มะลิลา
มะลิลา | |
---|---|
สายพันธุ์ 'Maid of Orleans' จาก ตูนีเซีย. | |
ดอกมะลิลาระยะต่างๆ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Oleaceae |
สกุล: | Jasminum |
สปีชีส์: | J. sambac |
ชื่อพ้อง[1][2] | |
|
มะลิลา หรือ มะลิซ้อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Jasminum sambac) เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูง 15-25 ซม. ใบออกตรงข้าม รูปไข่กว้าง 3.5 - 4.5 ซม. ยาว 4-7 ซม. ปลายแหลม โคนมน ก้านใบสั้น มี 3 ใบใน 1 ข้อ ดอกสีขาว กลิ่นหอมแรง ออกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใช้ทำเป็นน้ำลอยมะลิ ใช้ทำเป็นขนมไทย[3]มะลิลาและมะลิซ้อนเป็นพืชชนิดเดียวกันแต่เป็นคนละรูปแบบ สังเกตได้จากดอกที่มีความแตกต่างอย่างชัดเจน[4]
มะลิลามีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกดังนี้: ข้าวแตก (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) เตียมูน (ละว้า เชียงใหม่) มะลิ (กลาง) มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่) มะลิซ้อน (กลาง) มะลิป้อม (เหนือ) มะลิลา (กทม., กลาง) และ มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน) [4]
ชาวโอรังอัซลี ในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย นำใบอ่อนแช่ในน้ำเย็น ใช้ดื่มแก้นิ่วในถุงน้ำดี รากนำไปต้ม แล้วดื่มน้ำแก้เบาหวาน[5]เป็นดอกไม้ประจำชาติของฟิลิปปินส์ เรียกว่าซัมปากีตา (sampaguita) และเป็นดอกไม้ประจำชาติหนึ่งในสามชนิดของอินโดนีเซีย ซึ่งเรียกว่าเมอลาตี ปูติห์ (melati putih)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Jasminum sambac (L.) Aiton". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ March 8, 2011.
- ↑ Ginés López González (2006). Los árboles y arbustos de la Península Ibérica e Islas Baleares: especies silvestres y las principales cultivadas (ภาษาสเปน) (2 ed.). Mundi-Prensa Libros. p. 1295. ISBN 978-84-8476-272-0.
- ↑ เสาวลักษณ์ สุขสมัย. เสน่ห์ไม้ไทย. กทม. มติชน.2539
- ↑ 4.0 4.1 เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ Samuel, A.J.S.J., Kalusalingam, A., Chellappan, D.K., Gopinath, R., Radhamani, S., Husain, H. A., Muruganandham, V., Promwichit, P. 2010. Ethnomedical survey of plants used by the orang asli in kampong bawong, Perak, West Malaysia. Joutnal of Ethnobiology and Ethnomedicine. 6:5
- Flora of China: Jasminum sambac
- Jasminum sambac เก็บถาวร 2021-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Jasmine in Oman - article เก็บถาวร 2012-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sampaguita เก็บถาวร 2009-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ มะลิลา ที่วิกิสปีชีส์