พระเจ้าอินทวิชยานนท์
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้านครเชียงใหม่ | |||||
ครองราชย์ | พ.ศ. 2416 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 | ||||
รัชสมัย | 24 ปี | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | ||||
ถัดไป | เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | ||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
อุปราช | เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) | ||||
ประสูติ | พ.ศ. 2360 | ||||
พิราลัย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 (80 ปี) | ||||
ราชเทวี | เจ้าทิพเกสร | ||||
หม่อม | เจ้ารินคำ หม่อมบัวเขียว เจ้าเทพ หม่อมช่างซอ หม่อมคำ หม่อมป้อม | ||||
| |||||
พระบุตร | 11 องค์ | ||||
ราชสกุล | ณ เชียงใหม่ | ||||
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร | ||||
พระบิดา | พระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) | ||||
พระมารดา | เจ้าคำหล้า[1] (หรือ บัวคำ)[2] | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร และทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเลื่อนพระเกียรติยศขึ้นเป็น "พระเจ้าประเทศราช" องค์ที่ 6 (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 - 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าประเทศราชองค์สุดท้ายที่มีอำนาจอย่างแท้จริง เพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 สยามได้ลิดรอนอำนาจของเจ้าหัวเมืองลง
ด้วยความจงรักภักดีที่ทรงถวายต่อราชวงศ์จักรีอย่างไม่สั่นคลอน กอปรกับเป็นพระบิดาในเจ้าดารารัศมี พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ซึ่งนับว่าเป็นการถวายพระเกียรตินับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี และเป็นพระเจ้าประเทศราชเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ที่ได้รับพระราชทานและยกย่องพระเกียรติยศดังกล่าว
พระราชประวัติ
[แก้]พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีพระนามเดิมว่า เจ้าอินทนนท์ ประสูติปี พ.ศ. 2360[3] เป็นเจ้าโอรสในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) กับเจ้าคำหล้า[1] (บางแห่งออกนามว่า บัวคำ ราชธิดาใน พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าหลวงนครลำปาง)[2] และเป็นเจ้าราชนัดดา (หลานปู่) ในพระยาคำฟั่นกับแม่เจ้าเนตรนารีไวย (หรือ ตาเวย) ซึ่งเป็นพระราชธิดาในเจ้าฟ้าเมืองยางแดง อันเป็นเมืองกะเหรี่ยงที่ร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรไม้ขอนสักจำนวนมหาศาล จนได้รับการยกย่องว่าเป็นเศรษฐีนีป่าไม้ของพม่า (ผู้ได้รับกรรมสิทธิ์ครอบครองป่าไม้ในแถบขุนยวมทั้งหมด)
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีราชอนุชาและราชขนิษฐา ร่วมราชบิดา 16 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ - พระเจ้าอินทวิชยานนท์
- เจ้าบุญทวงษ์ ณ เชียงใหม่ - เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่
- เจ้าน้อยเทพวัง ณ เชียงใหม่ - เจ้าราชภาติกวงศ์นครเชียงใหม่
- เจ้าน้อยไชยลังกา ณ เชียงใหม่
- เจ้าฟองนวล ณ เชียงใหม่
- เจ้าดวงเทพ ณ เชียงใหม่
- เจ้าบุญฝ้าย ณ เชียงใหม่
- เจ้าคำทิพย์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าน้อยไชยวงศ์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าดวงทิพย์ ณ เชียงใหม่
- เจ้าบุญสม ณ เชียงใหม่
- เจ้าบัวใส ณ เชียงใหม่
- เจ้าบัวเที่ยง ณ เชียงใหม่
- เจ้ากาบเมือง ณ เชียงใหม่
- เจ้าน้อยอ๋อ ณ เชียงใหม่
- เจ้าหญิงแว่นคำ ณ เชียงใหม่
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เสด็จขึ้นครองนครเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2416 มีพระนามจารึกตามพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พหลเทพยภักดี ศรีโยนางคราชวงษาธิปไตย์ มโหดดรพิไสยธุรสิทธิธาดา ประเทศราชานุภาวบริหารภูบาลบพิตร สถิตยชิยางคราชวงษ พระเจ้านครเชียงใหม่[4] จนกระทั่งถึงแก่พิราลัยในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2440 ด้วยโรคชรา[5]สิริพระชันษา 80 ปี[3] รวมระยะ เวลาที่ทรงครองราชย์ 24 ปี ภายหลังเสด็จพิราลัย พระอัฐิส่วนหนึ่งได้เชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปพระอัฐิใน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ ณ วัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) และอีกส่วนหนึ่งอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระสถูปบนยอด ดอยอินทนนท์ อันเป็นที่ซึ่งพระองค์ทรงรักและหวงแหนมากที่สุด และได้นามตามพระนามของพระองค์ด้วยนั่นเอง
ราชโอรส ราชธิดา
[แก้]พระเจ้าอินทวิชยานนท์ มีเจ้าราชโอรสและราชธิดา รวม 11 องค์ซึ่งอยู่ในสกุล ณ เชียงใหม่ มีพระนาม ดังนี้
พระนาม | หมายเหตุ |
---|---|
ประสูติแต่แม่เจ้าทิพเกสร | |
เจ้าจันทรโสภา ณ เชียงใหม่ | |
เจ้าดารารัศมี พระราชชายา | พระราชชายาในรัชกาลที่ 5 |
ประสูติแต่เจ้ารินคำ ณ ลำพูน | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 |
ประสูติแต่หม่อมบัวเขียว | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9 |
เจ้าจอมจันทร์ ณ เชียงใหม่ | |
ประสูติแต่เจ้าเทพ ณ ลำปาง | |
เจ้าน้อยโตน ณ เชียงใหม่ | |
เจ้าแก้วปราบเมือง ณ เชียงใหม่ | |
ประสูติแต่หม่อมช่างซอ | |
เจ้าน้อยมหาวัน ณ เชียงใหม่ | |
ประสูติแต่หม่อมคำ | |
เจ้าราชวงศ์ (น้อยขัตติยะ) | |
เจ้าคำข่าย ณ เชียงใหม่ | |
ประสูติแต่หม่อมป้อม | |
เจ้าคำห้าง ณ เชียงใหม่ | สมรสกับ "เจ้าราชภาคินัย (น้อยสิงห์โต)" |
เหตุการณ์ในรัชสมัย
[แก้]ก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2411 มีมิชชันนารีศาสนาจารย์ดาเนียล แมคกิลวารี และครอบครัวอพยพขึ้นมาศัยอยู่ที่นครเชียงใหม่ ตั้งจุดประกาศศาสนาโดยเริ่มจัดการศึกษาแบบตะวันตก โดยมีนางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี ได้เริ่มให้มีการศึกษาสำหรับสตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418
ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 นางสาวแมรี แคมป์เบลล์ และ เอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรี บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ" ขึ้นที่บริเวณที่เรียกว่า วังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ. 2431 โดยมีศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าวระยะแรกนั้นใช้ภาษาอังกฤษและภาษาไทยถิ่นเหนือ ในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรธรรมล้านนา ในขณะที่ตัวหนังสือแป้นนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2379 แล้ว
ในช่วงเดียวกันนี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo, เข้ามาในราว พ.ศ. 2407) บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma, เข้ามาในราว พ.ศ. 2432) และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่นๆ เข้ามาทำงาน ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและผู้ติดตามเข้ามาในล้านนามากขึ้น ทำให้เกิดการฟ้องศาลที่กรุงเทพฯ หลายคดี จากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 - 2416 มีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตัดสินยกฟ้อง 31 คดี ส่วนอีก 11 คดีนั้นพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทรงขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะทรงชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยินยอม เรียกร้องให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอมด้วยเช่นกัน ดังนั้นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จึงทรงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้สัก 300 ท่อนต่อปี
ราชกรณียกิจ
[แก้]เจ้าหลวงเชียงใหม่แห่ง ราชวงศ์ทิพย์จักร | |
---|---|
พระเจ้ากาวิละ | |
พระยาธรรมลังกา | |
พระยาคำฟั่น | |
พระยาพุทธวงศ์ | |
พระเจ้ามโหตรประเทศ | |
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | |
พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ | |
เจ้าแก้วนวรัฐ | |
แดเนียล แมคกิลวารี ซึ่งสนิทสนมกับพระองค์ ได้วิจารณ์พระองค์ว่า "...ท่านไม่โปรดปรานอะไรมากไปกว่าการทำงานในโรงงานเล็กๆ ทำกูบช้างแบบแปลกๆ ซึ่งไม่ต้องระมัดระวังตัวและรับผิดชอบอะไร และปล่อยให้น้องชายปกครองบ้านเมืองแทน"
- พ.ศ. 2417 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงสถาปนาแม่ฮ่องสอน ขึ้นเป็นเมืองแห่งใหม่
- พ.ศ. 2420 ทรงดำริให้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง เชื่อมไปยังท่าวัดเกต
- พ.ศ. 2426 ทรงส่งนายคาร์ล บอคส์ ไปสำรวจเมืองฝาง ซึ่งในขณะนั้นมีเจ้าหลวงมหาวงค์เป็นเจ้าหลวงเมืองฝางอยู่
- พ.ศ. 2433 ทรงส่งของขวัญถวายแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในพระราชพิธีโสกันต์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้พระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ซึ่งเป็นพระอภิบาลในเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นผู้ดูแลช้างนั้น มีชื่อว่า "ช้างพลายมงคล"
การศาสนา
[แก้]ด้านการศาสนาในสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ปรากฏว่าพระองค์ทรงทำนุบำรุงวัดวาอารามหลายแห่งจนปรากฏถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา อาทิ
- พ.ศ. 2398 ทรงสร้างอุโบสถวัดกิตติ และ พ.ศ. 2413 ทรงรื้อหอคำของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างเป็นวิหารหลวงวัดกิตติ
- พ.ศ. 2416 ทรงสร้างวิหารวัดพระธาตุดอยสุเทพ และยังสร้างอุโบสถวัดเชียงมั่นในปีเดียวกัน
- พ.ศ. 2418 ทรงฉลองวิหารวัดข่วงสิงห์ และรื้อหอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศฯ ไปสร้างวิหารวัดพันเตา
- พ.ศ. 2419 ฉลองวัดพระธาตุดอยสุเทพ
- พ.ศ. 2420 ทรงรื้อท้องพระโรงของพระเจ้ากาวิโรรสฯ ไปสร้างวิหารวัดแสนฝาง สร้างวิหารวัดเชียงมั่น และฉลองสะพานข้ามแม่น้ำปิงตรงวัดเกตุการาม
- พ.ศ. 2422 ถวายคัมภีร์ชุดทศชาติชาดก และธรรมชาดกต่าง ๆ
- พ.ศ. 2423 ทรงสร้างวิหารวัดเจดีย์หลวง ตลอดจนสร้างกุฏิ อุโบสถ วิหารพระนอน ซ่อมหอมณฑปเสาอินทขีล และกุมภัณฑ์
- พ.ศ. 2424 ทรงหล่อระฆังใบใหญ่ไว้ที่วัดข่วงสิงห์ และได้ยกช่อฟ้าวัดเจดีย์หลวง
- พ.ศ. 2432 ฉลองวิหารวัดขี้เหล็กร่มหลวง และโปรดให้ซ่อมแซมพระธาตุดอยสุเทพ
- พ.ศ. 2438 ถวายทานวิหารพระบาทสี่รอย และตั้งสังฆราชา 7 องค์
การศึกษา
[แก้]ในช่วงสมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ การศึกษาของชาวเชียงใหม่ยังคงดำเนินไปตามประเพณีโบราณ มีวัดเป็นแหล่งอบรมกุลบุตร เมื่อมีมิชชันนารีคือ ศาสนาจารย์แมคกิลวารี และครอบครัว ได้เข้ามายังนครเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2411 และได้เริ่มมีการให้การศึกษาแก่สตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418 และจัดให้มีโรงเรียนสตรีขึ้นบริเวณเชิงสะพานข้ามแม่น้ำปิง (สะพานนวรัฐในปัจจุบัน) จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัย และได้จัดตั้งโรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ เมื่อปี พ.ศ. 2431 ปัจจุบันคือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
นอกจากวิชาการนั้นแล้ว ยังมีการคิดหลักสูตรวิชาเลข วิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งพิมพ์ด้วยอักษรล้านนา และมีตำรา "หนังสือฝากของพ่อครูศรีโหม้" ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ให้เด็กได้รับรู้ถึงโลกกว้าง อีกทั้งยังมีการจัดตั้งโรงพิมพ์อักษรล้านนาในปี พ.ศ. 2435
การนาฏศิลป์
[แก้]พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เป็นผู้ริเริ่มการนาฏศิลป์ไว้เป็นแบบฉบับที่ใช้กันทั่วไปในล้านนา โดยการจัดให้สตรีทั่วไปมาฝึกหัดเป็นนางละครในคุ้มเป็นครั้งแรก และถ่าทอดวิชานาฏศิลป์ไปยังเจ้าดารารัศมี พระราชชายา พระธิดา[6]
กู่พระเจ้าอินทวิชยานนท์
[แก้]เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2458 เจ้าดารารัศมี พระราชชายา เสด็จประพาสประทับพักแรมบนยอดดอยอินทนนท์ และโปรดให้สร้างกู่บรรจุพระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ไว้บนจุดสูงสุดของยอดดอยอินทนนท์ ต่อมากองทัพอากาศได้สร้างเจดีย์องค์เล็กไว้ข้างกู่องค์เดิม เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในปี พ.ศ. 2518 กระทั่งเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 เจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมด้วยคณะทหารอากาศ และประชาชนร่วมกันสร้างกู่ขึ้นมาใหม่ครอบกู่องค์เดิมให้สมพระเกียรติ
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
[แก้]- ถนนวิชยานนท์
- ดอยอินทนนท์ เดิมชื่อ ดอยอ่างกา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2436 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2429 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) สมัยนั้นเรียกว่ามหาวราภรณ์
- พ.ศ. 2418 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) สมัยนั้นเรียกว่ามหาสุราภรณ์
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[9]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เจ้าราชบุตร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. 2516. p. 234.
- ↑ 2.0 2.1 เจ้าราชบุตร. กรุงเทพฯ: กรมแผนที่ทหาร. 2516. p. 3, 7.
- ↑ 3.0 3.1 จากจดหมายที่พระองค์ท่านมีไปถึงพระราชชายาฯ ซึ่งเก็บไว้ในหีบกะไหล่ทอง (ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในที่ฝังพระอัฐิของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ที่วัดสวนดอก ณ ที่กู่บรรจุอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ) เขียนขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ 2435 ท่านระบุอายุตัวเองไว้ 75 ปี (บอกเล่าโดย เจ้าชายอินทนนท์ ณ เชียงใหม่)
- ↑ อาณาจักรล้านนา กำเนิดและการล่มสลาย :พระบารมีปกเกล้า ยุพราชวิทยาลัย ๑๐๐ ปีนามพระราชทาน หน้า ๖๗; โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ; 2548
- ↑ ข่าวพระเจ้านครเชียงใหม่ถึงแก่พิลาไลย
- ↑ บุญเสริม ศาสตราภัย และสังคีต จันทนะโพธิ. (2520) อดีตลานนา กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 10, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 1893, หน้า 367
- ↑ "บัญชีพระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ, เล่ม 3, ตอน 46, 15 มีนาคม พ.ศ. 2429, หน้า 385" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-07-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐, ตอน ๙, ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๑๑๕
ก่อนหน้า | พระเจ้าอินทวิชยานนท์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ | เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2416 — พ.ศ. 2440) |
เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2360
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2440
- พระเจ้าอินทวิชยานนท์
- ราชวงศ์ทิพย์จักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- การผนวกนครเชียงใหม่ของสยาม
- สกุล ณ เชียงใหม่
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง
- พระเจ้าประเทศราช