ยุทธการที่แอตแลนตา
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยุทธการแอตแลนตา | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองอเมริกัน | |||||||
ภาพวาด Battle of Atlanta วาดโดยเคิร์ซและแอลลิสัน ในปี ค.ศ. 1888 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | สมาพันธรัฐอเมริกา | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
วิลเลียม ที. เชอร์แมน เจมส์ บี. แมคเฟอร์สัน | จอห์น บี. ฮู้ด | ||||||
หน่วยที่เกี่ยวข้อง | |||||||
แผนกการสงครามลุ่มแม่น้ำมิซซิสซิปปี (Military Division of Mississippi) | กองทัพเทนเนซซี | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
3,641 นาย | 8,499 นาย |
ยุทธการแอตแลนตา คือหนึ่งในการรบในยุทธนาการแอตแลนตา ซึ่งรบกันในระหว่างสงครามกลางเมืองของชาวอเมริกัน ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) ณ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย แม้ว่าชื่อการรบจะสื่อถึงการรบขั้นเด็ดขาด, แต่ศึกครั้งนี้รบกันในช่วงครึ่งทางของยุทธนาการทั้งหมด และเมืองแอตแลนตาจะยังไม่ถูกยึดไปอีก 6 สัปดาห์
ในขณะนั้น, พลตรีวิลเลียม ทีคัมเซห์ เชอร์แมน ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพของฝ่ายสหรัฐในภาคตะวันตก ส่วนกองทัพหลักของสหรัฐในการรบนี้คือกองทัพเทนเนซซี, ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พลตรีเจมส์ บี. แมคเฟอร์สัน เขาคือหนึ่งในบรรดาผู้บังคับบัญชาที่เชอร์แมนและแกรนท์ชื่นชอบ เนื่องจากเขาเป็นนายพลหัวรุนแรงและสั่งการได้อย่างรวดเร็ว (ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พบได้น้อยในบรรดานายพลฝ่ายสหรัฐ) โดยเหล่าทหารที่สิบห้า (XV) นั้นอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.ต. จอห์น เอ. โลแกน, และเหล่าทหารที่สิบหก (XVI) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ พ.ต. แฟรงค์ พี. แบลร์ จูเนียร์
ในขณะเดียวกัน ฝ่ายตรงข้ามคือกองทัพสหพันธรัฐแห่งเทนเนซซี ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกจอห์น เบลล์ ฮู้ด และเหล่าทหารของพลโทวิลเลียม เจ. ฮาร์ดีย์ เป็นผู้นำการโจมตี
อารัมภบท
[แก้]ก่อนหน้าที่ศึกครั้งนี้จะเกิดขึ้นหลายเดือน นายพลฝ่ายสหพันธรัฐ โจเซฟ อี. จอห์นสตัน จะเป็นผู้นำทำการโจมตีแล้วถอยทัพทุกครั้งเมื่อปะทะกับกองกำลังที่เหนือกว่าของเชอร์แมน เป็นแนวยาวขนานกับทางรถไฟ ตั้งแต่เมืองแชททานูกา รัฐเทนเน็ซซี ไปจนถึงเมืองมาริเอ็ตตา รัฐจอร์เจีย, ซึ่งการโจมตีแต่ละครั้งจะมีลักษณะเดียวกันตลอด ลักษณะคือ: จอห์นสตันจะวางทัพของเขาอยู่ในตำแหน่งตั้งรับ, ส่วนเชอร์แมนก็จะเคลื่อนทัพของเขาเข้ามาโอบล้อมแนวป้องกันของกองทัพสหพันธรัฐ, และจอห์นสตันก็จะทำการถอยทัพก่อนที่กองทัพของเชอร์แมนจะโอบล้อมสำเร็จ แต่ในที่สุดกองทัพทั้งสองก็เข้าปะทะกันเต็มรูปแบบในศึกแห่งภูเขาเคนนีซอว์, ซึ่งการกระทำของจอห์นสตันดังกล่าว ทำให้คณะผู้นำของฝ่ายสหพันธรัฐกังวล และคลางแคลงความสมัครใจในการสู้รบกับกองทัพสหรัฐของจอห์นสตัน แม้จะรู้ว่าโอกาสที่จอห์นสตันจะรบชนะกองทัพของเชอร์แมนนั้นมีอยู่น้อยมากก็ตามที เป็นเหตุให้จอห์นสตันผู้ที่กำลังเตรียมการรบในศึกแห่งบึงพีชทรี ถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1864 (พ.ศ. 2407) และให้ฮูดเข้าไปเป็นผู้บังคับบัญชาแทน ซึ่งทันทีที่ฮูดเข้ามาสั่งการแล้ว เขาก็สั่งให้กองทัพของเขาเร่งเข้าปะทะกับกองทัพของเชอร์แมนที่ตั้งทัพอยู่ที่บึงพีชทรีในทันที, แต่การโจมตีไม่เป็นผลและทำให้ทหารในกองทัพของเขาบาดเจ็บและเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก
พ.อ. ฮู้ด ที่มีกำลังทหารที่น้อยกว่าศัตรูของเขามาก กำลังเผชิญกับปัญหาสองปัญหา ประการแรกคือ เขาจำเป็นต้องป้องกันเมืองแอตแลนตา ที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟและการอุตสาหกรรมที่สำคัญมากสำหรับฝ่ายสหพันธรัฐ ประการที่สองคือ กองทัพของเขานั้นมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับกองทัพขนาดใหญ่ที่นายพลเชอร์แมนมี เขาจึงตัดสินใจที่จะถอนกำลังของเขากลับเข้าไปในเมือง เพื่อล่อทหารฝ่ายสหรัฐให้รุกคืบเข้ามา ในขณะเดียวกัน กองทัพของแมคเฟอร์สันก็กำลังเดินทางจากเมืองดีคาเทอร์ รัฐจอร์เจีย มายังฝั่งตะวันออกของเมืองแอตแลนตา
การรบ
[แก้]ขณะที่กองทัพของแมคเฟอร์สันกำลังเดินทางมา ฮู้ดก็สั่งการให้เหล่าทหารของนายพลฮาร์ดีย์เดินทัพตระเวนอยู่ใกล้ๆ กับแนวทัพปีกซ้ายของกองทัพฝ่ายสหรัฐ, ให้กองทหารม้าของ พ.ต. โจเซฟ วีลเลอร์ ตระเวนอยู่ใกล้กับเส้นทางการขนส่งเสบียงของเชอร์แมน และให้เหล่าทหารของ พ.ต. เบนจามิน ชีทแฮม เข้าปะทะกับแนวหน้าของฝ่ายสหรัฐ กระบวนรบดังกล่าวเคยถูกใช้มาก่อนโดยโธมัส เจ. แจ็คสัน และเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว อย่างไรก็ตาม, ฮาร์ดีย์ใช้เวลามากกว่าที่ฮู้ดคาดไว้ในการเคลื่อนทัพเข้าประจำตำแหน่ง, และในขณะเดียวกันนายพลแมคเฟอร์สันก็วิเคราะห์จุดที่เสี่ยงต่อการโจมตีได้อย่างแม่นยำ (แนวทัพปีกซ้าย), และได้ส่งเหล่าทหารที่สิบหก, และกองหนุนเข้าไปช่วยเสริมตรงจุดนั้น กองกำลังของฮาร์ดีย์พบกับกองกำลังนี้, และทำให้การรบเริ่มต้นขึ้น แม้ว่าการโจมตีของฝ่ายสหพันธรัฐจะถูกต่อต้านจนต้องถอยทัพไป แต่แนวทัพปีกซ้ายของฝ่ายสหรัฐก็เริ่มทำการถอยทัพ ในการโจมตีของสหพันธรัฐครั้งนี้ นายพลแมคเฟอร์สันที่ขี่ม้าไปยังแนวหน้าเพื่อสังเกตการรบถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารราบฝ่ายสหพันธรัฐ
แนวรบหลักของฝ่ายสหพันธรัฐในการรบในขณะนี้มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) โดยการโจมตีของฮาร์ดีย์นั้นเป็นขีดล่างของแอลและการโจมตีในแนวหน้าของชีทแฮมนั้นเป็นขีดตั้งของตัวแอล การโจมตีของฮาร์ดีย์ถูกต้านจนต้องถอนกำลังออกมา เมื่อเหล่าทหารที่สิบหกของสหรัฐจัดขบวนรบใหม่และตรึงแนวรบได้แล้ว ในขณะเดียวกัน ทหารของนายพลชีทแฮมตีแนวรบของสหรัฐได้สำเร็จ แต่นายพลเชอร์แมนตั้งปืนใหญ่ 20 กระบอกใกล้กับศูนย์บัญชาการของเขาเองแล้วสั่งให้กองปืนใหญ่เหล่านั้นระดมยิงใส่กองกำลังของฝ่ายสหพันธรัฐ, เพื่อให้เหล่าทหารที่สิบห้าของนายพลโลแกนจัดกระบวนรบใหม่และโจมตีตอบโต้กำลังทหารของฝ่ายสหพันธรัฐจนแตกพ่ายไป ฝ่ายสหรัฐเสียทหารไปจากการรบครั้งนี้ 3,641 นาย ส่วนฝ่ายสหพันธรัฐเสียทหารไป 8,499 นายซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียกำลังทหารอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเทียบกับกองทัพสหพันธรัฐที่มีกำลังทหารน้อยอยู่แล้ว
ผลจากการรบ
[แก้]แม้ว่าศึกแห่งแอตแลนตานี้ จะเป็นความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับสำหรับกองทัพสมาพันธรัฐของฮูด แต่พวกเขายังคงรักษาเมืองไว้ได้ หลังจากศึกนี้เชอร์แมนได้เริ่มทำการปิดล้อมเมืองแอตแลนตา, ระดมยิงใส่สิ่งก่อสร้างของพลเรือนและบรรดาพลเรือนเองในเมือง และดักปล้นสดมภ์ที่เส้นทางฝั่งตะวันตกของเมือง เพื่อตัดเส้นทางการขนส่งเสบียงจากเมืองเมคอน, รัฐจอร์เจีย ในที่สุด ในวันที่ 31 สิงหาคม ณ เมืองโจนส์โบโรห์ รัฐจอร์เจีย กองทัพของเชอร์แมนสามารถยึดทางรถไฟมาจากเมืองเมคอนได้สำเร็จ ฮูดถอนทหารของเขาออกจากเมืองแอตแลนตาในวันต่อมา พร้อมกับทำลายคลังเสบียง เพื่อป้องกันไม่ให้เสบียงดังกล่าวตกไปอยู่ในการครอบครองของฝ่ายสหรัฐ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน เชอร์แมนเดินทางเข้าไปในเมือง และส่งสาส์นโทรเลขไปยังเมืองวอชิงตันแจ้งว่า "แอตแลนตาเป็นของเราแล้ว และเป็นชัยชนะอย่างใสสะอาด" เขาสั่งการให้เผาเมืองในเวลาต่อมา ในวันที่ 11 พฤศจิกายน
การล่มสลายของเมืองแอตแลนตา ถือเป็นกรณีศึกษาในเรื่องของการขยายผลทางการเมือง เนื่องจากในปี ค.ศ. 1864 เป็นสมัยเลือกตั้ง, และผู้สมัครคืออดีตพลเอกจอร์จ แมคเคลแลน กับประธานาธิบดีลิงคอล์น สงครามนี้ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบนักในฝ่ายเหนือ (สหรัฐ) และนโยบายหาเสียงของแมคเคลแลน คือการให้คำมั่นสัญญาว่า จะเจรจาสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสหพันธรัฐ ซึ่งถ้าการสงบศึกครั้งนี้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็เป็นไปได้ยากที่สงครามกลางเมืองจะเริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การยึดเมืองแอตแลนตา และการที่ฮูดเผาทำลายยุทโธปกรณ์และเสบียงสงครามของฝ่ายตนไปเป็นจำนวนมากเมื่อกองทัพของเขาถอยทัพ ถูกนำเสนออย่างละเอียดโดยหนังสือพิมพ์สหรัฐ ซึ่งเป็นตัวเพิ่มขวัญกำลังใจของทหารและพลเรือนของฝ่ายเหนือเป็นอย่างมาก ทำให้ลิงคอล์นได้รับเลือกตั้งให้ป็นประธานาธิบดีอีกครั้งอย่างฉิวเฉียด ด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 56 ต่อ 44
สนามรบในขณะนี้คือแหล่งที่พักอาศัยในเมืองและพื้นที่การค้า และมีอนุสาวรีย์อยู่หลายแห่งในเมืองแอตแลนตาเพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์ของศึกครั้งนี้ รวมถึงอนุสรณ์ที่สวนอินแมน (en:Inman Park) ลายเส้นรูปตัวแอล (L) ที่อยู่ระหว่างถนนมอร์แลนด์จากลิตเติ้ล ไฟฟ์ พอยท์นส์ (en:Little Five Points) และถนนระหว่างรัฐสายที่ 20 เส้นทางเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตกซึ่งเป็นจุดที่ฮาร์ดีย์ทำการโจมตี และหอแสดงภาพรอบทิศแห่งแอตแลนตา (en:Atlanta Cyclorama) ซึ่งแสดงภาพวาดและเป็นพิพิธภัณฑ์ของศึกนี้
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ: เอกสารที่กำลังจะกล่าวถึงมีรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
- Foote, Shelby, The Civil War, A Narrative: Red River to Appomattox, Random House, 1974, ISBN 0-394-74913-8.
- Golden, Randy. "The Battle of Atlanta." http://ngeorgia.com/history/battleofatlanta.html