ยูโรปา (ดาวบริวาร)
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ภาพดาวบริวารยูโรปาซีกด้านหลังทิศทางโคจร สีตามธรรมชาติ (โดยประมาณ) ถ่ายจากยานกาลิเลโอ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2539 | |||||||
การค้นพบ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ค้นพบโดย: | กาลิเลโอ กาลิเลอี ไซมอน มาริอุส | ||||||
ค้นพบเมื่อ: | 8 มกราคม พ.ศ. 2152 อาจจะเป็นชื่อทวีปยุโรปที่มีชื่อที่คล้ายเคียงกัน | ||||||
ชื่ออื่น ๆ: | Jupiter II | ||||||
ลักษณะของวงโคจร[1] | |||||||
ต้นยุคอ้างอิง 8 มกราคม พ.ศ. 2547 | |||||||
ระยะจุดใกล้ศูนย์กลางวงโคจรที่สุด: | 664 862 กม.[2] | ||||||
ระยะจุดไกลศูนย์กลางวงโคจรที่สุด: | 676 938 กม.[2] | ||||||
รัศมีวงโคจรเฉลี่ย: | 670 900 กม.[3] | ||||||
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.009[3] | ||||||
คาบการโคจร: | 3.551 181 วัน (บนโลก) [3] | ||||||
อัตราเร็วเฉลี่ย ในวงโคจร: | 13.740 กม./ว.[3] | ||||||
ความเอียง: | 0.470° (กับแนวเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี) 1.791° (กับระนาบสุริยวิถี) [3] | ||||||
ดาวบริวารของ: | ดาวพฤหัสบดี | ||||||
ลักษณะทางกายภาพ | |||||||
รัศมีเฉลี่ย: | 1560.8±0.5 กม. (0.245 ของรัศมีโลก) [3] | ||||||
พื้นที่ผิว: | 3.09×107 กม.2 (0.061 ของโลก) [4] | ||||||
ปริมาตร: | 1.593×1010 กม.3 (0.015 ของโลก) [4] | ||||||
มวล: | (4.799844±0.000013)×1022 กก. (0.008 ของโลก) [3] | ||||||
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 3.013±0.005 ก./ซม.3 [3] | ||||||
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: | 1.314 ม./ว.2 (0.134 ก.) [2] | ||||||
อัตราส่วนโมเมนต์ความเฉื่อย: | 0.346±0.005 [5] (โดยประมาณ) | ||||||
ความเร็วหลุดพ้น: | 2.025 กม./ว.[2] | ||||||
คาบการหมุน รอบตัวเอง: | คาบหมุนสมวาร [6] | ||||||
ความเอียงของแกน: | 0.1° [7] | ||||||
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.67 ± 0.03 [8] | ||||||
อุณหภูมิพื้นผิว: พื้นผิว |
| ||||||
โชติมาตรปรากฏ: | 5.29 [8] (ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์) | ||||||
ลักษณะของบรรยากาศ | |||||||
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: | 0.1 µPa (10-12 บาร์) [10] | ||||||
องค์ประกอบ: | ออกซิเจน |
ยูโรปา (อังกฤษ: Europa, , บุพบท: Europan) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี ค้นพบในปี พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1610) โดย กาลิเลโอ กาลิเลอี (เชื่อว่าในเวลาเดียวกันนั้น ไซมอน มาริอุส ก็ค้นพบด้วยเช่นเดียวกัน) ชื่อของดาวมาจากนางกษัตริย์ในตำนานปกรณัมกรีกคือยูโรปา (กรีกโบราณ: Εὐρώπη) ผู้ได้แต่งงานกับเทพซูสและได้เป็นราชินีแห่งครีต ยูโรปาเป็นดาวบริวารดวงเล็กที่สุดในบรรดาดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้ง 4 ดวง
ยูโรปามีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,000 กิโลเมตร มีบรรยากาศที่เบาบางประกอบไปด้วยออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ พื้นผิวที่เป็นน้ำแข็งและมีความเรียบมากนี้ประกอบไปด้วยรอยแตกและเส้นริ้วบาง ๆ โดยมีหลุมอุกกาบาตอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พื้นผิวที่เรียบและดูใหม่นี้เองที่ทำให้เกิดสมมติฐานว่า มีมหาสมุทรอยู่ข้างใต้ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างดาวได้ โดยสมมติฐานนี้เสนอว่าแรงดึงดูดที่มีมากของดาวพฤหัสบดีสร้างความร้อนให้กับยูโรปา
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 นาซาได้รายงานการตรวจพบแร่ธาตุที่คล้ายกับดิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟิลโลซิลิเกต) ซึ่งปะปนอยู่กับอินทรียวัตถุบนเปลือกน้ำแข็งของยูโรปา นอกจากนี้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลยังตรวจพบพลูมไอน้ำคล้ายกับพลูมที่ตรวจพบในเอนเซลาดัส ดาวบริวารของดาวเสาร์
ปฏิบัติการของยานสำรวจกาลิเลโอได้ส่งข้อมูลของยูโรปากลับมาเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มียานอวกาศลำใดที่ลงสำรวจในดาวบริวารดวงนี้ แต่ลักษณะพิเศษที่น่าสนใจของยูโรปาก็ทำให้มันเป็นเป้าหมายของปฏิบัติการอันทะเยอทะยานหลายปฏิบัติการ ปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์น้ำแข็งดาวพฤหัส (JUICE) ขององค์การอวกาศยุโรปนั้นมีกำหนดการในปี พ.ศ. 2565[11] ส่วนนาซาก็ได้วางแผนส่งหุ่นยนต์ปฏิบัติการบนยูโรปาราวกลางคริสต์ทศวรรษที่ 2020[12]
การค้นพบและตั้งชื่อ
[แก้]ยูโรปาและดวงบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีอีกสามดวงได้แก่ ไอโอ แกนีมีด และ คาลลิสโต ถูกค้นพบในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2152 (ค.ศ. 1610) โดยกาลิเลโอ กาลิเลอี[13] และไซมอน มาริอุส ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามสตรีชนชั้นสูงชาวฟินิเชียในเทพปกรณัมกรีกชื่อ ยูโรปา ผู้เป็นราชินีของครีตและถูกซูสเกี้ยวพาราสี
กาลิเลโอค้นพบยูโรปาและดวงจันทร์กาลิเลี่ยนดวงอื่นครั้งแรกโดยใช้กล้องโทรทรรศน์หักเหแสงกำลังขยาย 20 เท่าที่มหาวิทยาลัยปาโดวาในวันที่ 7 มกราคม อย่างไรก็ตามกาลิเลโอยังไม่สามารถแยกไอโอกับยูโรปาได้เนื่องจากประสิทธิภาพของกล้องต่ำเกินไป ดาวบริวารทั้งสองจึงถูกบันทึกเป็นจุดแสงจุดหนึ่งเท่านั้น ไอโอกับยูโรปาถูกค้นพบว่าเป็นคนละดวงได้ในวันต่อมา[13]
ยูโรปาถูกตั้งชื่อตามคนรักของซูสเหมือนกับดวงจันทร์แกลิเลี่ยนดวงอื่น ซึ่งในที่นี้คนรักนั้นคือ ยูโรปา ลูกสาวของกษัตริย์แห่งไทร์ โดยผู้ที่เสนอหลักการตั้งชื่อนี้คือ ไซมอน มาริอุส ที่เชื่อว่าน่าจะค้นพบดาวบริวารกาลิเลี่ยนทั้งสี่ด้วยเช่นกัน (แม้ว่ากาลิเลโอจะกล่าวหาว่าไซมอนเลียนแบบเขา) มาริอุสได้เสนอหลักการตั้งชื่อนี้ให้กับ โยฮันเนส เคปเลอร์[14][15]
ในบทเรียนดาราศาสตร์ยุคแรก ๆ ยูโรปาถูกเรียกว่าดาวบริวารดวงที่สองของดาวพฤหัสบดี หรือ Jupiter II (ละติน: Iuppiter II, ยูปิเตอร์ เซกูนโด) ส่วนชื่อยูโรปาไม่ได้ถูกพูดถึงโดยทั่วไปจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[16]
การโคจรและการหมุนรอบตัวเอง
[แก้]ยูโรปาโคจรรอบดาวพฤหัสบดีโดยใช้เวลาเพียงสามวันครึ่งด้วยรัศมีวงโคจรประมาณ 670,000 กิโลเมตร และมีความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร เพียง 0.009 วงโคจรจึงมีลักษณะค่อนข้างกลม โดยมีความเอียงของวงโคจรอ้างอิงจากระนาบเส้นศูนย์สูตรฟ้าเล็กน้อย คือประมาณ 0.470 องศาเท่านั้น[17] ยูโรปาการหมุนรอบตัวเองแบบสมวาร คือมีคาบการหมุนรอบตัวเองเท่ากับคาบการโคจรรอบดาวพฤหัสบดีเหมือนดาวบริวารกาลิเลียนดวงอื่นๆ ดวงจันทร์ยูโรปาจึงหันหน้าเข้าหาดาวพฤหัสบดีเพียงด้านเดียวเสมอ ทำให้มีจุดๆหนึ่งบนดวงจันทร์ยูโรปาที่สามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ จุดจอมฟ้าพอดี เส้นเมริเดียนที่ลากผ่านจุดๆนี้ถูกกำหนดให้เป็นเส้นเมริเดียนปฐมของดวงจันทร์ยูโรปา อย่างไรก็ตามผลการค้นคว้าได้ระบุว่าการหมุนของดวงจันทร์ยูโรปาอาจไม่ใช่การหมุนสมวาร เพราะดวงจันทร์ยูโรปาหมุนรอบตัวเองเร็วกว่าโคจรรอบดาวพฤหัสบดี ทำให้เกิดการกระจายที่ไม่สมดุลของมวลภายในดวงจันทร์ยูโรปา และการมีน้ำในรูปของเหลวอยู่ระหว่างเปลือกน้ำแข็งและแกนหินข้างใน[18]
วงโคจรที่เบี้ยวไปเล็กน้อยของดวงจันทร์ยูโรปา เกิดจากการรบกวนทางแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กาลิเลียนดวงอื่น ทำให้จุดที่มองเห็นดาวพฤหัสบดี ณ จุดจอมฟ้าของยูโรปาแกว่งไปเล็กน้อย เมื่อดวงจันทร์ยูโรปาเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยูโรปาขยายตัวในทิศทางเข้าหาและออกจากดาวพฤหัสบดี เมื่อยูโรปาเคลื่อนห่างจากดาวพฤหัสบดี แรงดึงดูดของดาวพฤหัสบดีจะลดลง ทำให้ยูโรปากลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นทรงกลมกว่า นอกจากนี้ดวงจันทร์ไอโอที่ส่งอิทธิพลกับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของยูโรปาอยู่ตลอดเวลา[19]ก็ทำให้เกิดแรงไทดัลขึ้น ทั้งสองปรากฏการณ์นี้ทำให้ภายในยูโรปาเปลี่ยนแปลงและเกิดความร้อน และอาจส่งผลให้มีมหาสมุทรอยู่ในรูปของเหลวได้[19][20]
นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์รอยแตกบนพื้นผิวน้ำแข็ง อันเป็นเอกลักษณ์ของยูโรปาว่าเกิดจากการที่ดวงจันทร์ดวงนี้เคยหมุนรอบตัวเองตามแกนที่เอียงมาก่อน หากสมมติฐานนี้เป็นจริง แกนที่เคยเอียงนี้จะสามารถอธิบายลักษณะพิเศษต่าง ๆ บนดวงจันทร์ดวงนี้ได้หลายอย่าง เช่น ร่างแหของรอยร้าวขนาดมหึมาบนยูโรปาเป็นร่องรอยของความเค้นของพื้นผิวที่เกิดจากคลื่นขนาดยักษ์ของมหาสมุทรภายในดวงจันทร์ เนื่องจากการเอียงของยูโรปาส่งอิทธิพลต่อการคำนวณและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ในพื้นผิวน้ำแข็ง, ปริมาณความร้อนที่มหาสมุทรภายในสร้างขึ้น หรือแม้กระทั่งระยะเวลาที่มหาสมุทรเป็นของเหลว พื้นผิวของดวงจันทร์จำเป็นต้องยืดออกเพื่อทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยแตกนั่นเอง[21]
ลักษณะทางกายภาพ
[แก้]ยูโรปามีขนาดเล็กกว่าดวงจันทร์ของโลกเล็กน้อย คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3,100 กิโลเมตร (1,900 ไมล์) มันเป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นอันดับที่หกและวัตถุที่ใหญ่เป็นอันดับที่สิบห้าของระบบสุริยะ แม้ว่ายูโรปาจะมีมวลน้อยที่สุดในบรรดาดวงจันทร์กาลิเลี่ยนของดาวพฤหัส แต่ก็มีมวลมากกว่าดาวบริวารอื่น ๆ ในระบบสุริยะที่เล็กกว่ามันรวมกัน[22] ความหนาแน่นของยูโรปาบ่งบอกถึงองค์ประกอบพื้นฐานที่เป็นหินซิลิเกต คล้ายกันกับองค์ประกอบพื้นฐานของดาวเคราะห์ชั้นใน
โครงสร้างภายใน
[แก้]เชื่อกันว่ายูโรปามีโครงสร้างชั้นนอกที่ประกอบไปด้วยน้ำหนาประมาณ 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) โดยที่ด้านบนของชั้นเป็นเปลือกน้ำแข็ง และมีน้ำซึ่งอยู่ในสถานะของเหลวอยู่ข้างใต้ ข้อมูลที่ถูกส่งมาจากยานอวกาศกาลิเลโอเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่ายูโรปามีสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของดาวพฤหัสบดี แสดงว่ายูโรปามีโครงสร้างบางอย่างที่นำกระแสไฟฟ้าได้อยู่ใต้เปลือกชั้นนอก[23] ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเป็นมหาสมุทรน้ำเค็ม เปลือกน้ำแข็งส่วนหนึ่งผ่านการหมุนมาแล้วเกือบ 80° โดยประมาณ (เกือบจะเป็นการพลิกกลับหัว) ซึ่งเกิดขึ้นได้ยากหากชั้นน้ำแข็งยึดติดกับชั้นแมนเทิลอย่างแน่นหนา[24] ยูโรปาน่าจะมีแกนกลางเป็นโลหะเหล็ก[25]
ลักษณะพื้นผิว
[แก้]ยูโรปาเป็นหนึ่งในวัตถุที่เรียบที่สุดในระบบสุริยะ เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพขนาดใหญ่เช่นภูเขาหรืออุกกาบาตอยู่ไม่มาก[26] อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีกล่าวว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตรของยูโรปานั้นถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งที่มีลักษณะแหลมเรียกว่า เพนิเทนเทส (Penitentes) สูงราว 10 เมตร ซึ่งเกิดจากการที่บริเวณดังกล่าวมีดวงอาทิตย์อยู่ในทิศเหนือศีรษะโดยตรง น้ำแข็งจึงละลายในแนวดิ่ง[27] ร่างแหของเส้นที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นผิวของยูโรปาส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะแอลบีโด (albedo features) ที่ชี้ให้เห็นถึงภูมิประเทศที่ต่ำ ยูโรปามีหลุมอุกกาบาตอยู่ไม่มากเพราะพื้นผิวของมันค่อนข้างแข็งแรงและยังใหม่อยู่[28][29] เปลือกน้ำแข็งของยูโรปาทำให้อัตราส่วนสะท้อนของมันอยู่ที่ 0.64 ทำให้มันเป็นหนึ่งในดาวบริวารที่มีอัตราการสะท้อนแสงมากที่สุดในบรรดาดาวบริวารทั้งหมด[17][29] ซึ่งน่าจะชี้ให้เห็นได้ถึงพื้นผิวที่ใหม่และมีพลัง โดยพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรปามีอายุประมาณ 20 ถึง 180 ล้านปีเมื่อคำนวณจากความถี่ของการถูกดาวหางพุ่งชน[30] อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถอธิบายถึงลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปาทั้งหมดได้โดยสมบูรณ์[31]
ระดับการแผ่รังสีบนพื้นผิวของยูโรปามีค่าเทียบเท่ากับการได้รับปริมาณรังสี 5,400 มิลลิซีเวอร์ต (540 เรม) ต่อวัน[32] ซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถทำให้มนุษย์เกิดอาการเจ็บป่วยร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ภายในหนึ่งวัน[33]
ลักษณะทางพื้นผิวที่โดดเด่นที่สุดบนยูโรปาคือ ลิเนีย (lineae) หรือ ลายเส้นยาวจำนวนมากที่ครอบคลุมไปทั่วดาว จากการตรวจสอบอย่างใกล้ชิดพบว่าขอบของรอยแตกมีการเคลื่อนที่อย่างสัมพันธ์กัน แถบเส้นที่มีขนาดใหญ่ที่มีระยะทางมากกว่า 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) มักจะเกิดริ้วลายที่มืดขนานกันไป[34] สมมติฐานที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดกล่าวว่าลิเนียบนยูโรปา อาจเกิดจากการปะทุอย่างต่อเนื่องของน้ำแข็งที่อุ่นกว่าภายใต้พื้นผิวดวงจันทร์[35] คล้ายกันกับการเกิดของเทือกเขาสมุทรบนโลก รอยแตกหักแบบต่าง ๆ เหล่านี้มีสาเหตุมาจากการปะทุขึ้นโดยการแปรผันของแรงไทดัลซึ่งกระทำโดยดาวพฤหัส เนื่องจากยูโรปาถูกตรึงไว้ด้วยปรากฏการณ์ไทดัลล็อกกับดาวพฤหัสบดีอย่างเป็นระเบียบ และดังนั้นจึงรักษาทิศทางในการหันด้านหนึ่งเข้าหาดาวพฤหัสบดีอยู่เสมอ รูปแบบความเครียดจึงควรมีรูปแบบที่ชัดเจนและคาดการณ์ได้ อย่างไรก็ตามมีเพียงรอยแตกที่อายุน้อยที่สุดของยูโรปาที่สอดคล้องกับรูปแบบที่คาดการณ์ไว้ รอยแตกอื่น ๆ ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในทิศทางที่ต่างกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น สิ่งนี้สามารถอธิบายได้ว่าพื้นผิวของยูโรปา หมุนเร็วกว่าภายในเล็กน้อย เหตุที่เป็นไปได้คือเนื่องจากมหาสมุทรใต้พื้นผิว โดยกลไกที่แยกตัวออกจากชั้นพื้นผิวของยูโรปา จากชั้นแมนเทิลที่เป็นหิน และผลกระทบของแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีบนเปลือกน้ำแข็งชั้นนอกของยูโรปา[36] การเปรียบเทียบภาพถ่ายยานอวกาศวอยเอจเจอร์ และกาลิเลโอ นั้นให้ความเป็นไปได้มากที่สุดในสมมติฐานของการเลื่อนไถลของชั้นผิวดาวนี้ การเปลี่ยนแปลงเต็มรูปแบบของเปลือกนอกแข็งที่สัมพันธ์กับภายในของยูโรปา ใช้เวลาอย่างน้อย 12,000 ปี[37] การศึกษาภาพของวอยเอจเจอร์ และกาลิเลโอ ได้เปิดเผยหลักฐานการมุดตัวของพื้นผิวของยูโรปา ซึ่งบอกว่ารอยแตกมีความคล้ายคลึงกับแนวสันเขาในมหาสมุทร[38][39] ดังนั้นแผ่นเปลือกน้ำแข็งจึงมีความคล้ายคลึงกับแผ่นเปลือกธรณีภาคบนโลก ซึ่งจะม้วนตัวกลับลงไปในชั้นหินหลอมเหลวภายใน ขณะเดียวกันหลักฐานการแพร่กระจายของเปลือกที่แถบ[38] และการบรรจบกันที่พื้นที่อื่น[39] นับเป็นหลักฐานแรกของการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ในดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก[40]
คุณสมบัติทางธรณีวิทยาอื่น ๆ
[แก้]จุดพื้นที่สีคล้ำราบเรียบอาจเกิดขึ้นได้เมื่อน้ำที่เป็นของเหลว ถูกปลดปล่อยทะลุผ่านพื้นผิวเมื่อน้ำแข็งมีอุณหภูมิสูงขึ้นและแตกออก พื้นที่ลักษณะขรุขระยุ่งเหยิงปะทุนูนขึ้น (เรียกว่าพื้นที่ของ "ความโกลาหล"; โคโนมารา เคออส, Conamara Chaos) จะถูกสร้างขึ้นจากแผ่นเปลือกที่เป็นเศษเล็กเศษน้อยที่มีสีเข้มหลายชิ้นก่อตัวเรียงเป็นชั้น ๆ จะปรากฏเหมือนภูเขาน้ำแข็งในทะเลเยือกแข็ง[41]
สมมติฐานอีกทางหนึ่งชี้ให้เห็นว่า รอยนูน (lenticulae) แท้จริงแล้วเป็นพื้นที่เล็ก ๆ ของความโกลาหล และที่อ้างว่าเป็นหลุม จุดและโดม เป็นการสังเคราะห์ข้อสรุปที่เกิดจากการตีความภาพที่มีความละเอียดต่ำจากยานกาลิเลโอในระยะแรกมากจนเกินไป ความหมายก็คือน้ำแข็งนั้นบางเกินไปที่จะรองรับแบบจำลองการก่อตัวของรอยนูนของชั้นเปลือก ซึ่งเกิดจากการไหลเวียนของหินหนืด
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "JPL HORIZONS solar system data and ephemeris computation service". Solar System Dynamics. NASA, Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2007-08-10.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 คำนวณจากค่าพารามิเตอร์พื้นฐานอื่น
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 "Overview of Europa Facts". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1997-01-05. สืบค้นเมื่อ 2007-12-27.
- ↑ 4.0 4.1 ใช้ค่ารัศมีเฉลี่ย
- ↑ Showman, A. P.; Malhotra, R. (1 October 1999). "The Galilean Satellites". Science. 286 (5437): 77–84. doi:10.1126/science.286.5437.77. PMID 10506564.
- ↑ See Geissler et al. (1998) in orbit section for evidence of non-synchronous orbit.
- ↑ Bills, Bruce G. (2005). "Free and forced obliquities of the Galilean satellites of Jupiter". Icarus. 175: 233–247. doi:10.1016/j.icarus.2004.10.028.
- ↑ 8.0 8.1 Yeomans, Donald K. (2006-07-13). "Planetary Satellite Physical Parameters". JPL Solar System Dynamics. สืบค้นเมื่อ 2007-11-05.
- ↑ McFadden, Lucy-Ann; Weissman, Paul; Johnson, Torrence (2007). The Encyclopedia of the Solar System (2 ed.). Elsevier. p. 432. ISBN 9780080474984.
- ↑ McGrath (2009). "Atmosphere of Europa". ใน Pappalardo, Robert T.; McKinnon, William B.; Khurana, Krishan (บ.ก.). Europa. University of Arizona Press. ISBN 0-816-52844-6.
- ↑ Amos, Jonathan (May 2, 2012). "Esa selects 1bn-euro Juice probe to Jupiter". BBC News Online. สืบค้นเมื่อ 2 May 2012.
- ↑ Borenstein, Seth (March 4, 2014). "NASA plots daring flight to Jupiter's watery moon". AP News.
- ↑ 13.0 13.1 "Planet and Satellite Names and Discoverers". USGS.
- ↑ "Simon Marius (January 20, 1573 – December 26, 1624)". Students for the Exploration and Development of Space. University of Arizona. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-08-21. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
- ↑ Marius, S. (1614). Mundus Iovialis anno M.DC.IX Detectus Ope Perspicilli Belgici.; Simon Marius, where he attributes the suggestion to Johannes Kepler
- ↑ Marazzini, Claudio (2005). "I nomi dei satelliti di Giove: da Galileo a Simon Marius (The names of the satellites of Jupiter: from Galileo to Simon Marius)". Lettere Italiane. 57 (3): 391–407.
- ↑ 17.0 17.1 "Europa, a Continuing Story of Discovery". Project Galileo. NASA, Jet Propulsion Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 January 1997. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
- ↑ Geissler, P. E.; Greenberg, R.; Hoppa, G.; Helfenstein, P.; McEwen, A.; Pappalardo, R.; Tufts, R.; Ockert-Bell, M.; Sullivan, R.; Greeley, R.; Belton, M. J. S.; Denk, T.; Clark, B. E.; Burns, J.; Veverka, J. (1998). "Evidence for non-synchronous rotation of Europa". Nature. 391 (6665): 368–70. Bibcode:1998Natur.391..368G. doi:10.1038/34869. PMID 9450751. S2CID 4426840.
- ↑ 19.0 19.1 Showman, Adam P.; Malhotra, Renu (1997). "Tidal Evolution into the Laplace Resonance and the Resurfacing of Ganymede" (PDF). Icarus. 127 (1): 93–111. Bibcode:1997Icar..127...93S. doi:10.1006/icar.1996.5669.
- ↑ "Tidal Heating". geology.asu.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2006.
- ↑ Cook, Jia-Rui C. (September 18, 2013). "Long-stressed Europa Likely Off-kilter at One Time". jpl.nasa.gov.
- ↑ มวลของยูโรปา: 48×1021 กก. มวลของไทรทันรวมกับดวงจันทร์ที่เล็กกว่า: 39.5×1021 กก.)
- ↑ Phillips, Cynthia B.; Pappalardo, Robert T. (20 May 2014). "Europa Clipper Mission Concept:". Eos, Transactions American Geophysical Union. 95 (20): 165–167. doi:10.1002/2014EO200002. สืบค้นเมื่อ 2014-06-03.
- ↑ Cowen, Ron (7 June 2008). "A Shifty Moon". Science News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-23. สืบค้นเมื่อ 2014-07-13.
- ↑ Kivelson, Margaret G.; Khurana, Krishan K.; และคณะ (2000). "Galileo Magnetometer Measurements: A Stronger Case for a Subsurface Ocean at Europa". Science. 289 (5483): 1340–1343. Bibcode:2000Sci...289.1340K. doi:10.1126/science.289.5483.1340. PMID 10958778.
- ↑ "Europa: Another Water World?". Project Galileo: Moons and Rings of Jupiter. NASA, Jet Propulsion Laboratory. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 9 August 2007.
- ↑ Ice blades threaten Europa landing
- ↑ Arnett, Bill (November 7, 1996). "Europa". astro.auth.gr.
- ↑ 29.0 29.1 Hamilton, Calvin J. "Jupiter's Moon Europa". solarviews.com.
- ↑ Schenk, Paul M.; Chapman, Clark R.; และคณะ (2004). Chapter 18: Ages and Interiors: the Cratering Record of the Galilean Satellites. Jupiter: The Planet, Satellites and Magnetosphere. Cambridge University Press. pp. 427 ff. ISBN 0-521-81808-7.
- ↑ "High Tide on Europa". Astrobiology Magazine. astrobio.net. 2007. สืบค้นเมื่อ 20 October 2007.
- ↑ Ringwald, Frederick A. (29 February 2000). "SPS 1020 (Introduction to Space Sciences)". California State University, Fresno. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-20. สืบค้นเมื่อ 4 July 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) September 20, 2009 at the WebCite - ↑ The Effects of Nuclear Weapons, Revised ed., US DOD 1962, pp. 592–593
- ↑ Geissler, P.E.; Greenberg, R.; Hoppa, G.; McEwen, A.; Tufts, R.; Phillips, C.; Clark, B.; Ockert-Bell, M.; Helfenstein, P.; Burns, J.; Veverka, J.; Sullivan, R.; Greeley, R.; Pappalardo, R.T.; Head, J.W.; Belton, M.J.S.; Denk, T. (September 1998). "Evolution of Lineaments on Europa: Clues from Galileo Multispectral Imaging Observations". Icarus. 135 (1): 107–126. Bibcode:1998Icar..135..107G. doi:10.1006/icar.1998.5980. S2CID 15375333.
- ↑ Figueredo, Patricio H.; Greeley, Ronald (February 2004). "Resurfacing history of Europa from pole-to-pole geological mapping". Icarus. 167 (2): 287. doi:10.1016/j.icarus.2003.09.016.
- ↑ Hurford, T.A.; Sarid, A.R.; Greenberg, R. (January 2007). "Cycloidal cracks on Europa: Improved modeling and non-synchronous rotation implications". Icarus. 186 (1): 218–233. Bibcode:2007Icar..186..218H. doi:10.1016/j.icarus.2006.08.026.
- ↑ Kattenhorn, Simon A. (2002). "Nonsynchronous Rotation Evidence and Fracture History in the Bright Plains Region, Europa". Icarus. 157 (2): 490–506. Bibcode:2002Icar..157..490K. doi:10.1006/icar.2002.6825.
- ↑ 38.0 38.1 Schenk, Paul M.; McKinnon, William B. (May 1989). "Fault offsets and lateral crustal movement on Europa: Evidence for a mobile ice shell". Icarus. 79 (1): 75–100. Bibcode:1989Icar...79...75S. doi:10.1016/0019-1035(89)90109-7.
- ↑ 39.0 39.1 Kattenhorn, Simon A.; Prockter, Louise M. (7 September 2014). "Evidence for subduction in the ice shell of Europa". Nature Geoscience. 7 (10): 762–767. Bibcode:2014NatGe...7..762K. doi:10.1038/ngeo2245.
- ↑ Dyches, Preston; Brown, Dwayne; Buckley, Michael (8 September 2014). "Scientists Find Evidence of 'Diving' Tectonic Plates on Europa". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 8 September 2014.
- ↑ Goodman, Jason C. (2004). "Hydrothermal plume dynamics on Europa: Implications for chaos formation" (PDF). Journal of Geophysical Research. 109 (E3): E03008. Bibcode:2004JGRE..109.3008G. doi:10.1029/2003JE002073. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 March 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้](จุลสาร Sidereal Messenger
โดย กาลิเลโอ กาลิเลอี)
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยูโรปา
- Europa, a Continuing Story of Discovery at NASA/JPL เก็บถาวร 2007-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Europa Profileเก็บถาวร 2015-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข้อมูลจากโครงการสำรวจระบบสุริยะขององค์การนาซา