ข้ามไปเนื้อหา

ยูโรเกม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมากที่ใช้ในเกมเยอรมัน Carcassonne เรียกว่า มีเปิล

ยูโรเกม (อังกฤษ: Eurogame) บางครั้งเรียกว่า บอร์ดเกมสไตล์เยอรมัน หรือเกมสไตล์ยูโร เป็นแบบหนึ่งของเกมเล่นบนโต๊ะ (tabletop games) โดยมากมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นโดยอ้อมและองค์ประกอบทางกายภาพที่เป็นนามธรรม เกมยูโรสไตล์เน้นยุทธศาสตร์ในขณะที่ลดโชคและความขัดแย้ง มีแนวโน้มที่จะมีรูปแบบทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทหารและมักจะเก็บผู้เล่นทั้งหมดไว้ในเกมจนกว่าจะสิ้นสุดลง

ยูโรเกม บางครั้งถูกนำไปเปรียบเทียบกับเกมกระดานสไตล์อเมริกันซึ่งมักเกี่ยวข้องกับโชคดี ความขัดแย้ง และดราม่า[1][2]

ยูโรเกมเป็นเกมกลยุทธ์ทางทฤษฎีที่มีความเป็นทฤษฎีน้อยกว่าหมากรุก แต่มากกว่าเกมสงคราม (wargames) ในขณะเดียวกันก็ต้องใช้ความคิดมากกว่าปาร์ตี้เกม เช่น Pictionary หรือ Trivial Pursuit แต่น้อยกว่าเกมกลยุทธ์ อย่าง หมากรุก และ หมากล้อม

ความหมายและรูปแบบต่างๆ

[แก้]

ยูโรเกมเป็นคำกำกับที่ใช้กันโดยทั่วไป แต่ยังไม่แน่นอน เนื่องจากส่วนใหญ่ของเกมเหล่านี้มีชื่อของนักออกแบบเด่นชัดในกล่อง บางครั้งเป็นที่รู้จักกันในนามของดีไซเนอร์เกม(designer game)[3] ชื่ออื่น ๆ ได้แก่ บอร์ดเกมสไตล์เยอรมัน เกมกลยุทธ์สำหรับครอบครัวและฮอบบี้เกม เกมที่มีน้ำหนักเบาและสั้นกว่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อเกตเวย์เกม ขณะที่อีกเกมที่หนักกว่านั้นจะเรียกว่าเกมของนักเล่นเกม (gamers' game)[4]

ประวัติ

[แก้]

ยูโรเกมใช้สื่อถึงเกมกระดานสมัยใหม่ เช่น เกม Acquire ที่ปรากฏตัวในยุค 60 ซีรีย์ 3M ซึ่งกลายเป็นส่วนที่ได้รับความนิยมในเยอรมนีและกลายเป็นแม่แบบสำหรับเกมรูปแบบใหม่ซึ่งความขัดแย้งโดยตรงหรือสงครามไม่ได้มีบทบาท เนื่องจากส่วนหนึ่งเกิดความเกลียดชังความขัดแย้งในเยอรมนีหลังสงคราม[5][6] เกมถูกพัฒนามากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 ในประเทศเยอรมนีและในปี 2009 เยอรมนีได้ซื้อเกมกระดานต่อหัวมากกว่าประเทศอื่น ๆ[7] ปรากฏการณ์นี้แพร่กระจายไปยังประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่นฝรั่งเศสเนเธอร์แลนด์และสวีเดน ในขณะที่มีการแพร่หลายและเผยแพร่เกมจำนวนมากในตลาดอื่น ๆ เช่นสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรแต่กลับถูกเล่นโดยคนกลุ่มน้อยเท่านั้น[7]

ผู้บุกเบิกแห่งคาทาน (The Settlers of Catan) เริ่มวางขายในปี 1995 เป็นการปูทางยุโรเกมนอกยุโรป[8] แม้ว่าจะไม่ใช่เกม "เยอรมัน" หรือเป็นเกมแรกทีมีคนเล่นนอกประเทศเยอรมนี แต่ก็เป็นที่นิยมมากกว่าเกมรุ่นก่อน ๆ ยอดขายล้านเกมในเยอรมนีได้อย่างรวดเร็วและนำเงินและความสนใจไปที่ประเภทนี้ ยูโรเกมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Carcassonne, Puerto Rico, Ticket to Ride, และ Alhambra

ลักษณะ

[แก้]

ยูโรเกมมักเล่นได้หลายคนและเรียนรู้ได้ง่ายและเล่นในระยะเวลาอันสั้น สามารถเล่นได้หลายครั้งในหนึ่งช่วง มีการพูดคุยกันระหว่างเล่น ต่างจากเกมกลยุทธ์เช่น หมากรุก และหมากล้อมหรือมีข้อจำกัดในบทสนทนาหรือการกระทำดังเช่นเกมที่มีการแข่งขันสูง อย่างบริดจ์ (เกมไพ่)

ธีม

[แก้]

ยูโรมักมีธีม (องค์ประกอบของบทบาทการเล่นหรือเรื่องราวเบื้องหลัง) เช่นเดียวกับ Monopoly หรือ Clue แทนที่จะเป็นโป๊กเกอร์หรือ Tic Tac Toe กลศาสตร์เกมไม่ได้ถูกจำกัดโดยธีม อย่างไรก็ตาม ต่างเกมจำลอง(simulation game) รูปแบบของ Eurogame มักจะเป็นเพียงแค่การช่วยจำเท่านั้น ค่อนข้างเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเกมที่ได้รับการออกแบบโดยมีธีมเดียวและตีพิมพ์อีกฉบับหนึ่งหรือสำหรับเกมเดียวกันนี้จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปสำหรับการตีพิมพ์ในภายหลัง หรือสำหรับสองเกมในรูปแบบต่างๆที่แตกต่างกันจะมีกลศาสตร์ที่คล้ายกัน โดยมากจะไม่ใช่ธีมการต่อสู้และความขัดแย้งของผู้เล่นมักเป็นทางอ้อม (เช่น การแข่งขันเพื่อหาทรัพยากรที่หายาก)

ตัวอย่างเช่น

  • Carcassonne – สร้างภูมิทัศน์ยุคกลางที่เต็มไปด้วยเมืองที่เต็มไปด้วยกำแพง อาราม ถนนและทุ่งนา
  • Puerto Rico – พัฒนาสวนบนเกาะเปอร์โตริโกตั้งอยู่ในศตวรรษที่ 18
  • Imperial – ในฐานะนักลงทุนต่างชาติมีอิทธิพลต่อการเมืองของจักรวรรดิยุโรปสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
  • Bruxelles 1893 – ใช้บทบาทของสถาปนิกอาร์ตนูโวในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และพยายามที่จะกลายเป็นสถาปนิกที่มีชื่อเสียงที่สุดในเบลเยี่ยม[9]

เกมสำหรับทุกคน

[แก้]
กลุ่มคนเล่นกำลังเล่นผู้บุกเบิกแห่งคาทาน

ในขณะที่หลาย ๆ เกม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีความหนักหน่วงทางกลยุทธ์) มีการเล่นอย่างกระตือรือร้นโดยนักเล่นเกมเป็นงานอดิเรก แต่ยูโรเกม ส่วนใหญ่เหมาะกับการเล่นทางสังคม ลักษณะต่างๆของเกมมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนด้านดังกล่าวได้ดีและเป็นที่นิยมในประเภทนี้ ตัวอย่างเช่น โดยทั่วไป ยูโรเกม ไม่กำหนดจำนวนผู้เล่นหมือนเช่นหมากรุกหรือบริดจ์ แม้ว่าจะมีเกมสไตล์เยอรมันขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาสำหรับผู้เล่น 2 คนเกมส่วนใหญ่สามารถรองรับผู้เล่นได้ 2-6 คน (มีระดับความเหมาะสมแตกต่างกันไป) เกมเล่นหกคนค่อนข้างหายากหรือต้องการการขยายตัวเช่นเดียวกับ Settlers of Catan หรือ Carcassonne โดยปกติผู้เล่นแต่ละคนเล่นเพื่อตัวเขาเองหรือมากกว่าในการเป็นคู่หรือทีม จำนวนผู้เล่นมักมีจำนวนไม่มาก และน้อยกว่า 10 เพื่อให้ทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กัน

ระยะเวลาการเล่นอาจมีได้ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงถึงหลายชั่วโมง โดยมากจะอยู่ระหว่าง 1- 2 ชั่วโมง ต่างการเกมแบบ Risk หรือ Monopoly ที่สามาระเพิ่มเวลาออกไปได้เรื่อยๆ ยูโรเกมมักมีวิธีจบเกมภายในเวลาที่กำหนด เช่น คะแนนที่ผู้เลยต้องมีเพื่อชนะ จำนวนตาการเล่น หรือ ทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น Ra และ Carcassonne จะมีจำนวนแผ่นเล่นที่จำกัด

การสุ่มต่ำ

[แก้]

ยูโรเกมถูกออกแบบมาให้มีการสุ่มต่ำและไม่ต้องพึ่งพาโชคมากนัก[10] การสุ่มของเกมจะอยู่ที่การแบ่งทรัพยากรณ์ในตอนแรกหรือการแบ่งไผ่เป้าหมาย

ไม่มีการคัดคนออก

[แก้]

อีกหนึ่งลักษณะเด่นของเกมนี้คือการขาดการกำจัดผู้เล่น การขจัดผู้เล่นก่อนสิ้นสุดเกมจะถูกมองว่าขัดต่อลักษณะทางสังคมของเกมดังกล่าว เกมส่วนใหญ่เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ผู้เล่นทุกคนในเกมให้นานที่สุด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะได้รับชัยชนะหรือพ่ายแพ้จนกว่าจะถึงช่วงปลายเกม

ระบบการให้คะแนนของยูโรเกมมักได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การให้คะแนนที่ซ่อนอยู่หรือโบนัสสิ้นสุดของเกมสามารถทำให้ผู้เล่นที่คะแนนตามอยู่ชนะได้ ผลที่ตามมาก็คือยูโรเกม มีแนวโน้มที่จะมีเส้นทางหลายแห่งที่จะได้รับชัยชนะ (ขึ้นอยู่กับการเล็งไปที่โบนัสของเกมที่แตกต่างกัน) และมักไม่ชัดเจนสำหรับผู้เล่นรายอื่นว่าว่าวางแผลจะเอาชนะอย่างไร

กลไกการถ่วงดุลมักถูกรวมเข้าไปในกฎ ทำให้ข้อดีเล็กน้อยที่จะทำให้ผู้เล่นที่คะแนนตามและเป็นอุปสรรคต่อผู้เล่นที่คะแนนนำ ซึ่งจะช่วยให้เกมมีความแข่งขันได้มากจบ

กลไกลเกม

[แก้]
Samurai เกมวางไทล์ เก็บเป็นเซ็ท และควบคุมพื้นที่

มีการใช้กลไกแบบใหม่ที่หลากหลายและมีการหลีกเลี่ยงกลศาสตร์ที่คุ้นเคยเช่น การทอยลูกเต๋า และการเคลื่อนย้าย การจับหรือการหลอก ถ้าเกมมีกระดาน กระดานมักไม่สม่ำเสมอหรือสมมาตร (เช่น Risk ไม่ใช่ตารางหมากรุก) กระดานจะเป็นแบบสุ่ม (เช่น Settlers of Catan) หรือมีองค์ประกอบแบบสุ่ม (เช่น Tikal) บอร์ดบางส่วนมีความหมายเพียงเล็กน้อยหรือมีรูปแบบที่ชัดเจนแต่เพื่อความสะดวกในการเล่นเท่านั้น เช่นกระดาน cribbage ตัวอย่างของเรื่องนี้ ได้แก่ Puerto Rico และPrinces of Florence องค์ประกอบแบบสุ่มมักมีอยู่ แต่มักไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อเกม ในขณะที่กฎมีน้ำหนักเบาถึงปานกลางพวกเขาอนุญาตให้ใช้ความลึกของการเล่นโดยปกติต้องใช้ความคิดการวางแผนและการเปลี่ยนกลยุทธ์ผ่านเกมเหมือนเกมหมากรุกหรือแบ็คแกมมอน

Stuart Woods ได้บรรยายถึง 6 กลไกที่พบได้บ่อยในยูโรเกม[5]

  • การวางไทล์ - ตำแหน่งเชิงพื้นที่ของส่วนประกอบของเกมบนกระดานเล่น
  • ประมูล - รวมถึงการประมูลแบบเปิดและแบบซ่อนของทั้งทรัพยากรและการกระทำจากผู้เล่นรายอื่นและระบบเกมด้วยตัวเองi
  • เจรจา แลกเปลี่ยน - ไม่ได้เป็นเพียงการซื้อขายทรัพยากรที่มีค่าเท่ากัน แต่ช่วยให้ผู้เล่นสามารถตั้งตลาดได้
  • การเก็บเป็นเซ็ท - การเก็บรวบรวมทรัพยากรในเกมเป็นกลุ่มเฉพาะเพ่อนำไปแลกคะแนนหรือเงิน
  • ควบคุมพื้นที่ - หรือที่เรียกว่าพื้นที่ส่วนใหญ่หรืออิทธิพลนี้เกี่ยวข้องกับการควบคุมองค์ประกอบของเกมหรือพื้นที่บอร์ดผ่านการจัดสรรทรัพยากร
  • การวางคนงานหรือเลือกการกระทำ - ผู้เล่นเลือกการกระทำของเกมที่เฉพาะเจาะจงตามลำดับโดยผู้เล่นไม่ได้รับอนุญาตให้เลือกการกระทำที่เลือกไว้ก่อนหน้านี้

ผู้ออกแบบเกมเปรียบเสมือนผู้แต่ง

[แก้]

แม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับการเล่น ชื่อของผู้ออกแบบเกมมักปรากฎอย่างชัดเจนอยู่บนกล่อง หรือในสมุดกฎ ผู้ออกแบบชท่อดังมีผู้ติดตามมากมายในยูโรเกม ด้วยเหตุนี้ดีไซเนอร์เกมก้เป็นหนึ่งในคำอธิบายของยูโรเกม[3]

อุตสาหกรรม

[แก้]

ผู้ออกแบบ

[แก้]
Reiner Knizia และ Bernd Brunnhofer ที่งานประกาศรางวัล Deutscher Spiele Preis ที่ Spiel 2003 ใน เอสเสน ประเทศเยอรมัน

รายชื่อผู้ออกแบบยูโรเกม

  • Antoine Bauza เป็นนักออกแบบชาวฝรั่งเศสที่ร่ำรวยเป็นที่รู้จักกันดีในผลงาน 7 Wonders
  • Vlaada Chvátil lเป็นผู้ออกแบบบอร์ดเกมและวิดีโอเกมชาวเช็ก ได้แก่เกม Through the Ages: A Story of Civilization Galaxy Trucker และ Space Alert เขาเป็นที่รู้จักดีในฐานะคนออกแบบกฏที่ไม่เหมือนใคร กฎจะถูกอธิบายผ่าน "สถานการณ์การเรียนรู้" หลายอย่างที่ค่อยๆแนะนำผู้เล่นตามกฎขณะที่พวกเขากำลังดำเนินการผ่านสถานการณ์
  • Leo Colovini เป็นที่รู้จักจากเกม Cartagena และ Carcassonne: The Discovery.
  • Stefan Feld เป็นที่รู้จักจากเกมที่ใช้ลูกเต๋า[11] เป้นผู้ออกแบบเกมอย่าง Castles of Burgundy และ Trajan aยังได้เสนอเข้าชิงรางวัล Spiel des Jahres.
  • Friedemann Friese เป็นนักออกแบบชาวเยอรมันที่รู้จักกันดีใน Power Grid รวมถึงเกมอื่น ๆ อีกมากมาย
  • Reiner Knizia ออกแบบมากกว่า 200 เกม กลไกลหลักได้แก้ การประมูลใน Ra และ Modern Art การวางไทล์ ใน Tigris and Euphrates และ Ingenious การให้คะแนนที่ซับซ้อน จาก Samurai และการ์ดเกมอย่าง Lost Cities Schotten-Totten และ Blue Moon cooperative board game The Lord of the Rings.
  • Wolfgang Kramer มักทำงานร่วมกับผู่ออกแบบคนอื่น เกมที่เป็นที่รู้จักของเขาได้แก่ El Grande, Tikal, Princes of Florence, และ Torres
  • Alan R. Moon ชาวอังกฤษ ชอบออกแบบเกมธีมรถไฟเช่น Ticket to Ride และ Elfenland
  • Alex Randolph ออกแบบกว่า 125
  • Uwe Rosenberg ออกแบบ Agricola เกมที่ได้รับความนิยมอย่างมากบน BoardGameGeek อีกทั้ง Bohnanza, Le Havre, และเกมอื่นๆ
  • Sid Sackson ชาวอเมริกัน[5]
  • Andreas Seyfarthออกแบบเกมชนะรางวัลอย่าง Manhattan, Puerto Rico, และร่วมกับ Karen Seyfarth ออกแบบเกม Thurn and Taxis
  • Klaus Teuber ออกแบบเพียงไม่กี่เกม แต่หลายเกมได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและชนะรางวัล Spiel des Jahres เช่น ผุ้บุกเบิกแห่งคาทาน และ Adel Verpflichtet
  • Klaus-Jürgen Wrede ผู้ออกแบบซี่รี่ส์ Carcassonne board game series จนถึงกันยายน 2014 Carcassonne มีภาคเสริมหลักจำนวน 9 อัน และย่อยอีกมากมาย

ผู้ผลิต

[แก้]

มีบริษัทเยอรมันหลายแห่งที่ผลิตเกมกระดานเช่น Hans im Glück และ Goldsieber บ่อยครั้งที่ผู้ผลิตชาวเยอรมันจะพยายามสร้างเกมแนวเดียวกันเช่นเกมเล่นสองคนของ Kosmos และเกมกล่องใหญ่ของ Alea

สิทธิในการขายเกมเป็นภาษาอังกฤษมักขายให้กับ บริษัทอื่น บางแห่งพยายามเปลี่ยนเกมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น Rio Grande Games ในขณะที่ Mayfair Games เปลี่ยนรูปลักษณ์ของเกมและบางครั้งก็กฎระเบียบด้วยเช่นกัน

รางวัล

[แก้]

รางวัลเกมบอร์ดที่มีชื่อเสียงที่สุดของเยอรมันคือ Spiel des Jahres ("เกมแห่งปี")[5][12] รางวัลนี้เน้นที่เกมครอบครัว เกมสั้น ๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายเช่น Ticket to Ride และ Elfenland มักเป็นที่ต้องการของคณะกรรมการที่ให้รางวัล ในทางตรงกันข้าม Deutscher Spiele Preis ("รางวัลเกมเยอรมัน") มักได้รับรางวัลสำหรับเกมที่มีความซับซ้อนและมีกลยุทธ์เช่น Puerto Rico อย่างไรก็ตามมีบางเกมที่กว้างพอที่จะชนะทั้งสองรางวัลได้แก่ Settlers of Catan (1995), Carcassonne (2001), Dominion (2009)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "German recreation: An affinity for rules?" The Economist, August 28, 2008.
  2. Jonathan Kay (January 21, 2018). "The Invasion of the German Board Games". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ January 30, 2018.
  3. 3.0 3.1 Bob Schwartz. "One Retailer's Perspective". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-17. สืบค้นเมื่อ 2018-03-22.
  4. "Glossary". Board Game Geek. BoardGameGeek. สืบค้นเมื่อ 19 October 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Woods, Stuart (2009). Eurogames: The Design, Culture and Play of Modern European Board Games. McFarland. ISBN 0786467975.
  6. Donovan, Tristan (2017). It's All a Game: The History of Board Games from Monopoly to Settlers of Catan. Thomas Dunne Books. ISBN 1250082722.
  7. 7.0 7.1 Curry, Andrew (23 March 2009). "Monopoly Killer: Perfect German Board Game Redefines Genre". archive.wired.com. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  8. Harford, Tim (17 July 2010). "Why we still love board games". ft.com. FT Magazine. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  9. "Bruxelles 1893 Review – An Art Nouveau & Architecture Board Game". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2018-03-22.
  10. Stevens, DJ (2017-09-13). "Abandoning the screen for cardboard".
  11. Casey, Matt (2 October 2014). "Making better use of dice in games". สืบค้นเมื่อ 26 January 2016.
  12. Tinsman, Brian (2008). The Game Inventor's Guidebook: How to Invent and Sell Board Games, Card Games, Role-Playing Games, & Everything in Between!. Morgan James Publishing. ISBN 1600374476.