พอร์เชอ
สำนักงานใหญ่พอร์เชอในชตุทท์การ์ท | |
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
---|---|
ก่อตั้ง | 1931 | ใน ชตุทท์การ์ท, เยอรมนี
ผู้ก่อตั้ง | ดร.แฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ วศ.ด.กมศ. |
สำนักงานใหญ่ | ชตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมนี |
ผลิตภัณฑ์ | รถยนต์ |
บริการ | รถยนต์, บริการด้านเซอร์วิสเครื่องยนต์ |
รายได้ | 25.8 หมื่นล้านยูโร (2018) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 5,314,000,000 ยูโร (พ.ศ. 2564) |
รายได้สุทธิ | 4,068,000,000 ยูโร (พ.ศ. 2564) |
สินทรัพย์ | 51,382,000,000 ยูโร (พ.ศ. 2564) |
เจ้าของ | เครือฟ็อลคส์วาเกิน |
พนักงาน | 32,325 คน (2018) |
บริษัทแม่ | Porsche Automobil Holding SE |
บริษัทในเครือ | Mieschke Hofmann und Partner (81.8%) Porsche Consulting group |
เว็บไซต์ | https://www.porsche.com/ |
บมจ. ดร. ฟ. พอร์เชอ วศ.ด.กมศ. (เยอรมัน: Dr.-Ing. h.c. F. Porsche AG) หรือย่อเป็น บมจ.พอร์เชอ (Porsche AG) เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของประเทศเยอรมนี มุ่งเน้นผลิตรถยนต์กลุ่มสมรรถนะสูง ทั้งรถยนต์สปอร์ตคาร์, เอสยูวี และรถเก๋ง บมจ.พอร์เชอมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองชตุทท์การ์ท และมีหุ้นใหญ่อันดับสองคือเครือฟ็อลคส์วาเกิน และและผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งพอร์เชอเอาโทโมบิลโฮลดิงส์ รถยนต์พอร์เชอที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันได้แก่ 718 Boxster/Cayman, 911, Panamera, Macan, Cayenne และ Taycan
ประวัติ
[แก้]ดร.แฟร์ดีนันท์ พอร์เชอ ก่อตั้งบริษัทนี้ขึ้นในปีค.ศ. 1931 มีสำนักงานหลักอยู่ในเมืองชตุทท์การ์ท[1] เดิมทีรับงานเป็นที่ปรึกษาและช่วยออกแบบรถยนต์เท่านั้น[1] ไม่ได้คิดจะสร้างยี่ห้อรถยนต์ของตัวเอง หนึ่งในงานด้านการปรึกษาของบริษัทนี้คือการรับงานจากรัฐบาลเยอรมันให้ออกแบบรถยนต์ราคาถูกเพื่อประชาชนชาวเยอรมัน และก็ได้ออกมาเป็น "รถเต่าฟ็อลคส์วาเกิน" หนึ่งในรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาลของโลก[2] รถยนต์พอร์เชอ 64 ซึ่งพัฒนาขึ้นในปีค.ศ. 1939 ก็ใช้อะไหล่ส่วนใหญ่ร่วมกับรถเต่า[1]
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[3] ก็ได้ย้ายสายการผลิตไปผลิตรถฟ็อลคส์วาเกินสำหรับทหาร ได้แก่รุ่นคือเบลวาเกิน (Kübelwagen) ผลิตกว่า 52,000 คัน[3] กับรุ่นชวิมวาเกิน (Schwimmwagen) ผลิตกว่า 15,000 คัน นอกจากนี้ บริษัทพอร์เชอยังเป็นผู้ออกแบบรถถังหนักในช่วงสงคราม แม้ว่าบริษัทพอร์เชอจะพ่ายแพ้ต่อบริษัทคู่แข่งในการประมูลผลิตรถถังทีเกอร์ 1 และทีเกอร์ 2 แต่ก็ใช่ว่างานที่จะมาจะสูญเปล่าซะทีเดียว แชสซีที่พอร์เชอออกแบบไว้สำหรับรถถังทีเกอร์ 1 ถูกนำไปใช้เป็นฐานในการสร้างรถถังพิฆาตเอเลอฟันท์ (Elefant) พอร์เชอยังเป็นผู้พัฒนาสุดยอดรถถังหนัก เมาส์ ในช่วงปลายสงคราม[4]
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงในปีค.ศ. 1945 เมืองว็อลฟส์บวร์คอันเป็นที่ตั้งของโรงงานพอร์เชอก็ตกอยู่ในเขตยึดครองของอังกฤษ อดีตสมาชิกพรรคนาซีอย่างดร.พอร์เชอจึงถูกปลดจากตำแหน่งประธานบอร์ดบริหารของฟ็อลคส์วาเกิน ทางการอังกฤษแต่งตั้งพันตรีอีวาน เฮียร์ช นายทหารช่างอังกฤษ เข้ามาควบคุมโรงงานพอร์เชอ[5] และในปลายปีนั้นเอง ดร.พอร์เชอถูกจับกุมในฐานะอาชญากรสงคราม แต่การไต่สวนกลับไม่เคยเกิดขึ้น ตลอดช่วงเวลายี่สิบเดือนที่เขาถูกจองจำ นายแฟร์รี บุตรชายของดร.พอร์เชอ ตัดสินใจตั้งบริษัทสร้างรถยนต์ของตัวเองเนื่องจากเขาไม่พบรถยนต์ที่ตรงตามความต้องการของเขาในตลาด เขายต้องคอยประคับประคองบริษัทที่เขาสร้างนี้ให้ผ่านช่วงเวลาลำบากไปให้ได้
ภายหลังดร.พอร์เชอถูกปล่อยตัวในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1947[6] รถยนต์ยี่ห้อพอร์เชอแบบแรกถูกสร้างขึ้นในโรงเลื่อยในเมืองกมึนด์[6] เมืองชนบทในประเทศออสเตรีย รถยนต์คันต้นแบบนี้ถูกนำไปโชว์แก่ดีลเลอร์รถยนต์หลายแห่งในเยอรมนี และเมื่อมียอดพรีออเดอร์ถึงจำนวนที่เพียงพอ การผลิตเริ่มขึ้นในปีค.ศ. 1948 โดยบริษัทของบุตรชายขึ้นและได้ออกมาเป็นพอร์เชอ 356 บริษัทของลูกชายถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทหลักของบิดาในเมืองชตุทท์การ์ทในปีค.ศ. 1950
รถพอร์เชอ
[แก้]-
พอร์เชอ เคย์แมน
-
พอร์เชอ บ็อคชเตอร์
-
พอร์เชอ พานาเมรา
-
พอร์เชอ คาเยนน์
-
พอร์เชอ มาคันน์
-
พอร์เชอ 911
-
พอร์เชอ เทย์คาน/ไทคานน์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 J. P. Vettraino (23 December 2008). "Porsche at 60: The little sports-car company that could". Autoweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2009. สืบค้นเมื่อ 30 January 2009.
- ↑ "Béla Barényi (1907–1997)". Automotive Hall of Fame. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2009. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2009.
- ↑ 3.0 3.1 Burt, William (2002). Volkswagen Beetle. MotorBooks/MBI Publishing Company. p. 14. ISBN 978-0-7603-1078-6.
- ↑ "Panzerkampfwagen VIII Maus Porsche Typ 205 / Tiger II(P)". Achtung Panzer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-16. สืบค้นเมื่อ 4 May 2011.
- ↑ Mantle, Jonathan (1996). Car wars: fifty years of greed, treachery, and skulduggery in the global marketplace. Arcade Publishing. p. 216. ISBN 978-1-55970-333-8.
- ↑ 6.0 6.1 Meredith, Laurence; Mark Hughes (1995). Original Porsche 356. MotorBooks/MBI Publishing Company. p. 7. ISBN 978-1-870979-58-0.