พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์)
พระยาบริรักษ์เวชชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 2 พฤษภาคม 2500 - 26 มีนาคม 2511 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 15 เมษายน 2491 - 15 พฤษภาคม 2497 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลแปลก พิบูลสงคราม |
ก่อนหน้า | พลเรือตรี เล็ก สุมิตร |
ถัดไป | พลโท ประยูร ภมรมนตรี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 สิงหาคม พ.ศ. 2435 |
เสียชีวิต | 26 มีนาคม พ.ศ. 2511 (75 ปี) |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงละมูล บริรักษ์เวชชการ |
บุตร | 12 คน |
อำมาตย์เอก พระยาบริรักษ์เวชชการ หรือนามเดิม ไล่ฮวด ติตติรานนท์ (25 สิงหาคม พ.ศ. 2435 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2511) อดีตสภานายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2476)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และอดีตนายกสมาคมโหรแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์คนที่ 3 (พ.ศ. 2493 - 2510)
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงละมูล บริรักษ์เวชชการ มีบุตรธิดา 12 คน มีหญิง 2 คน ชาย 10 คน
การทำงาน
[แก้]พระยาบริรักษ์เวชชการ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2491[2] ปี พ.ศ. 2494[3] และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[4]
พระยาบริรักษ์เวชชการ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 อยู่ในตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2511[5] งานพระราชทานเพลิงศพวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511 [6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2496 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[10]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2509 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[12]
- พ.ศ. 2503 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-02. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ ประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีชั่วคราว (รัฐบาลชั่วคราว ซึ่งมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ "งานพระราชทานเพลิงศพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-14. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๔๙, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๐ ตอนที่ ๗๘ หน้า ๕๓๙๒, ๒๒ ธันวาคม ๒๔๙๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๗๒ ง หน้า ๔๖๕๕, ๙ ธันวาคม ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความ พระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๓๖, ๑๘ สิงหาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๘, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๓๓ ง หน้า ๑๖๒๔, ๑๒ เมษายน ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๗, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2435
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2511
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 9
- บรรดาศักดิ์ชั้นพระยา
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบแต่งตั้ง
- แพทย์ชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์