ข้ามไปเนื้อหา

รัฐซัคเซิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสรีรัฐซัคเซิน

Freistaat Sachsen (เยอรมัน)
ธงของเสรีรัฐซัคเซิน
ธง
ตราแห่งรัฐ
ตราอาร์ม
พิกัด: 51°1′37″N 13°21′32″E / 51.02694°N 13.35889°E / 51.02694; 13.35889
ประเทศเยอรมนี
เมืองหลวงเดรสเดิน
การปกครอง
 • มุขมนตรีStanislaw Tillich (CDU)
 • พรรคการเมืองCDU / FDP
 • จำนวนผู้แทนรัฐ4 (จาก 69)
พื้นที่
 • ทั้งหมด18,415.66 ตร.กม. (7,110.33 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020-12-31)[1]
 • ทั้งหมด4,056,941 คน
 • ความหนาแน่น220 คน/ตร.กม. (570 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัส ISO 3166DE-SN
จีดีพี (ตัวเงิน)€ 94.99 พันล้าน (2010) [ต้องการอ้างอิง]
NUTS RegionDED
เว็บไซต์sachsen.de

รัฐซัคเซิน (เยอรมัน: Sachsen) หรือในภาษาอังกฤษเรียก แซกโซนี (อังกฤษ: Saxony) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศ ได้ชื่อว่าเป็นเสรีรัฐที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่แห่งหนึ่ง มีเมืองเดรสเดินเป็นเมืองหลวง[ต้องการอ้างอิง]

อาณาเขต

[แก้]

การปกครอง

[แก้]
แผนที่แบ่งการปกครองของรัฐซัคเซิน

ในรัฐซัคเซิน แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 เขตการปกครอง และ 3 เขตปกครองพิเศษดังนี้[2]

  • เขตการปกครองเดรสเดิน ประกอบด้วย
    • กลุ่มเมืองเกอร์ลิทซ์ Görlitz (GR)
    • กลุ่มเมืองเบาท์เซิน Bautzen (BZ)
    • กลุ่มเมืองไมเซิน Meißen (MEI)
    • กลุ่มเมืองเซ็คซิชเชอชไวทซ์-โอสเตอทซ์เกอบีร์เกอ Sächsische Schweiz-Osterzgebirge (PIR)
  • เขตการปกครองไลพ์ซิช
  • เขตการปกครองเค็มนิทซ์
    • กลุ่มเมืองแอทซ์เกอบีร์กไครส์ Erzgebirgskreis (ERZ)
    • กลุ่มเมืองมิทเทิลซัคเซิน Mittelsachsen (FG)
    • กลุ่มเมืองโวกท์ลันท์ไครส์ Vogtlandkreis (V)
    • กลุ่มเมืองซวิคเคา Zwickau (Z)
  • เขตปกครองพิเศษ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

การก่อตั้ง

[แก้]
เฮนรี ใจสิงห์ และมาทิลเดแห่งอังกฤษ ในพิธีรับตำแหน่งดยุคและดัชเชสแห่งซัคเซิน

ในเขตแดนของรัฐซัคเซิน เป็นพื้นที่ที่มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีการขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในเมืองเดรสเดินและบางส่วนในเมืองไลพ์ซิช เชื่อกันว่าในสมัยจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าแซกซอนได้อพยพเข้ามายึดครองบริเวณนี้และตั้งชื่อพื้นที่บริเวณนี้ตามชื่อเรียกของเผ่าตนเอง ในยุคนั้นเชื่อว่าชนเผ่าแซกซอนได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ที่ได้แผ่ขยายอิทธิพลเข้าทั่วเยอรมนี

หลังสิ้นยุคโรมัน พื้นที่บริเวณนี้ถูกรุกรานและปกครองโดยชาวสลาฟ ในระยแรก ดินแดนในซัคเซินประกอบไปด้วยดินแดนอันเป็นรัฐซัคเซิน รัฐนีเดอร์ซัคเซิน รัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลิน รัฐชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์ และรัฐซัคเซิน-อัลฮัลท์ในปัจจุบัน และดินแดนแห่งนี้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประมาณ 900 ปีหลังคริสตกาล ในศตวรรษที่ 10 ดยุคแห่งซัคเซินได้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ในช่วงนี้เององค์จักรพรรดิจึงมอบตำแหน่งดยุคแห่งซัคเซินให้แก่ตระกูลบิลลุงส์ (Billungs) ในช่วงต่อ ๆ มาจึงพบหลักฐานการปกครองรัฐนี้โดยตระกูลบิลลุงส์ และเป็นเหตุให้โลทาร์แห่งซัพพลินแบร์กได้รับตำแหน่งจักรพรรดิในช่วงเวลาต่อมา

การแบ่งดินแดน

[แก้]
ระหว่างปี 1697 และ 1763 ที่อาณาจักรเลือกตั้งแห่งแซกโซนียังถูกเลือกตั้งคิงส์โปแลนด์ส่วนตัวในสหภาพแรงงาน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1137 รัฐซัคเซินตกเป็นของตระกูลเวลฟ์ ซึ่งเป็นเชื้อสายของตระกูลบิลลุงส์ โดยรัฐซัคเซินรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของเฮนรี ใจสิงห์ แต่เนื่องด้วยเฮนรีปฏิเสธการเข้าร่วมกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในการทำสงครามกับอิตาลี หลังจากได้รับชัยชนะจากสงคราม จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จึงได้กรีธาทัพเข้าตีรัฐซัคเซิน เป็นเหตุให้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1180 ดินแดนของอาณาจักรจึงถูกแบ่งออกเป็นหลายส่วน ดังนี้

ในปี ค.ศ. 1260 ดินแดนในรัฐซัคเซินถูกแบ่งอีกครั้งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ซัคเซิน-วิทเทนบูร์กและซัคเซิน-เลาเอนบูร์ก นับแต่นั้นเป็นต้นมา ดินแดนซัคเซิน-เลาเอนบูร์กก็ไม่ถูกนับรวมอยู่ในประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้อีกเลย ส่วนซัคเซิน-วิทเทนบูร์กได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และผู้ครองรัฐนี้ได้รับตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร (อีเล็กเตอร์) ในศตวรรษที่ 14 อีกด้วย

กระทั่งในปี ค.ศ. 1423 ตระกูลเวททินแห่งไมเซน ได้ปกครองซัคเซิน-วิทเทนบูร์ก รัฐซัคเซินจึงมีความเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง แต่ขยายตัวมาทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้แทนพื้นที่เดิม และดินแดนแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า "อัปเปอร์แซกโซนี" และหลายเป็น "แซกโซนี" (ซัคเซิน) ในที่สุด ส่วนดินแดนราบลุ่มระหว่างแม่น้ำเวเซอร์กับแม่น้ำเอลเบอจึงถูกเรียกว่า "โลเวอร์แซกโซนี" (นีเดอร์ซัคเซิน) แทน

ต่อมา ในปี ค.ศ. 1485 จึงได้มีการแยกพื้นที่รัฐทือริงเงินเพื่อแบ่งให้แก่ทายาทตระกูลวิทเทนปกครอง แต่กระนั้น รัฐซัคเซินส่วนที่เหลือก็ยังคงเรืองอำนาจกระทั่งได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 18 นอกจากนั้นในด้านการเมือง รัฐซัคเซินยังถูกยื้อแย่งกันระหว่างปรัสเซียกับออสเตรีย

ศตวรรษที่ 19 - 20

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1806 รัฐซัคเซิน จึงได้แยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ โดยความช่วยเหลือของนโปเลียน อีเล็กเตอร์เฟรเดอริก เอากุสตุส ที่ 3 จึงได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น กษัตริย์เฟรเดอริก เอากุสตุสที่ 1 แต่การเลือกอยู่ข้างนโปเลียนนี่เองที่ทำให้ เฟรเดอริกต้องโทษจำคุกในปี ค.ศ. 1813 ภายหลังจากกองทัพนโปเลียนแตกพ่ายแก่กองทัพพันธมิตรกษัตริย์ ในสงครามแห่งชนชาติที่เมืองไลพ์ซิช แต่ภายหลังได้รับการปล่อยตัวและคืนตำแหน่งให้ปกครองดินแดนแห่งนี้ดังเดิม ตามมติของการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา แต่ถูกริบดินแดนในส่วนที่เป็นรัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ให้แก่ปรัสเซีย นับแต่นั้นมารัฐซัคเซินจึงเหลือดินแดนอยู่ดังที่เป็นในปัจจุบัน

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1849 เป็นต้นมา รัฐซัคเซินก็เป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหพันธรัฐเยอรมนีมาโดยตลอด กระทั่งในปี ค.ศ. 1945 เยอรมนีภายใต้การนำทัพนาซีของฮิตเลอร์พ่ายสงครามให้แก่กองทัพสัมพันธมิตร จึงถูกแยกเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีตะวันออก ภายใต้การปกครองระบบคอมมิวนิสต์ รัฐซัคเซินจึงถูกแยกการปกครองออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เดรสเดิน ไลพ์ซิช และคาร์ลมาร์ก (เค็มนิทซ์ในปัจจุบัน) กระทั่งในปี ค.ศ. 1990 จึงได้กลับมารวมภายใต้ประเทศสหพันรัฐเยอรมนีอีกครั้ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bevölkerung des Freistaates Sachsen nach Gemeinden am 31. Dezember 2020". Statistisches Landesamt des Freistaates Sachsen (ภาษาเยอรมัน). June 2021.
  2. http://www.sachsen.de/