ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าเอ็ดวี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอ็ดวี (เอ็ดวิก)
พระเจ้าเอ็ดวีใน "ม้วนวงศ์วานของกษัตริย์แห่งอังกฤษ" ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14
กษัตริย์แห่งชนอังกฤษ
ดำรงพระยศ23 พฤศจิกายน ค.ศ.955 - 1 ธันวาคม ค.ศ.959
ก่อนหน้าพระเจ้าเอเดรด
ถัดไปพระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ
พระราชสมภพค.ศ.940
เวสเซ็กซ์ อังกฤษ
สวรรคต1 ตุลาคม ค.ศ.959
กลอสเตอร์ อังกฤษ
ฝังพระบรมศพอาสนวิหารวินเชสเตอร์
คู่อภิเษกเอลฟ์จิฟู (เป็นโมฆะ)
ราชวงศ์เวสเซ็กซ์
พระราชบิดาพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1
พระราชมารดาเอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระเจ้าเอ็ดวี หรือ เอ็ดวิก (อังกฤษ: Edwy หรือ Eadwig) บ้างเรียกผู้งามหมดจด (All-Fair)[1] ทรงเป็นกษัตริย์แห่งชนอังกฤษ ตั้งแต่ ค.ศ. 955 จวบจนเสด็จสวรรคต

พระองค์ทรงพระราชโอรสในพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 1และพระนางเอลฟ์จิฟูแห่งชาฟท์สบรี พระเจ้าเอ็ดวีทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชปิตุลา พระเจ้าเอเดรด เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 15 พรรษา รัชสมัยของพระองค์เป็นที่รู้จักจากความขัดแย้งภายในระหว่างเหล่าขุนนางและนักบวช รวมไปถึงอัครมุขนายกดันสตัน และโอลดา ทรงเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 959 สิริเวลาอยู่ในราชสมบัติประมาณสี่ปี พระศพถูกฝังอยู่ที่อาสนวิหารวินเชสเตอร์ พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ พระราชอนุชาทรงรับราชสมบัติสืบต่อ

ความขัดแย้งกับนักบุญดันสตาน

[แก้]

เอ็ดวิกเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นคนหนุ่มรูปงามมาก และเสน่ห์ยามอยู่ในห้องบรรทมของเอลฟ์จิฟูคนงามเป็นที่จดจำมากกว่ายามอยู่บนพระอาสน์ในที่ประชุมสภา นักบุญดันสตานโกรธที่กษัตริย์ไม่สนใจในหน้าที่ ลากพระองค์ลงจากแท่นบรรทม เอ็ดวีไม่เคยอภัยให้กับการทำลายเกียรติแห่งราชวงศ์ของพระองค์และเกลียดชังดันสตานนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัญหาเริ่มต้นขึ้นในงานเลี้ยงฉลองการราชาภิเษก พระองค์ได้ปลีกตัวออกมาหาความสุขกับเหล่าเลดี้ เอเธลจิฟูที่อาจเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระองค์กับบุตรสาว เอลฟ์จิฟูที่พระองค์ตั้งใจจะอภิเษกสมรสด้วย เหล่าขุนนางไม่พอใจการหนีออกไปของกษัตริย์ และพระองค์ถูกดุนสตานและไซน์ซิก บิชอปแห่งลิชฟิลด์ ลากกลับไปที่งานเลี้ยง เอ็ดวิกไม่พอใจการขัดจังหวะนี้ และหลังจากเหตุการณ์นั้นดุนสตานก็ไม่เคยเป็นที่โปรดปรานของพระองค์อีกเลย เอ็ดวิกถึงขั้นเกลียดดุนสตานเลยก็ว่าได้ และพระองค์ได้ขับไล่เขาออกจากประเทศหลังจากนั้นไม่นาน เรื่องนี้ทำให้เอ็ดวิกไม่เป็นที่โปรดปรานของศาสนจักร

การอภิเษกสมรสที่เป็นโมฆะ

[แก้]

ปีค.ศ.956 เอลฟ์จิฟูที่สืบเชื้อสายมาจากเอเธลเร็ดที่ 1 และเป็นน้องสาวของเอเธลวาลด์ ผู้เขียนพงศาวดาร ได้ขึ้นเป็นพระมเหสีของกษัตริย์ การอภิเษกสมรสถูกศาสนจักรมองว่าขัดต่อหลักศาสนา และพระองค์ถูกบีบให้เนรเทศพระนางออกจากราชสำนักโดยอาร์ชบิชอปโอดาที่บังคับให้คู่อภิเษกสมรสแยกทางกันเนื่องจากทั้งคู่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตที่ใกล้ชิดกันเกินไป เอเธลวาลด์ผู้เขียนพงศาวดารอธิบายถึงตัวเองว่าเป็น "หลานของพระราชนัดดา" ของพระเจ้าเอเธลเร็ดที่ 1 ผู้เป็นพระเชษฐาของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช เอ็ดวิกกับเอลฟ์จิฟูจึงเป็นญาติลำดับที่สามที่อยู่ถัดออกไปหนึ่งขั้น ศาสนจักรในตอนนั้นมองว่าการอภิเษกสมรสระหว่างคนที่มีสายเลือดเดียวกันภายในเก้าช่วงเป็นการผิดประเวณีของญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดใกล้ชิดกันเกินไป แต่เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องของการเมืองมากกว่าเรื่องของศาสนา เอ็ดวิกกับเอ็ดจิฟูไม่มีโอรสธิดา ดังนั้นความเป็นกษัตริย์จึงถูกส่งต่อไปยังเอ็ดการ์เมื่อเอ็ดวิกสวรรคตในปีต่อมา

การบริหารปกครอง

[แก้]

เอ็ดวิกสืบทอดบัลลังก์แห่งอังกฤษต่อจากพระปิตุลาขณะที่พระองค์มีพระชนมายุ 15 ชันษา ทรงเริ่มรัชสมัยของพระองค์ด้วยการยืนกรานที่จะเป็นอิสระจากที่ปรึกษาคนสำคัญในรัชสมัยของพระมาตุลาและพระราชบิดา พระองค์ขับไล่ดันสตานออกจากประเทศและริบทรัพย์สินที่ดินที่เป็นของพระอัยยิกา เอ็ดจิฟู ผู้ที่เป็นพยานในกฎบัตรหลายฉบับของพระโอรสของพระนาง เอ็ดมุนด์และเอ็ดเร็ด พระองค์ไม่ได้กำจัดหัวหน้าผู้นำท้องถิ่น เอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง แต่ได้แต่งตั้งผู้นำท้องถิ่นคนใหม่ขึ้นมาปกครองดูแลพื้นที่ในส่วนของเมอร์เซียที่เอเธลสตานเคยดูแล

กฎบัตรจากปีค.ศ.956 เป็นผลของความพยายามของเอ็ดวิกที่จะสร้างฐานของบริวารที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ในหมู่ผู้คนใหม่ๆที่ได้รับการเลื่อนขั้นมีพระญาติของพระองค์อยู่หลายคนรวมถึงเอลเฟีย ผู้นำท้องถิ่นของเมอร์เซีย, เอลเฟีย พ่อบ้านของตระกูลที่ต่อมาได้เป็นผู้นำท้องถิ่นของเซ็นทรัลเวสเซ็กซ์ และเบิร์ทเฮล์ม บิชอปแห่งวินเชสเตอร์ ทั้งสามคนรวมถึงพระมเหสีของเอ็ดวิก เอลฟ์จิฟู ที่เป็นน้องสาวของเอเธลวาลด์ผู้เขียนพงศาวดาร อาจสืบเชื้อสายมาจากเอเธลเร็ดที่ 1 การเลื่อนขั้นให้กับกลุ่มพระญาติอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงการสร้างตระกูลที่ทรงอำนาจเหมือนของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่งและดันสตาน การอภิเษกสมรสของเอ็ดวิกกับเอ็ดจิฟูอาจเป็นสัญญาณที่เตือนเอ็ดการ์มากขึ้นไปอีก เหมือนเช่นการอภิเษกสมรสกับจูดิธของเอเธลวูล์ฟที่อาจสร้างความกังวลให้กับเอเธลบาลด์ในช่วงต้นศตวรรษ โอรสที่ประสูติจากการอภิเษกสมรสระหว่างพระบิดาและพระมารดาที่เป็นราชวงศ์อาจถูกมองว่าคู่ควรกับบัลลังก์มากกว่าตัวของเอ็ดการ์

กฎบัตรที่สร้างขึ้นในช่วงรัชสมัยของเอ็ดวิกลงวันที่ปีค.ศ.956

เมื่อพิจารณาจากกฎบัตรจำนวนมากมายไม่ได้สัดส่วนที่ออกในช่วงรัชสมัยของพระองค์ เอ็ดวิกดูจะพระราชทานอภิสิทธิ์ให้อย่างฟุ่มเฟือยไร้เหตุผล และไม่นานนักผู้นำของชาวเมอร์เซียและนอร์ธัมเบรียก็สะอิดสะเอียดความลำเอียงที่มีให้เวสเซ็กซ์ของพระองค์และลุกขึ้นมาก่อกบฏ การก่อกบฏนำโดยพระอนุชาของพระองค์ เอ็ดการ์ และอาร์ชบิชอปโอดาแห่งแคนเทอร์สบรีที่กษัตริย์แสดงออกว่าไม่โปรดปราน เอ็ดวิกเผชิญหน้ากับพวกเขาที่กลอสเตอร์แต่พ่ายแพ้และกองทัพของพระองค์หนีไป เอลฟ์จิว่าถูกทรมานและเกิดแผลเป็นที่เลวร้ายบนพระพักตร์ของพระนาง พระนางสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นาน ผลที่ได้คือในปีค.ศ.957 พระอนุชาของพระองค์ เจ้าชายเอ็ดการ์ ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์โดยชาวเมอร์เซียและชาวนอร์ธัมเบรีย อาณาจักรถูกแบ่ง แต่การแบ่งเป็นไปอย่างสงบ ผู้นำท้องถิ่นและบิชอปได้ทางเหนือของเธมส์ เธมส์กลายเป็นราชสำนักของเอ็ดการ์ และส่วนที่อยู่ทางใต้ของเธมส์เป็นราชสำนักของเอ็ดวิก แต่ชัดเจนว่าอำนาจโดยรวมทั้งหมดเป็นของเอ็ดวิก ในกฎบัตรของพระองค์ พระองค์ยังคงเป็น rex Anglorum กษัตริย์แห่งอังกฤษ ขณะที่เอ็ดการ์ถูกขนานนามว่า "กษัตริย์ของชาวเมอร์เซีย" และดูเหมือนว่าเหรียญของทั้งสองฝั่งของเธมส์เป็นพระนามของเอ็ดวิกจนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต ในด้านที่เป็นลบ เอ็ดวิกจำใจต้องยอมให้เอ็ดการ์เรียกตัวดันสตานกลับมาจากการถูกขับไล่ออกจากประเทศ

การสวรรคต

[แก้]

เอ็ดวีสวรรคตอย่างไม่ทราบสเหตุในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ.959 หลังครองราชย์ได้เพียงสี่ปี พระองค์อาจถูกปลงพระชนม์ เอ็ดวิกไม่เคยเป็นที่นิยมและไม่ได้รับการไว้อาลัยอย่างยิ่งใหญ่จากผู้อยู่ใต้ปกครอง เอ็ดการ์ขึ้นเสวยราชสมบัติอย่างสันติ อาณาจักรเวสเซ็กซ์, เมอร์เซีย และนอร์ธัมเบรียถูกรวมเข้าด้วยกัน

 แหล่งข้อมูล

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าเอ็ดวี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า พระเจ้าเอ็ดวี ถัดไป
พระเจ้าเอเดรด
พระมหากษัตริย์อังกฤษ
(ราชวงศ์เวสเซกซ์)

(ค.ศ.955-959)
พระเจ้าเอ็ดการ์ผู้รักสงบ