). "Grammy moments – memorable and forgettable". Deseret News. สืบค้นเมื่อ December 31, 2009 – โดยทาง Google News Archive.
- ↑ "Curtis Mayfield, 57, entertainer, songwriter". Telegram & Gazette. The New York Times Company. December 27, 1999. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ Harrington, Richard (March 2, 1994). "The Grammy Whammy". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-23. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ Shmith, Michael (September 7, 2007). "Prince among tenors, undisputed king of high C's". The Age. Fairfax Media. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
- ↑ "The 45th Annual Annual Grammy Awards". The Philadelphia Inquirer. Philadelphia Media Holdings. February 24, 2003. สืบค้นเมื่อ December 20, 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Official website of the Grammy Awards