ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์ยากบิม เซเคมเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซคาเอนเร ยากบิม หรือ ยากบมู[4] เป็นผู้ปกครองในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์โบราณ ถึงแม้ว่ายังมีข้อถกเถียงเกี่ยวลำดับของราชวงศ์หรือช่วงเวลารัชสมัยของพระองค์อยู่ แต่นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก คิม ไรโฮลต์ เชื่อว่าพระองค์น่าจะทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากดินแดนลิแวนต์[1] ในขณะที่การศึกษาเก่าส่วนใหญ่เชื่อว่าพระองค์เป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[5]

ข้อพิสูจน์ตัวตน

[แก้]

พระนามของพระองค์ไม่เคยปรากฏอยู่ในคาร์ทูช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เฉพาะในการเขียนพระนามของฟาโรห์ อย่างไรก็ตาม บนตราประทับของพระองค์ ซึ่งปรากฏพระนามว่า "เทพเจ้าอันดีงาม เซคาเอนเร" (หรือเรียกอย่างง่า ว่า "เซคาเอนเร") และ "พระราชโอรสแห่งรา, ยากบิม"[5]

ไม่ปรากฏหลักฐานอย่างแน่ชัดว่าพระนามครองราชย์ของพระองค์ คือ เซคาเอนเร โดยทฤษฎีดังกล่าวมีพื้นฐานมาจากลักษณะของตราประทับและเสนอโดยวิลเลียม แอรส์ วอร์ด[6] และต่อมาได้อธิบายเพิ่มเติมโดยไรโฮลต์[7] แต่ดาฟนา เบน-ทอร์โต้แย้งข้อพิสูจน์ตัวตนดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าตราประทับของผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นระยะเวลาใกล้เคียงกันเกินกว่าจะสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวบนพื้นฐานของลักษณะการออกแบบเพียงอย่างเดียว[4]

ถ้าหากสมมติว่าวอร์ดกล่าวถูก เซคาเอนเร ยากบิม ได้รับการพิสูจน์ตัวตนด้วยตราประทับจำนวน 123 ชิ้น รองจากของผู้ปกครองพระนาม เชชิ[8] ซึ่งมีจำนวน 396 ชิ้นเท่านั้น จากข้อมูลดังกล่าว ไรโฮลต์ประเมินว่าพระองค์จะทรงครองราชย์ได้ประมาณ 25 ปี ในช่วงระหว่าง 1805–1780 ปีก่อนคริสตกาล[3]

ราฟาเอล กิเวียน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอิสราเอลได้ระบุว่า ยากบิมกับผู้ปกครองอีกพระองค์จากช่วงเวลาเดียวกัน คือ ยาอัมมู นุบวอเซอร์เร ว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ในขณะที่เยือร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธได้เปรียบเทียบพระองค์กับซาลิทิส ซึ่งทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ตามที่แมนิโธกล่าว[1]

ตราประทับที่ปรากฏพระนามนำหน้าของผู้ปกครองพระองค์นี้ถูกค้นพบในเมืองเทล เอล-อัจจูล ในฉนวนกาซาโดยฟลินเดอรส์ เพตรีในปี ค.ศ. 1933[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Ryholt (1997), p. 409
  2. Ryholt (1997), p. 96
  3. 3.0 3.1 3.2 Sekhaenre Yakbim on Egyphica.net
  4. 4.0 4.1 Ben-Tor (2010), pp. 99ff
  5. 5.0 5.1 Sekhaenre Yakbim on Egyphica.net
  6. Ward (1984), pp. 163ff
  7. Ryholt (1997), pp. 41–47
  8. Ryholt (1997), p. 199
  9. Flinders, Petrie (1933). Ancient Gaza Chapter III: Scarabs Tell El Ajjul (London, 1933).{{cite book}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Ben-Tor, D. (2010). "Sequences and chronology of Second Intermediate Period royal-name scarabs, based on excavated series from Egypt and the Levant". ใน Marcel Marée (บ.ก.). The Second Intermediate Period (Thirteenth–Seventeenth Dynasties): Current Research, Future Prospects. Orientalia Lovaniensa Analecta. Vol. 192. Leuven: Peeters. pp. 91–108. ISBN 9789042922280.
  • Ryholt, K. S. B. (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 BC. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0.
  • Ward, W. A. (1984). "Royal-name scarabs". ใน Olga Tufnell (บ.ก.). Scarab Seals and their Contribution to History in the Early Second Millennium B.C. Studies on Scarab Seals. Vol. 2. Warminster: Aris & Phillips. pp. 151–192. ISBN 9780856681301.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]