ชราธิปไตย
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
ชราธิปไตย[1][2] (อังกฤษ: gerontocracy) เป็นระบอบคณาธิปไตยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีผู้ชราเป็นสมาชิกส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของภาคการเมือง โครงสร้างทางการเมืองของหลายประเทศ ยิ่งสมาชิกหรือรอบครัวของชนชั้นปกครองมีอายุมากขึ้น ก็จะมีอำนาจมากขึ้น ทำให้กลุ่มคนผู้มีความชราที่สุดได้ครองตำแหน่งที่มีอำนาจที่สุด ในหลายสังคม กลุ่มผู้ครองอำนาจอาจไม่มีตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นทางการ แต่กลับมีอิทธิพลครอบงำผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยสรุป ชราธิปไตยคือสังคมที่ตำแหน่งผู้นำสงวนไว้แก่ผู้ชรา[3]
ถึงแม้แนวคิดในการให้ผู้ชราเป็นผู้ครองอำนาจจะปรากฎอยู่ในหลายวัฒนธรรม แต่ในโลกตะวันตกนั้น ชราธิปไตยมีรากเหง้ามาจากกรีกโบราณ เพลโตกล่าวว่า "ให้ผู้ชราปกครอง และให้ผู้เยาว์เชื่อฟัง"[4] ตัวอย่างหนึ่งของชราธิปไตยแบบกรีกโบราณอาจเห็นได้จากในนครรัฐสปาร์ตาซึ่งมีคณะผู้ปกครองเรียกว่า เจรูเซีย (Gerousia) อันเป็นคณะบุคคลที่สมาชิกมีอายุอย่างน้อย 60 ปี และดำรงตำแหน่งตลอดชีพ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ว่าด้วยการปกครองแบบ "ชราธิปไตย" : Gerontocracy". 2008-10-28.
- ↑ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (2018-05-15). "ชราธิปไตย (Gerontocracy) : โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์".
- ↑ Maddox, G. L. (1987). The Encyclopedia of aging (p. 284). New York: Springer Pub. Co..
- ↑ Bytheway, B. (1995). Ageism (p. 45). Buckingham: Open University Press.
- ↑ Palmore, E. B. (1999). Ageism: negative and positive (2nd ed., p. 39). New York: Springer.