พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
อำมาตย์เอก พระยารัษฎานุประดิษฐ์ (สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ระนอง ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และสมุทรสงคราม
ประวัติ
[แก้]สินธุ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา จบการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ จากนั้นเริ่มรับราชการในตำแหน่งเสมียนในกรมบัญชาการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เสมียนกองตระเวน นายเวรสารวัตรตรวจในกรมพระคลังมหาสมบัติ ปลัดจังหวัดระนอง,ปลัดจังหวัดสตูล มหาดไทยมณฑลภูเก็ต ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า ผู้ว่าราชการการจังหวัดตรัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนศุภธนสวามิภักดิ์ หลวงโยธีพิทักษ์ พระโยธีพิทักษ์ พระตรังคบุรีศรีสมุทรเขต และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัษฎานุประดิษฐ์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2458
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2472 อายุ 54 ปี[1]
ยศและบรรดาศักดิ์
[แก้]- 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 ขุนศุภธนสวามิภักดิ์ ถือศักดินา ๕๐๐[2]
- 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 หลวงโยธีพิทักษ์ ถือศักดินา ๑๐๐๐[3]
- 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รองอำมาตย์เอก[4]
- 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 พระโยธีพิทักษ์ คงถือศักดินา ๑๐๐๐[5]
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 พระตรังคบุรี ศรีสมุทเขตร ถือศักดินา ๓๐๐๐[6]
- 5 ตุลาคม พ.ศ. 2457 อำมาตย์ตรี[7]
- 9 กันยายน พ.ศ. 2458 พระยารัษฎานุประดิษฐ์ คงถือศักดินา ๓๐๐๐[8]
- 9 กันยายน พ.ศ. 2458 อำมาตย์โท[9]
- 1 มกราคม 2466 – อำมาตย์เอก
ตำแหน่ง
[แก้]- พนักงานคลังเมืองตรัง
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2447 ปลัดเมืองระนอง[10]
- ปลัดเมืองสตูล
- ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลภูเก็ต
- 19 ธันวาคม พ.ศ. 2455 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ เมืองตะกั่วป่า[11]
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า[12]
- พ.ศ. 2457 ผู้ว่าราชการเมืองตรัง[13]
- 10 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม[14]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช[15]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2469 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[16]
- พ.ศ. 2467 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[17]
- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[18]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข่าวตาย (หน้า ๓๖๐๙-๑๐)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๙๘๒)
- ↑ ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๑๙๕๘)
- ↑ ตั้งบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศและเลื่อนยศ (หน้า ๑๕๐๘)
- ↑ พระราชทานเลื่อนและตั้งบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน และเลื่อนยศ (หน้า ๑๒๘๒)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้พระโยธีพิทักษ์เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วป่า
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งตำแหน่งเกณฑ์เมืองรั้งในกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๕, ๑ มกราคม ๒๔๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๘๗๗, ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๒๕, ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๐
แหล่งข้อมูล
[แก้]- ดนัย ไชยโยธา. นามานุกรมประวัติศาสตร์. [ม.ป.ท.] : โอเดียนสโตร์, 2548. ISBN 974-971-297-8
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2438
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2472
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- ราชสกุลเทพหัสดิน
- ณ อยุธยา
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
- ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม
- สมาชิกกองเสือป่า
- เสียชีวิตจากมะเร็งกระเพาะอาหาร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์