ภาพอูกิโยะ
ภาพอูกิโยะ (ญี่ปุ่น: 浮世絵; โรมาจิ: Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอโดะ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้
คำว่า “อูกิโยะ” ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (ญี่ปุ่น: 浮かれる; โรมาจิ: ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคาบูกิ ซูโม่ เกอิชา หญิงงามเมืองทั้งระดับทั่ว ๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณโยชิมูระ ซึ่งมีชื่อเรียกว่าโออิระ (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่าชุงงะ (ญี่ปุ่น: 春画; โรมาจิ: shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น
นักประพันธ์ร่วมสมัยอาซาอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อูกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของอูกิโยะ") ที่เขียนในปี ค.ศ. 1661 โดยตอนหนึ่งได้บรรยายถึงความหมายในยุคหลังว่า:
... ใช้ชีวิตอย่างไม่คิดหน้าคิดหลัง, ดื่มด่ำกับความงามของดวงจันทร์ หิมะ ดอกซากูระ ใบเมเปิล ร้องเพลง ดื่มเหล้าสาเก ไม่วิตกกับความขัดสนที่จะตามมา ปล่อยตัวปล่อยใจ ไม่มีความกังวล .. เฉกเช่น น้ำเต้าที่ล่องลอยไปกับสายน้ำ... นี่คือสิ่งที่เรียกว่า อูกิโยะ[1]
ลักษณะศิลปะที่มีวิวัฒนาการขึ้นมาจากปรัชญานี้เป็นที่นิยมกันในวัฒนธรรมเมืองของเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เริ่มจากงานที่มีสีเดียวของฮิชิกาวะ โมโรโนบุ ในคริสต์ทศวรรษ 1670 ในระยะแรกภาพพิมพ์ก็ใช้เพียงหมึกอินเดีย (India ink) ต่อมาก็มีการเพิ่มสีด้วยแปรง แต่เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซูซูกิ ฮารูโนบุ ก็คิดค้นวิธีพิมพ์หลายสีขึ้นที่เรียกว่า “นิชิกิ-เอะ” (nishiki-e) ขึ้น
ภาพอูกิโยะเป็นศิลปะที่ราคาพอประมาณเพราะสามารถผลิตเป็นจำนวนมากได้ และเป็นงานที่สร้างขึ้นสำหรับชาวเมืองผู้ที่ส่วนใหญ่แล้วก็ฐานะไม่ดีพอที่จะซื้องานที่เป็นต้นฉบับได้ หัวข้อที่สร้างในระยะแรกก็เป็นชีวิตในเมือง โดยเฉพาะจากบริเวณแหล่งสำราญ ที่รวมทั้งสตรีผู้มีความงาม นักมวยปล้ำซูโม่ และนักแสดงละครที่มีชื่อเสียง ต่อมาหัวเรื่องก็ขยายไปรวมภูมิทัศน์ที่ก็กลายมาเป็นที่นิยม หัวข้อทางการเมือง และ ชีวิตของชนชั้นที่เหนือกว่าที่กล่าวเป็นหัวข้อที่ทำได้แต่หาดูได้ยาก แต่กิจกรรมทางเพศซึ่งก็ไม่ห้ามจะพบได้บ่อยในงานพิมพ์ภาพ แต่ศิลปินและผู้พิมพ์บางครั้งก็จะถูกลงโทษเมื่อสร้างภาพ "ชุงงะ" ที่ชัดแจ้ง
ศิลปินภาพอูกิโยะคนสำคัญ
[แก้]- ฮิชิกาวะ โมโรโนบุ (ค.ศ. 1618-ค.ศ. 1694)
- โทริอิ คิโยโนบุ ที่ 1 (ราว ค.ศ. 1664-ค.ศ. 1729)
- ซูซูกิ ฮารูโนบุ (ค.ศ. 1724-ค.ศ. 1770)
- โทริอิ คิโยนางะ (ค.ศ. 1752-ค.ศ. 1817)
- คิตากาวะ อูตามาโระ (ราว ค.ศ. 1753-ค.ศ. 1806)
- ชารากุ (มีงานระหว่าง ค.ศ. 1794-ค.ศ. 1795)
- โฮกูไซ (ค.ศ. 1760-ค.ศ. 1849)
- โทโยกูนิ (ค.ศ. 1769-ค.ศ. 1825)
- เคไซ เอเซ็ง (ค.ศ. 1790-ค.ศ. 1848)
- อูตากาวะ คูนิซาดะ (ค.ศ. 1786-ค.ศ. 1865)
- ฮิโรชิเงะ (ค.ศ. 1797-ค.ศ. 1858)
- อูตากาวะ คูนิโยชิ (ค.ศ. 1797-ค.ศ. 1861)
- คูนิจิกะ (ค.ศ. 1835-ค.ศ. 1900)
- โทโยฮาระ ชิกาโนบุ (ค.ศ. 1838-ค.ศ. 1912)
- โยชิโตชิ (ค.ศ. 1839-ค.ศ. 1892)
- โองาตะ เก็กโกะ (ค.ศ. 1859-ค.ศ. 1920)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Richard Douglas Lane. Images from the Floating World. Old Saybrook, CT: Konecky & Konecky, 1978. p11.
- Lambourne, Lionel. Japonisme: Cultural Crossings Between Japan and the West. London, New York: Phaidon Press, 2005. ISBN 0-7148-4105-6
- Friese, Gordon. Hori-shi. 249 facsimiles of different seals from 96 Japanese engravers. Unna: Verlag im bücherzentrum, 2008.
- Newland, Amy Reigle. The Hotei Encyclopedia of Japanese Woodblock Prints. Amsterdam: Hotei Publishing, 2005. ISBN 90-74822-65-7
- Roni Uever, Susugu Yoshida (1991) Ukiyo-E: 250 Years of Japanese Art, Gallery Books, 1991, ISBN 0-8317-9041-5
- Yamada, Chisaburah F. Dialogue in Art: Japan and the West. Tokyo, New York: Kodansha International Ltd., 1976. ISBN 0-87011-214-7
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ภาพอูกิโยะ
- A Guide to the Ukiyo-e Sites of the Internet เก็บถาวร 2007-09-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ukiyo-e in "History of Art" เก็บถาวร 2016-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- History of Ukiyoe
- Ukiyoe collection from Edo-Tokyo Museum
- Kuniyoshi Project เก็บถาวร 2007-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Gallery with a lot of info
- Overviews of the Printmaking Process detailed description of the stages of printmaking with many illustrations
- Viewing Japanese Prints เก็บถาวร 2006-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แม่แบบ:Jaanus
- What is a Print? An excellent flash-demonstration of the printmaking process
- Minneapolis Institute of Arts; Video: Pictures of the Floating World เก็บถาวร 2007-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Universes in Collision: Men and Women in Nineteenth Century Japanese Prints เก็บถาวร 2002-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Hokusai Online Exhibition; Freer Gallery of Art and Arthur M. Sackler Gallery, Smithsonian Institution เก็บถาวร 2006-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.loc.gov/exhibits/ukiyo-e/
- http://learningobjects.wesleyan.edu/blockprinting เก็บถาวร 2006-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ukiyo-E Techniques, an interactive collection of videos and animations demonstrating the techniques of master printmaker Keiji Shinohara.
- Ukiyo-e Caricatures 1842-1905 Database of the Department of East Asian Studies of the University of Vienna
- Japanese Erotic Art in the "History of Art" เก็บถาวร 2007-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Biographies of over 100 Japanese print-making artists