พระฝางจำลอง
พระฝางจำลอง | |
---|---|
ชื่อเต็ม | พระฝางจำลอง |
ชื่อสามัญ | พระฝางจำลอง |
ประเภท | พระพุทธรูป |
ศิลปะ | ศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย |
ความกว้าง | 1 ศอก |
วัสดุ | โลหะ |
สถานที่ประดิษฐาน | อุโบสถ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระฝางจำลอง เป็นพระพุทธรูปสร้างใหม่ ประดิษฐานที่อุโบสถวัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระพุทธรูปองค์นี้จำลองมาจาก พระพุทธรูปพระฝาง ที่ประดิษฐาน ณ วัดเบญจมบพิตร ทั้งองค์จำลองและองค์จริงมีพุทธลักษณะปางมารวิชัย ทรงเครื่องอย่างจักรพรรดิราช ศิลปะสมัยอยุธยาวัสดุโลหะลงรักปิดทอง (องค์จริงโลหะสัมฤทธิ์ปิดทอง) หน้าตักกว้าง 1 ศอก 1 คืบเศษ (31 นิ้ว)
พระพุทธรูปองค์นี้ คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 11, จังหวัดอุตรดิตถ์, กรมศิลปากร และพุทธศาสนิกชน ร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 และได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดพระฝางสวางคบุรี เมื่อวันที่1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาประดิษฐาน ณ ฐานพระเปล่าในอุโบสถวัดพระฝาง สถานที่ ๆ เคยประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝางในอดีต พระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญองค์พระมาประดิษฐานที่มุขเด็จ พระวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2444 และยังคงประดิษฐานอยู่ที่นั่นมาจนถึงปัจจุบัน
การจัดสร้างองค์พระฝางจำลอง
[แก้]พ.ศ. 2547 คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชนรุ่นที่ 11, จังหวัดอุตรดิตถ์, กรมศิลปากร และพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระฝางสวางคบุรี และจัดสร้างบานประตูวัดพระฝางจำลอง รวมทั้งจัดสร้างองค์พระฝางจำลองเพื่อนำกลับไปประดิษฐาน ณ วัดพระฝางสวางคบุรี
โดยคณะกรรมการ วปรอ. 41-11 ได้ทำการขอพระบรมราชานุญาตจากองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเพื่อจัดสร้างองค์พระฝางจำลองในปี พ.ศ. 2547 ตามหนังสือพระราชทานพระบรมราชานุญาตที่ 112/47 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 [1]
พิธีหล่อพระฝางทรงเครื่อง (จำลอง) องค์ใหม่ จัดขึ้นที่ วัดเบญจมบพิตร โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระฝางทรงเครื่อง เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 และวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นยงทรงเป็นพระอิสริยยศ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร พระพุทธรูปพระฝางจำลอง ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานครฯ[2]
การจัดสร้างองค์พระฝางจำลองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2550 และได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังวัดพระฝางสวางคบุรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยอัญเชิญมาจากกรุงเทพมหานครโดยเครื่องบินมายังสนามบินพิษณุโลก ในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดงานเฉลิมฉลองที่จังหวัดพิษณุโลก 7 วัน 7 คืนในวันที่ 24 ถึง30 เมษายน พ.ศ. 2551 และได้อัญเชิญมายังวัดพระฝางสวางคบุรีในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยมีการจัดพิธีต้อนรับพระฝางทรงเครื่องจำลองและมีการจัดมหรสพสมโภช การแสดงแสงสีเสียง ประวัติของเมืองฝางและพระพุทธรูปพระฝาง อย่างยิ่งใหญ่ 9 วัน 9 คืน[3]
ปัจจุบันพระพุทธรูปพระฝางจำลองได้ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดพระฝางตามเดิม หลังจากพระพุทธรูปพระฝางองค์จริงได้จากเมืองอุตรดิตถ์ไปครบ 100 ปี การอัญเชิญพระพุทธรูปพระฝางจำลองกลับคืนสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ในปี พ.ศ. 2551 นี้ นับว่าเป็นมงคลสมัยครบรอบ 100 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหัตถเลขารับสั่งให้นำพระฝางกลับคืนยังเมืองฝาง ยังความปลื้มปีติแก่ชาวอุตรดิตถ์เป็นล้นพ้น จากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9[4]
-
-
ฐานพระเปล่า ในอุโบสถวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ สถานที่ ๆ เคยประดิษฐานพระฝางองค์เดิม
-
พระฝาง (พระพุทธรูป) องค์จำลองสร้างใหม่ที่นำมาประดิษฐานแทนองค์เดิม ณ อุโบสถวัดพระฝาง ในปี พ.ศ. 2551
-
วีดิทัศน์ตัวอย่างงานแสดงแสงสีเสียงสมโภชองค์พระฝางทรงเครื่องจำลอง (ประวัติเจ้าพระฝาง)
ดูเพิ่ม
[แก้]- เมืองสวางคบุรี
- วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ศูนย์กลางเมืองสวางคบุรีโบราณ
- ชุมนุมพระเจ้าฝาง ชุมนุมอิสระหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
- โบราณสถานวัดคุ้งตะเภา สถานที่เกี่ยวเนื่องกับที่ตั้งค่ายพระตำหนักหาดสูงคราวปราบชุมนุมพระเจ้าฝางตามพระราชพงศาวดาร
- พระฝาง (พระพุทธรูป) องค์จริงที่ประดิษฐานในวิหารสมเด็จ วัดเบญจมบพิตร
- บานประตูวิหารวัดพระฝาง บานประตูพุทธศาสนสถานที่มีความสวยงามมากที่สุด 1 ใน 3 คู่ของจังหวัดอุตรดิตถ์
- วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝางองค์จริง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระฝางทรงเครื่องจำลอง เตรียมอัญเชิญประดิษฐานที่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ. สำนักข่าวไทยนิวส์อุตรดิตถ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข้อมูลการจัดสร้างพระฝางจำลอง.เว็บไซต์สำนักงานเลขานุการกองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข่าวจังหวัดพิษณุโลกร่วมอัญเชิญพระฝางทรงเครื่องจำลอง.สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพิษณุโลก[ลิงก์เสีย]
- ↑ สูจิบัตรการแสดง แสง เสียง เรื่อง "สวางคบุรีแก้วเกล้าขวัญแผ่นดิน" วันที่ ๑-๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ.แผ่นพับประชาสัมพันธ์: จังหวัดอุตรดิตถ์ , 2551.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วรรณชนก ผางาม.ว่าที่ รต.หญิง.คืนถิ่นองค์พระฝางทรงเครื่องสู่สวางคบุรี.อุตรดิตถ์:วารสารโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าอุตรดิตถ์,2551[ลิงก์เสีย]