พัสเซา
พัสเซา | |
---|---|
Donaulände และ เมืองเก่า | |
พิกัด: 48°34′28″N 13°27′53″E / 48.57444°N 13.46472°E | |
ประเทศ | เยอรมนี |
รัฐ | ไบเอิร์น |
จังหวัด | Niederbayern |
อำเภอ | นครปลอดอำเภอ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี (2020–26) | Jürgen Dupper[1] (SPD) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 69.58 ตร.กม. (26.86 ตร.ไมล์) |
ความสูงจุดสูงสุด | 447 เมตร (1,467 ฟุต) |
ความสูงจุดต่ำสุด | 294 เมตร (965 ฟุต) |
ประชากร (2020-12-31)[2] | |
• ทั้งหมด | 52,415 คน |
• ความหนาแน่น | 750 คน/ตร.กม. (2,000 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+01:00 (CET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+02:00 (CEST) |
รหัสไปรษณีย์ | 94001–94036 |
รหัสโทรศัพท์ | 0851 |
ทะเบียนพาหนะ | PA |
เว็บไซต์ | www.passau.de |
พัสเซา (เยอรมัน: Passau, ภาษาเยอรมัน: [ˈpasaʊ] ( ฟังเสียง); บาวาเรียกลาง: Båssa) เป็นนครในนีเดอร์ไบเอิร์น ประเทศเยอรมนี มีอีกชื่อว่า Dreiflüssestadt ("นครสามแม่น้ำ") เนื่องจากแม่น้ำดานูบไหลบรรจบกับแม่น้ำอินน์ทางใต้กับแม่น้ำอิลซ์ทางเหนือ
ประชากรในพัสเซามีประมาณ 50,000 คน ในจำนวนนี้มีประมาณ 12,000 คน[3]เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยพัสเซาที่มีชื่อเสียงในด้านสถาบันเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย เทววิทยา วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวัฒนธรรมศึกษาของประเทศเยอรมนี[4]
ประวัติ
[แก้]ในศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ. สมาชิกเผ่า Boii หลายคนถูกพวกโรมันดันออกาจากอิตาลีเหนือไปทางเหนือข้ามเทือกเขาแอลป์ พวกเขาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ชาวโรมันตั้งชื่อว่า โบอิโอดูรุม (Boiodurum, จากภาษากอล Boioduron) ปัจจุบันอยู่ในเขต Innstadt ของพัสเซา[5]
พัสเซาเคยเป็นอาณานิคมโรมโบราณที่มีชื่อว่า บาตาวิส (Batavis) ภาษาละตินแปลว่า "เพื่อ บาตาวี " โดยบาตาวีเป็นชนเผ่าเจอร์แมนิกโบราณที่นักเขียนยุคคลาสสิกมักกล่าวถึง
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 5 นักบุญเซเวรีนุสสถาปนาอารามที่นี่ พื้นที่นี้ถูกชนอลามันน์เข้ารุกรานหลายครั้ง[6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ณ วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 2013 ย่านเมืองเก่าประสบกับน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่เป็นผลจากฝนตกติดต่อกันหลายวันและบริเวณนครตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของแม่น้ำ 3 สาย[7] โดยมีการจัดแสดงระดับน้ำท่วมสูงสุดตั้งแต่ ค.ศ. 1501 ไว้ที่ผนังศาลากลางเมืองเก่า[8] น้ำท่วมถึงฐานกำแพงนั้นเฉลี่ยทุก ๆ 5 ปี[8]: 19
เขตบริหาร
[แก้]ก่อน ค.ศ. 2013 นครพัสเซาแบ่งออกเป็น 8 เขต ซึ่งโดยทั่วไปจะสอดคล้องกับเขตเทศบาลแยกเดิม จากนั้นตั้งแต่ ค.ศ. 2013 นครนี้แบ่งออกเป็น 16 เขตที่เรียกว่าพื้นที่สภาเปิด ("Bürgerversammlungsgebiete")
เมืองพี่น้อง
[แก้]พัสเซาเป็นเมืองพี่น้องกับเมืองดังนี้:[9]
- แฮ็กเกินแซ็ก สหรัฐ (1952)
- กาญ-ซูร์-แมร์ ประเทศฝรั่งเศส (1973)
- แคร็มส์อันเดร์โดเนา ประเทศออสเตรีย (1974)
- อากิตะ ประเทศญี่ปุ่น (1984)
- มาลากา ประเทศสเปน (1987)
- แช็สแกบูแยโยวิตแซ ประเทศเช็กเกีย (1993)
- หลิ่วโจว ประเทศจีน (1999)
- แวสเปรม ประเทศฮังการี (1999)
- Montecchio Maggiore ประเทศอิตาลี (2003)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Liste der Oberbürgermeister in den kreisfreien Städten, accessed 19 July 2021.
- ↑ "Tabellenblatt "Daten 2", Statistischer Bericht A1200C 202041 Einwohnerzahlen der Gemeinden, Kreise und Regierungsbezirke". Bayerisches Landesamt für Statistik (ภาษาเยอรมัน). June 2021.
- ↑ Universität Passau. "Die Universität im Überblick". สืบค้นเมื่อ 6 August 2021.
- ↑ "Wir über uns" [About Us]. Passau University: Catholic Theology Faculty. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-13.
- ↑ Collis, John (2003). The Celts: Origins, Myth and Inventions. Tempus Publishing. ISBN 978-0752429137.
- ↑ Drinkwater, John F. (2007). The Alamanni and Rome 213-496 (Caracalla to Clovis). Oxford University Press. ISBN 978-0-19929568-5.
- ↑ "Floods threaten Dresden as Prague river levels fall". BBC News. 4 June 2013.
- ↑ 8.0 8.1 Eychaner, James H. (2015). "Lessons from a 500-year record of flood elevations" (PDF) (Technical Report 7 ed.). Madison, Wisconsin: Association of State Floodplain Managers. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Partnerschaften und Städtefreundschaften". passau.de (ภาษาเยอรมัน). Passau. สืบค้นเมื่อ 2021-03-07.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Huber, Gerald (2010). Kleine Geschichte Niederbayerns: überarbeitete und ergänzte Auflage. Regensburg: Friedrich Pustet. ISBN 978-3-7917-2048-7.
- Wagner, Christoph (2007). Entwicklung, Herrschaft und Untergang der nationalsozialistischen Bewegung in Passau 1920 bis 1945. Berlin: Frank & Timme. ISBN 978-3-86596-117-4. Passau, Universität, Dissertation, 2005
- Weithmann, Michael W. (2004). Kleine Passauer Stadtgeschichte. Regensburg: Friedrich Pustet. ISBN 978-3791718705.
- Jeep, John M., บ.ก. (2001). "Passau". Medieval Germany: an Encyclopedia. Garland Publishing. ISBN 978-0824076443.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาเยอรมัน)
- Passau Wiki (ในภาษาเยอรมัน)
- Passau at Flickr
- Passau Cathedral, which is famous for its organ with 17,774 pipes and 233 registers - the biggest church organ on Earth - Zoomable map and satellite overview (Google Maps).
- First stop for new arrivals in Germany: bureaucracy (My Way news, September 16th, 2015)