พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน
พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 | |
---|---|
พระบรมสาทิสลักษณ์โดย Lorens Pasch, ค.ศ. 1777 | |
พระมหากษัตริย์สวีเดน | |
ครองราชย์ | 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1771 – 29 มีนาคม ค.ศ. 1792 |
ราชาภิเษก | 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1772 |
ก่อนหน้า | อดอล์ฟ เฟรดริก |
ถัดไป | กุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟ |
พระราชสมภพ | 24 มกราคม ค.ศ. 1746 สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน |
สวรรคต | 29 มีนาคม ค.ศ. 1792 พระราชวังสต็อกโฮล์ม สต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน | (46 ปี)
ฝังพระศพ | 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1792 โบสถ์ริดดาร์โฮล์ม |
คู่อภิเษก | โซฟี เมาดาลีเนอแห่งเดนมาร์ก (สมรส 1766) |
พระราชบุตร | พระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟแห่งสวีเดน เจ้าชายคาร์ล กุสตาฟ ดยุกแห่งสมอลันด์ |
ราชวงศ์ | ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์ป |
พระราชบิดา | พระเจ้าอดอล์ฟ เฟรดริกแห่งสวีเดน |
พระราชมารดา | ลูอีเซอ อุลรีเคอแห่งปรัสเซีย |
ศาสนา | ลูเทอแรน |
ลายพระอภิไธย |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | His Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | your Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน (สวีเดน: Gustav III; 24 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 13 มกราคม] ค.ศ. 1746 – 29 มีนาคม ค.ศ. 1792)หมายเหตุเรื่องวันที่[1] มีอีกพระนามว่า กุสตาวุสที่ 3 (ละติน: Gustavus III)[2] เป็นกษัตริย์แห่งสวีเดนระหว่าง ค.ศ. 1771 จนถูกลอบปลงพระชนม์ในใน ค.ศ. 1792 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าอดอล์ฟ เฟรดริกแห่งสวีเดน[1] กับสมเด็จพระราชินีลูอีเซอ อุลรีเคอแห่งสวีเดน
กุสตาฟเป็นผู้คัดค้านอย่างเปิดเผยต่อสิ่งที่พระองค์เห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิพิเศษทางการเมืองที่ชนชั้นขุนนางยึดครองนับตั้งแต่การสรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 ในมหาสงครามเหนือ การยึดอำนาจรัฐบาลผ่านรัฐประหารที่มีชื่อว่าการปฏิวัติสวีเดนใน ค.ศ. 1772 ซึ่งทำให้ยุคแห่งเสรีภาพสิ้นสุดลง
กุสตาฟในฐานะชื่นชมวอลแตร์ รับรองให้ชาวคาทอลิกและชาวยิวในสวีเดนเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และทรงตั้งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ครอบคลุมโดยกว้าง เพื่อมุ่งเป้าไปที่เสรีนิยมทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปสังคม และการจำกัดการทรมานและโทษประหารชีวิตในหลายกรณี พ.ร.บ.เสรีภาพสื่อมวลชนใน ค.ศ. 1766 ที่ได้รับเสียงชื่นชม กลับถูกจำกัดอย่างรุนแรงด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมใน ค.ศ. 1774 และ 1792 ที่มีผลให้สื่ออิสระดับสูญไป[3]
ใน ค.ศ. 1777 กุสตาฟที่ 3 เป็นประมุขแห่งรัฐที่เป็นกลางอย่างเป็นทางการคนแรกของโลกที่ให้การรับรองสหรัฐ[4] ในช่วงที่ทำสงครามประกาศเอกราชจากบริเตนใหญ่ กองทัพสวีเดนเข้าพัวพันกับฝ่ายอาณานิคมจำนวนพันกว่านาย[5] ซึ่งส่วนใหญ่เข้าผ่านกองกำลังสำรวจฝรั่งเศส[6] กุสตาฟฟื้นฟูอาณานิคมโพ้นทะเลของสวีเดนในทวีปอเมริกา (แม้เป็นเพียงเชิงสัญลักษณ์) ผ่านการเข้าซื้อกิจการในแซ็ง-บาร์เตเลมีเมื่อ ค.ศ. 1784 และมีกำไรส่วนพระองค์จากการค้าทาสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกอย่างมหาศาล[7]
พระราชอิสริยยศ
[แก้]พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 ทรงเป็นที่รู้จักในสวีเดนและต่างประเทศด้วยพระราชอิสริยยศ ดังนี้:
กุสตาฟ ด้วยพระคุณของพระเจ้า กษัตริย์แห่งชาวสวีเดน กอท และเวนด์, แกรด์พรินซ์แห่งฟินแลนด์, ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย, เจ้าชายแห่งรือเกิน และลอร์ดแห่งวิสมาร์, รัชทายาทแห่งนอร์เวย์ และดยุกแห่งชเลสวิก-โฮลชไตน์, ชทอร์มาร์น และดิทมาร์เชิน, เคานต์แห่งโอลเดินบวร์คและเดลเมินฮอร์สต์, ฯลฯ[8]
พระชนม์ชีพช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]กุสตาฟเสด็จพระราชสมภพที่สต็อกโฮล์ม[1] โดยอยู่ภายใต้การคุ้มครองของ Hedvig Elisabet Strömfelt จนกระทั่งพระชนมพรรษา 5 พรรษา จากนั้นจึงศึกษาภายใต้การดูแลของผู้ว่าราชการสองคนที่ถือเป็นรัฐบุรุษชาวสวีเดนที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนั้น คือ: Carl Gustaf Tessin และ Carl Fredrik Scheffer ถึงกระนั้น สิ่งที่หล่อหลอมพระองค์ในการศึกษาช่วงต้นอาจเป็นผลงานส่วนใหญ่ของ Olof von Dalin กวีและนักประวัติศาสตร์[9]
อภิเษกสมรสและพระราชโอรส
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ขึ้นครองราชย์และรัฐประหาร
[แก้]ในช่วงขึ้นครองราชย์ รัฐสภาสวีเดนมีอำนาจมากกว่าพระมหากษัตริย์ แต่รัฐสภากลับแตกแยกกันอย่างรุนแรงระหว่างพรรคคู่แข่ง[1] คือ ฝ่ายหมวก (Hats) และฝ่ายหมวกแก็ป (Caps) เมื่อกุสตาฟที่ 3 เสด็จกลับสวีเดน พระองค์พยายามไกล่เกลี่ยระหว่างสองกลุ่มแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[1] จากนั้นในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 1771 พระองค์ทรงเปิดรัฐสภาแรกในสมัยของพระองค์ด้วยสุนทรพจน์ที่กระตุ้นอารมณ์อันแรงกล้า นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าศตวรรษที่กษัตริย์สวีเดนตรัสปราศรัยต่อรัฐสภาสวีเดนในภาษาแม่ (แทนที่ภาษาฝรั่งเศส) ความพยายามของฝ่ายหมวกแก็ปที่จะลดพระองค์เป็น roi fainéant (กษัตริย์ไร้อำนาจ) ในภายหลังส่งเสริมให้พระองค์พิจารณาก่อรัฐประหาร[10]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ระหว่างรัฐธรรมนูญนิยมและสมบูรณาญาสิทธิราช
[แก้]พระเจ้ากุสตาฟทรงงานปฏิรูปในเส้นทางเดียวกันกับประมุขร่วมสมัยในยุคเรืองปัญญา[10] กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีความผ่อนปรนมากขึ้น การประหารชีวิตถูกจำกัดให้เหลือเพียงรายการอาชญากรรมที่ค่อนข้างสั้น (รวมทั้งการฆาตกรรม) และยกเลิกการทรมานเพื่อให้ได้คำรับสารภาพ แม้ว่า "โทษประหารชีวิตอันเข้มงวด" ที่มีการลงโทษทางกายคล้ายการทรมานก่อนการประหารชีวิตจะยังคงอยู่ก็ตาม
พระเจ้ากุสตาฟทรงมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในธุรกิจทุกแผนก แต่พึ่งพาที่ปรึกษาภายนอกที่พระองค์เลือกเองอย่างมากแทนที่จะพึ่งสภาองคมนตรีสวีเดน ความพยายามในการแก้ไขการทุจริตคอร์รัปชันที่แพร่หลาย ซึ่งเฟื่องฟูภายใต้การปกครองของฝ่ายหมวกและหมวกแก็ปใช้เวลาไปมากพอสมควร และพระองค์ยังพบว่าจำเป็นต้องนำคดีทั้งหมดขึ้นพิจารณาคดีต่อทั้ง Göta Hovrätt[10] ศาลยุติธรรมชั้นสูง เยินเชอปิง
พระเจ้ากุสตาฟยังแนะนำนโยบายเศรษฐกิจแห่งชาติใหม่ โดยใน ค.ศ. 1775 มีดารส่งเสริมการค้าเสรีด้านธัญพืชและยกเลิกค่าธรรมเนียมการส่งออกที่กดขี่หลายรายการ มีการแก้ไขกฎหมายประชาสงเคราะห์และประกาศจำกัดเสรีภาพทางศาสนาแก่ชาวโรมันคาทอลิกและยิว พระเจ้ากุสตาฟยังออกแบบและเผยแพร่ชุดประจำชาติสวีเดนให้แพร่หลาย ซึ่งใช้กันทั่วไปในหมู่ชนชั้นสูงตั้งแต่ ค.ศ. 1778 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต[10] (และสตรีในราชสำนักยังคงสวมใส่ในโอกาสสำคัญ)
หมายเหตุ
[แก้]- ^หมายเหตุเรื่องวันที่ : สวีเดนเปลี่ยนระบบปฏิทินจากปฏิทินจูเลียนไปเป็นปฏิทินกริกอเรียนใน ค.ศ. 1753 ทำให้วันที่ 17 กุมภาพันธ์จึงตามมาด้วยวันที่ 1 มีนาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Gustav III". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 18 January 2019.
- ↑ Robert Nisbet Bain: Gustavus III. and his contemporaries 1746–1792, 2 Bände London: Kegan Paul, Trench, Trübner, 1894
- ↑ Cronholm, Neander N. (1902). A History of Sweden from the Earliest Times to the Present Day. ch 37
- ↑ Anna Klerkäng in Sweden – America's First Friend Örebro 1958
- ↑ Barton, H.A. (1966). "Sweden and the War of American Independence". The William and Mary Quarterly. 23 (3): 408–430. doi:10.2307/1919238. JSTOR 1919238.
- ↑ "Sweden's Part in the American Revolution". Sweden & The American Revolution. By Adolph B. Benson. Illustrated. 216 pp. New Haven: The Tuttle, Morehouse & Taylor Company. The New York Times. 3 July 1927.
- ↑ Harrison, Dick (24 September 2016). "Sanningen om det svenska slaveriet (SvD Premium)". Svenska Dagbladet. สืบค้นเมื่อ 23 December 2017.
- ↑ Ekman, Ernst (7 September 1975). "Sweden, the Slave Trade and Slavery, 1784-1847". Outre-Mers. Revue d'histoire. 62 (226): 221–231. doi:10.3406/outre.1975.1827 – โดยทาง www.persee.fr.
- ↑ Bain 1911, p. 736.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 Bain 1911, p. 737.
ข้อมูล
[แก้]- บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติ: Bain, Robert Nisbet (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 12 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 736–738.
- Bain, R. Nisbet (1894). Gustavus III and His Contemporaries, 2 vols.
- Barton, H. Arnold (Autumn 1972). "Gustav III of Sweden and the Enlightenment". Eighteenth-Century Studies. American Society for Eighteenth Century Studies (ASECS). 6 (1): 1–34. doi:10.2307/3031560. JSTOR 3031560.
- Barton, H. Arnold (1986). Scandinavia in the Revolutionary Era, 1760–1815. Minneapolis: University of Minnesota Press. ISBN 0-8166-1392-3.
- Cronholm, Neander N. (1902). A History of Sweden from the Earliest Times to the Present Day. ch 37 pp 203–19
- Hennings, Beth (1957). Gustav III.
- Lönnroth, Erik (1986). Den stora rollen. Stockholm: Norstedt. ISBN 91-1-863652-7.
- Stavenow, Ludvig (1925). Den gustavianska tiden 1772–1809.
- Swedish High Court (1792). Protocoller hållne uti kongl. Maj:ts högste domstol eller justitie-revision med dertil hörande handlingar, rörande det å högstsalig hans May:t Konung Gustaf den III:dje, glorwyrdigst I åminnelse, föröfwade mord. Stockholm: Anders Zetterberg.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- New International Encyclopedia. 1905. .
- The American Cyclopædia. 1879. .
ก่อนหน้า | พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าอดอล์ฟ เฟรดริก | พระมหากษัตริย์สวีเดน (พ.ศ. 2314 - 2335) |
พระเจ้ากุสตาฟที่ 4 อดอล์ฟ |
- บทความวิกิพีเดียรวมการอ้างอิงจากวิทยานุกรมอเมริกัน
- บทความวิกิพีเดียรวมการอ้างอิงจากวิทยานุกรมอเมริกันโดยมีการอ้างอิงวิกิซอร์ซ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2289
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2335
- พระมหากษัตริย์สวีเดน
- พระมหากษัตริย์ฟินแลนด์
- ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ
- บุคคลจากสต็อกโฮล์ม
- เสียชีวิตจากภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
- มกุฎราชกุมารแห่งสวีเดน
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์