มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม
ตราอาร์มอย่างย่อของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คติพจน์ | ลาติน: Per Ardua Ad Alta[1] แปลเป็นไทยได้ว่า จงพยายามไปสู่ที่สูงส่ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถาปนา | พ.ศ. 2443 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2441 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน[2][3] พ.ศ. 2386 โรงเรียนแพทย์ในพระบรมราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | , , สหราชอาณาจักร 52°27′2″N 1°55′50″W / 52.45056°N 1.93056°W | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วิทยาเขต | ในเมืองและชานเมือง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สี | น้ำเงิน แดง เหลืองทอง และฟ้า สีประจำคณะ
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | birmingham.ac.uk |
มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งที่เมืองเบอร์มิงแฮม อันมีสถานะเป็นอำเภอในจังหวัดเวสต์มิดแลนด์ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick Universities) และเป็นมหาวิทยาลัยอิฐแดงแห่งแรก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2443 โดยรวมโรงเรียนแพทย์ในพระราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮมเข้ากับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน[4] มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมมีชื่อเสียงในด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์และพาณิชยศาสตร์ โดยได้เป็นสมาชิกกลุ่มรัสเซล และกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยยูนิเวอร์ซิตัส (หรือ อูนิแวร์ซิตัส) 21 ซึ่งมีที่ทำการที่มหาวิทยาลัยเอง
ประวัติ
[แก้]มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ก่อตั้งตามพระราชบัญญัติเมื่อ พ.ศ. 2443 จากการควบรวมโรงเรียนแพทย์ในพระราชินูปถัมภ์แห่งเบอร์มิงแฮม (Queen's College Birmingham) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2371[5]กับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสัน (Mason Science College) ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. 2413[3] ใช้เวลา 5 ปี การก่อตั้งจึงสำเร็จ[2] ตามชื่อของโจเซีย เมสัน (Josiah Mason) นักอุตสาหกรรมชาวอังกฤษ ก่อนหน้าที่มหาวิทยาลัยจะก่อตั้งนั้นเอง ได้มีการโอนภาควิชาเคมีและภาควิชากายวิภาคเปรียบเทียบจากโรงเรียนแพทย์ จนทำให้มีการยกฐานะวิทยาลัยวิทยาศาสตร์เมสันเป็นวิทยาลัยอุดมศึกษาเมสัน เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2341 มีโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain) เป็นนายกสภาสถาบัน
ไม่นานนักหลังจากการโอนย้ายส่วนงาน สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียมีพระบรมราชโองการให้ควบรวมทั้งสองสถาบันเข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2443[6] ตระกูลกอฟ-คาลทอร์ป (Gough-Calthorpe Family) ได้บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งของตนซึ่งตั้ง ณ ตำบลบอร์นบรุก (Bournbrook) ซึ่งมีขนาดราว ๆ 10 เฮกแตร์ (ุ62 ไร่ 2 งาน) ให้แก่มหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นที่ตั้ง อาคารต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นโดยมากใช้อิฐสีแดง หนึ่งในอาคารเหล่านั้น คือ อาคารแอสตันเว็บ ได้ถูกใช้เป็นสถานที่พยาบาลทหารบาดเจ็บจากการสู้รบ[7]
ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยต้องขยายตัว ฮิวก์ คาสซัน (Hugh Casson) และเนวิล คอนเดอร์ (Neville Conder) สถาปนิก ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้ทำแผนสร้างอาคารใหญ่ขึ้นเสริมอาคารที่มีอยู่เดิม ต่อจากนั้นมหาวิทยาลัยก็ได้เริ่มสร้างอาคารใหม่ ๆ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา[8] ขณะเดียวกันนั้นเองมหาวิทยาลัยได้ช่วยเหลือมหาวิทยาลัยซิมบับเวจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ รวมทั้งช่วยเหลือการดำเนินงานวิทยาลัยอุดมศึกษานอร์ทสแตฟฟอร์ดเชอร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยคีล) รวมไปถึงการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวอร์ริก[9] ซึ่งเดิมทีมหาวิทยาลัยวอริกจะมีสถานะเป็นเพียงวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ณ เมืองโคเวนทรี แต่อธิการบดีขณะนั้น (โรเบิร์ต เอตเกน (Robert Aitken)) ได้ทัดทานขอให้เปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย[10]
การเติบโตของมหาวิทยาลัย นอกจากวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของผู้บริหารแล้ว ยังได้อิทธิพลจากการค้นคว้าวิจัยของบุคลากรอีกด้วย อาทิ ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2468 - 2491 นอร์มัน ฮาเวิร์ท (์Norman Harworth) หัวหน้าภาควิชาเคมี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และรองอธิการบดี (พ.ศ. 2490 - 2491) เป็นนักวิจัยด้านเคมีของคาร์โบไฮเดรต โดยเขาได้ค้นพบโครงสร้างของน้ำตาลที่สามารถหมุนแกนแสงโพลาไรซ์ได้ รวมถึงค้นพบโครงสร้างที่แน่นอนของน้ำตาลมอลโทส เซลโลไบโอส แลกโทส เจนโชไบโอส เมลลิไบโอส เจนเชียโนส ราฟฟิโนส และโครงสร้างของน้ำตาลอัลโดสที่เป็นวงกลม งานของเขาทำให้มีการค้นพบโครงสร้างของสารที่ซับซ้อนกว่าขึ้นมาเช่น แป้งแท้ (starch) เซลลูโลส ไกลโคเจน อินูลิน และไซแลน จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2483[11]
มาร์ก โอลิฟันต์ (Mark Oliphant) อาจารย์ เสนอให้สร้างซิงโครตรอน (เครื่องเร่งอนุภาค) ที่ประกอบด้วยโปรตอนในปี พ.ศ. 2486 แต่เขากลับปฏิเสธว่าไม่มีความเป็นไปได้ในเวลาต่อมา กระนั้นสองปีให้หลังได้มีการค้นพบสถานะสมดุล ทำให้สามารถสร้างเครื่องเร่งอนุภาคขนาด 1 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มเดินในอีก 7 ปีต่อมา ด้วยเหตุผลด้านค่าพลังงานที่ต้องใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องเร่งอนุภาคที่ห้องปฏิบัติการบรูกแฮเวนได้ถูกสร้างสำเร็จก่อนหน้าที่เครื่องของมหาวิทยาลัยจะสามารถเดินเครื่องได้[12]
ในปี พ.ศ. 2490 ปีเตอร์ เมเดวาร์ (Peter Medewar) ศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยา ได้ศึกษาผลของภูมิคุ้มกันที่มีต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ ในงานของเขา ได้ศึกษาการปลูกถ่ายผิวหนังวัวและการสร้างเม็ดสีในผิวหนังที่ปลูกใหม่ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2503[13]
ส่วนงาน
[แก้]คณะและภาควิชา
[แก้]มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมแบ่งออกเป็น 6 คณะ แต่ละคณะมีภาควิชาต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการสอนและวิจัยในศาสตร์สาขาต่าง ๆ อาทิ[14]
- คณะอักษรศาสตร์และนิติศาสตร์
- ภาควิชาภาษาอังกฤษ
- ภาควิชาอเมริกันศึกษา
- ภาควิชาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
- ภาควิชาภาษาศาสตร์
- ภาควิชาวัฒนธรรม
- ภาควิชาประวัติศาสตร์และดุริยศาสตร์
- ภาควิชานิติศาสตร์
- ภาควิชาเทววิทยาและศาสนศาสตร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์กายภาพ
- ภาควิชาเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมเคมี
- ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
- ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
- ภาควิชาคณิตศาสตร์
- ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล
- ภาควิชาโลหวิทยาและวัสดุศาสตร์
- ภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาชีวศาสตร์
- ภาควิชาภูมิศาสตร์
- ภาควิชาโลกศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
- ภาควิชาจิตวิทยา
- ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
- คณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์
- ภาควิชามะเร็ง
- ภาควิชาแพทยศาสตร์คลินิกและทดลอง
- ภาควิชาทันตแพทยศาสตร์
- ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์และประชากรศาสตร์
- ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน
- คณะสังคมศาสตร์
- ภาควิชาบริหารธุรกิจ
- ภาควิชาครุศาสตร์
- ภาควิชารัฐศาสตร์
- ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีศูนย์วิจัยต่าง ๆ ได้แก่ แผนกพัฒนานานาชาติ สถาบันการปกครองท้องถิ่น ศูนย์ศึกษาแอฟริกันตะวันตก ศูนย์รัสเซียและยุโรปตะวันออก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์ และสถาบันเชคสเปียร์
ศูนย์พัฒนานานาชาติ
[แก้]ศูนย์พัฒนานานาชาติ (International Development Department) ของมหาวิทยาลัยถูกก่อตั้งเพื่อศึกษาวิจัยด้านการลดความยากจนในประเทศด้อยพัฒนา โดยอาศัยการบริหารจัดการที่เป็นธรรม ศูนย์ฯ เป็นสถาบันศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาด้านการพัฒนาและการลดความยากจนที่มีชื่อเสียงของโลกแห่งหนึ่ง[15][16]
ส่วนงานนอกพื้นที่หลักของมหาวิทยาลัย
[แก้]นอกเหนือจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันและแซลลีโอ๊คแล้ว มหาวิทยาลัยมีส่วนงานที่ตั้งที่อื่นได้แก่
- สถาบันเชคสเปียร์ (Shakespear Institute) ตั้งที่เมืองสแตรตฟอร์ดอะพอนเอวอน จังหวัดวอริกเชอร์ เพื่อเป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาด้านกวีนิพนธ์ของวิลเลียม เชคสเปียร์ รวมทั้งบทกวียุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
- สถาบันไอร์เอิร์นบริดจ์ (Ironbridge Institute) ตั้งที่เมืองไอร์เอิร์นบริดจ์ จังหวัดชรอปเชอร์ เพื่อเป็นสถาบันบัณฑิตศึกษาด้านมรดกทางวัฒนธรรม
- คณะทันตแพทยศาสตร์ ตั้งที่ใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮม ถือเป็นคณะทันตแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ
- ศูนย์สันทนาการเรย์มอนด์ พรีสลีย์ (Raymond Priestley Centre) ตั้งที่ตำบลโคนิสตัน จังหวัดคัมเบรีย ใช้เป็นศูนย์สันทนาการของมหาวิทยาลัยและสถานที่ฝึกเดินสำรวจ[17]
- หอดูดาวมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ตั้งใกล้ ๆ กับสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัย ห่างจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันไป 5 กิโลเมตรทางใต้ ด้วยเหตุผลด้านความมืดและแสงไฟรบกวนในเมืองอันอาจกระทบต่อการสังเกตการณ์ เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดยฟรานซิส แกรห์ม-สมิท (Francis Graham-Smith) นักดาราศาสตร์หลวงในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี[18][19]หอดูดาวของมหาวิทยาลัยประกอบด้วยกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบแคสซิเกรนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว (เลขเอฟ f/19) กล้องโทรทรรศน์ยี่ห้อมีด (Meade) รุ่น LX200R (เลขเอฟ f/6.35) และกล้องขนาดเล็กสำหรับใช้ในงานสังเกตการณ์ทั่วไป[20]
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ตราอาร์มของมหาวิทยาลัยออกแบบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 โดยสำนักมุรธาธรแห่งสหราชอาณาจักร (College of Arms) ตัวตราประกอบด้วยสิงห์สองเศียรด้านซ้าย ส่วนด้านขวาเป็นนางเงือกถือกระจกและหวี
ที่ตั้ง
[แก้]วิทยาเขตเอดจ์บาสตัน
[แก้]มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งห่างจากใจกลางเมืองเบอร์มิงแฮมราว ๆ 3 km ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ในท้องที่ตำบลเอดจ์บาสตัน (Edgbaston) ซึ่งได้รับบริจาคจากตระกูลคาลทอร์ป ซึ่งเป็นตระกูลขุนนางสืบทอดหลายชั่วคน เงินทุนประเดิมส่วนหนึ่งได้จากการอุทิศของแอนดรูว์ คาร์เนอกี (Andrew Carnegie) เพื่อให้เป็น "โรงเรียนวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ชั้นนำ"[21]ตามอย่างมหาวิทยาลัยคอร์เนล ซึ่งตั้งที่เมืองอีทากา เทศมณฑลทอมป์กิน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[22] นอกจากนี้ชาร์ลส์ โฮลครอฟต์ (Charles Holcroft) ยังได้ช่วยสมทบทุนร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาอื่นอีกด้วย[23]
ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยหอนาฬิกาขนาดใหญ่ชื่อโอลด์โจ (Old Joe) ตามชื่อของนายกสภาคนแรกซึ่งมีบทบาทอย่างสูงต่อการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ออกแบบโดยอาศัยต้นแบบที่หอนาฬิกาตอร์เดลมังเจีย (Torre del Mangia) เมืองซีเอนา (Siena) ประเทศอิตาลี [24] ครั้นสร้างเสร็จหอนาฬิกาดังกล่าวได้กลายเป็นอาคารที่สูงที่สุดในเมืองเบอร์มิงแฮม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2512 จึงถูกทำลายสถิติไป ถึงกระนั้นหอนาฬิกาดังกล่าวก็ยังคงเป็นอาคารสูงอันดับที่สามในเมือง และเป็นหนึ่งในห้าสิบอันดับอาคารสูงในสหราชอาณาจักรอีกด้วย[25]
นอกจากหอนาฬิกาแล้ว ยังมีอาคารแอสตัน เว็บ (Aston Webb) อันเป็นหอประชุมของมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อตามสถาปนิกคนหลัก (คนรองชื่ออินเกรส เบลล์ (Ingress Bell)) ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐแอคคริงตัน (Accrington red brick) ซึ่งเป็นอิฐสีแดงคุณภาพดี แข็งแรง มีชื่อตามสถานที่ผลิตคือ ตำบลแอคคริงตัน จังหวัดแลงคาเชอร์ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้ฉายาว่ามหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่งที่ก่อตั้งในยุคเดียวกัน มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมได้รับคำชื่นชมว่า "เป็นมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยอาคารหลากหลายรูปแบบยิ่ง"[26]
ในบริเวณมหาวิทยาลัยมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระราชาธิบดีจอร์จที่หนึ่ง ซึ่งชะลอมาจากกรุงดับลินเมื่อ พ.ศ. 2480 มาไว้ที่หน้าสถาบันศิลปกรรมศาสตร์บาร์เบอร์ (Barber Institute of Fine Arts) แต่ตัวอนุสาวรีย์หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2265[27]
หลังจากที่มหาวิทยาลัยดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยได้จัดหาที่ดินเพิ่มเติมจากนิคมคาลทอร์ปเพื่อใช้สร้างหอพักนักศึกษา[28] โดยชั้นแรกสร้างหอพักหญิงพร้อมสระน้ำ มีชื่อได้แก่ ตึกริดจ์ ตึกวิดดริงตัน และตึกเลค เมื่อปี พ.ศ. 2505 ส่วนตึ่กไฮ (ปัจจุบันคือตึกเชมเบอร์เลน) ใช้เป็นหอพักชาย[29] รวมทั้งได้จัดให้มีการสร้างบ้านพักอาจารย์ โรงอาหาร และอาคารคณะพาณิชยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อาคารแอชลีย์) โดยทั้งหมดเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2508[8] ในส่วนของอาคารแอชลีย์ซึ่งปัจจุบันเป็นอาคารอนุรักษ์แล้ว[30] มีลุกษณะเป็นตึกรูปทรงกระบอกสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์ ภายนอกประกอบด้วยคอนกรีตหล่อ[8]
นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงซ่อมสร้างอาคารต่าง ๆ อาทิ
อาคารที่สร้างในยุคต่อมา ได้แก่ อาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ ซึ่งออกแบบโดยฟิลิป ดาวสัน (Philip Dowson) สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2510 และได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519 นอกเหนือจากนี้ มหาวิทยาลัยได้สร้างหอพักลูคัส (Lucas House) ขึ้นเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่มากขึ้น หอพักดังกล่าวสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2510 เช่นกัน
- พ.ศ. 2510 สร้างอาคารพลศึกษา อาคารภาควิชาเหมืองแร่ อาคารคณะแพทยศาสตร์ หอพักลูคัส (Lucas House)[30] อนึ่ง อาคารภาควิชาเหมือนแร่ได้รับสถานะอาคารอนุรักษ์เมื่อ พ.ศ. 2519
- พ.ศ. 2511 สร้างอาคารภาควิชาครุศาสตร์เสร็จสิ้น เป็นอาคารแปดชั้นมีห้องบรรยาย ห้องปฏิบัติการและห้องพักอาจารย์ หลังคาของตึกทำจากทองแดง[8]
- พ.ศ. 2512 สร้างอาคารมัวร์เฮด (Muirhead Tower) ตั้งตามชื่อของจอห์น มัวร์เฮด (John Muirhead) ศาสตราจารย์สาขาปรัชญาคนแรกของมหาวิทยาลัย[31][32]) ความสูง 16 ชั้น[8] ปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการคณะสังคมศาสตร์และห้องสมุดแคดเบอรี (Cadbury Library)
- พ.ศ. 2552 สร้างหอแสดงดนตรีบรามอลล์ ติดกับอาคารแอสตันเว็บ[33]
- พ.ศ. 2555 สร้างศูนย์กีฬาในร่มมูลค่า 175 ล้านปอนด์[34]
นอกเหนือจากอาคารเรียนแล้ว ยังมีสวนพฤกษศาสตร์วินเทอร์บอร์น ซึ่งมีพื้นที่ขนาด 24,000 ตารางเมตร และป้ายหยุดรถไฟให้บริการภายในมหาวิทยาลัย
วิทยาเขตเซลลีโอ๊ค
[แก้]วิทยาเขตเซลลีโอ๊คตั้งห่างจากวิทยาเขตเอดจ์บาสตันลงไปทางใต้เล็กน้อย ใช้เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอนด้านเทววิทยา สังคมสงเคราะห์ และครุศาสตร์[35] แต่เดิมเป็นที่ตั้งของคณะอาศัย (Colleges) จำนวนหนึ่งซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงสองแห่งที่เปิดดำเนินการอยู่ คือ วูดบรุกคอลเลจ (Woodbrook College) และเฟอร์ครอฟต์คอลเลจ (Fircroft College) คณะอาศัยทั้งสองปัจจุบันมีสถานะเป็นธรรมสถาน และสถานศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่[36]
ภายในวิทยาเขต มีศูนย์วิทยทรัพยากรออร์ชาร์ด ซึ่งเป็นห้องสมุดหนึ่งในหลายห้องของมหาวิทยาลัย[37] นอกจากนี้ยังมีหอแสดงศิลปะขนาด 200 ที่นั่ง[38] และโรงเรียนสาธิตอีกด้วย[39]
อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Ives et al. 2000, p. 238
- ↑ 2.0 2.1 "Mason College". Birmingham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 9 October 2014. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Mason" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ 3.0 3.1 Ives et al. 2000, p. 12 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "The First Civic University" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ University guide 2014: University of Birmingham, The Guardian, 8 June 2008. Retrieved 11 June 2010
- ↑ "History of Medicine Unit – University of Birmingham". Medicine.bham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-01. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
- ↑ Gosden, Peter. "From County College To Civic University, Leeds, 1904." Northern History 42.2 (2005) : 317-328. Academic Search Premier. Web. 12 Nov. 2014.
- ↑ http://www.birmingham.ac.uk/Documents/university/our-impact.pdf
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Hickman, Douglas (1970). Birmingham. Studio Vista Limited.
- ↑ Ives et al. 2000, p. 342.
- ↑ Ives et al. 2000, p. 343.
- ↑ "Norman Haworth - Biographical". Nobelprize.org. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
- ↑ Brown, Laurie M.; Dresden, Max; Hoddeson, Lillian (1989). Pions to Quarks: Particle Physics in the 1950s: Based on a Fermilab Symposium. Cambridge University Press. pp. 167–9. ISBN 0-521-30984-0.
- ↑ "Peter Medawar - Biographical". Nobelprize.org. The Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 July 2014.
- ↑ "Our college structure". birmingham.ac.uk. 2015. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
- ↑ "Department profile: University of Birmingham, School of Government & Society". Prospects. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
- ↑ "Birmingham University, School of Public Policy". The Independent. 21 December 2008. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
- ↑ "Archive History Section: The History of the University Observatory". sr.bham.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-23. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
- ↑ "Astrophysics & Space Research Group :: The University of Birmingham Observatory :: History". สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.
- ↑ "Astrophysics & Space Research Group :: The University of Birmingham Observatory". sr.bham.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 29 April 2010.
- ↑ Burke, Edmund (1900). The Annual Register. Rivingtons. p. 27. ISBN 1-60030-829-5.
- ↑ The Carnegie Committee, Cornell Alumni News, II (10), 29 November 1899, p. 6
- ↑ Ray Smallman, A hundred years of distinction เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BUMS centenary lecture, p. 5
- ↑ Stephens, W.B. (1964). "A History of the County of Warwick: Volume 7". London: Oxford University Press. pp. 43–57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
- ↑ "Britain's tallest 100 buildings by height". Skyscraper News. สืบค้นเมื่อ 2008-08-09.
- ↑ Foster, 2005, p.242-3.
- ↑ Ives et al. 2000, p. 230; Rupert Gunnis, Dictionary of British Sculptors 1660–1851 (1968 revised edition), p.281 identifies it as a 1717 work for Essex Bridge, Dublin.
- ↑ Ives et al. 2000, p. 304
- ↑ Ives et al. 2000, p. 338
- ↑ 30.0 30.1 "Signalling the Sixties: 1960s Architecture in Birmingham". West Midlands: Birmingham.gov.uk. 13 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
- ↑ Reisz, Matthew (24 September 2009). "Original features". Times Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2009-11-08.
- ↑ Takagi, Dr R. "Muirhead Tower of the University of Birmingham". Takagi-ryo.ac. สืบค้นเมื่อ 2010-04-29.
- ↑ "New Concert Hall for Birmingham to Open in 2012 on University Campus". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
- ↑ "University proposes £175m transformation of historic Edgbaston campus". Birmingham.ac.uk. 9 August 2011.
- ↑ http://hellogoodbyesellyoak.blogspot.co.uk/p/history.html
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
- ↑ https://intranet.birmingham.ac.uk/as/libraryservices/library/about/libraries/olrc.aspx
- ↑ http://www.birmingham.ac.uk/Documents/university/selly-oak-campus-map.pdf
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-01-29.
บรรณานุกรม
[แก้]- Foster, A. (2005). Birmingham (Pevsner Architectural Guides). London: Yale University Press. ISBN 0-300-10731-5.
- Ives, Eric William; Schwarz, L. D.; Drummond, Diane K. (2000). The First Civic University: Birmingham 1880-1980 An Introductory History. Birmingham, UK: University of Birmingham Press. ISBN 1-902459-07-5.
- The University of Birmingham Yearbook 2002–2003.
- Cheesewright, M. (1975). Mirror to a Mermaid. Birmingham: The University of Birmingham Press. ISBN 0-7044-0130-4.
- Braithwaite, L. (1987). University of Birmingham Architectural Trail. Birmingham: The University of Birmingham Press. ISBN 0-7044-0890-2.
- Hughes, A. (1950). The University of Birmingham : A Short History. Birmingham: The University of Birmingham Press.