ข้ามไปเนื้อหา

ผู้วินิจฉัย 12

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้วินิจฉัย 12
หน้าของหนังสือผู้วินิจฉัยในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือผู้วินิจฉัย
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู2
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม (สัตตบรรณ)
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์7

ผู้วินิจฉัย 12 (อังกฤษ: Judges 12) เป็นบทที่ 12 ของหนังสือผู้วินิจฉัยในพันธสัญญาเดิมหรือคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเขียนโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอล[2][3] แต่นักวิชาการสมัยใหม่มองว่าหนังสือผู้วินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติซึ่งครอบคลุมเรื่องราวตั้งแต่หนังสือเฉลยธรรมบัญญัติถึงหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับที่ 2 เชื่อว่าเขียนโดย เขียนโดยผู้เขียนศาสนายาห์เวห์ผู้รักชาติและศรัทธาในสมัยของโยสิยาห์กษัตริย์ยูดาห์นักปฏิรูปในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 10 ของหนังสือผู้วินิจฉัยบันทึกถึงกิจกรรมของผู้วินิจฉัยเยฟธาห์, อิบซาน, เอโลน และอับโดน[5] อยู่ในส่วนที่ประกอบด้วยวินิจฉัย 6:1 ถึง 16:31[6]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 15 วรรค

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895), ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[7]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8][a]

วิเคราะห์

[แก้]

การศึกษาด้านภาษาศาสตร์โดยชิสโฮล์มเผยให้เห็นว่าเนื้อหาส่วนกลางของหนังสือผู้วินิจฉัย (ผู้วินิจฉัย 3:7–16:31) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงตาม 6 คำสร้อยที่กล่าวว่าชาวอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์:[10]

ช่วงที่ 1

A 3:7 ויעשו בני ישראל את הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์[11]
B 3:12 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
และคนอิสราเอลทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 4:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์อีก

ช่วงที่ 2

A 6:1 ויעשו בני ישראל הרע בעיני יהוה
แล้วคนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรของพระยาห์เวห์
B 10:6 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลก็ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก
B 13:1 ויספו בני ישראל לעשות הרע בעיני יהוה
คนอิสราเอลได้ทำสิ่งชั่วในสายพระเนตรพระยาห์เวห์อีก

นอกจากนี้จากหลักฐานทางภาษา คำกริยาที่ใช้อธิบายการที่พระเจ้าทรงตอบสนองต่อบาปของชาวอิสราเอลก็มีรูปแบบซ้ำ ๆ และสามารถจัดกลุ่มให้เข้ากับการแบ่งส่วนข้างต้น:[12]

ช่วงที่ 1

3:8 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา," จากรากศัพท์ מָכַר, makar
3:12 ויחזק, "ทรงเสริมกำลัง" จากรากศัพท์ חָזַק, khazaq
4:2 וימכרם, "ทรงขายพวกเขา" จากรากศัพท์ מָכַר, makar

ช่วงที่ 2

6:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan
10:7 וימכרם, "ทรงขายพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ מָכַר, makar
13:1 ויתנם, "ทรงมอบพวกเขาไว้" จากรากศัพท์ נָתַן, nathan

บทนี้เป็นเรื่องราวของเยฟธาห์ ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ตอน แต่ละตอนมีบทสนทนาระหว่างบุคคลที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้:[13][14]

ตอนในเรื่องเล่าของเยฟธาห์
ตอน วรรค บทสนทนาระหว่าง วรรค
A. 10:6–16 อิสราเอลกับพระยาห์เวห์ 10–15
 B. ชาวอัมโมนเข้าคุกคาม 10:17–11:11 พวกผู้ใหญ่กับเยฟธาห์ 5–11
  C. 11:12–28 เยฟธาห์และกษัตริย์ชาวอัมโมน 12–28
 B'. ชาวอัมโมนถูกปราบ 11:29–40 เยฟธาห์และบุตรหญิง 34–38
A'. 12:1–7 เยฟธาห์และชาวเอฟราอิม 1–4a

เยฟธาห์และคนเอฟราอิม (12:1–7)

[แก้]

ส่วนนี้ประกอบด้วยตอนที่ 5 (ตอนสุดท้าย) ของเรื่องเล่าเกี่ยวกับเยฟธาห์[13][14] เรื่องราวมีลักษณะเช่นเดียวกับเรื่องราวของกิเดโอนในผู้วินิจฉัย 8:1–3 คือคนเอฟราอิมต่อว่าเยฟธาห์ที่พวกตนไม่ได้ถูกเรียกให้ร่วมในการรบ (เพื่อที่พวกตนจะได้ของริบด้วย) แต่ครั้งนี้จบลงด้วยสงครามกลางเมือง เมื่อเยฟธาห์รวมคนกิเลอาดเป็นหนึ่งเดียวและกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบ[5] คนกิเลอาดใช้การออกเสียงคำภาษาฮีบรูว่า "ชิบโบเลท" ในการแยกแยะคนเอฟราอิม เพื่อจะสังหารคนเอฟราอิมได้[15]

อิบซาน (12:8–10)

[แก้]

อิบซานได้ขึ้นเป็นผู้วินิจฉัยของอิสราเอลต่อจากเยฟธาห์เป็นเวลา 7 ปี ท่านมีบุตรชาย 30 คนและบุตรหญิง 30 คน เมื่อท่านเสียชีวิตได้ถูกฝังที่เมืองบ้านเกิดคือ "เบธเลเฮม" ซึ่งไม่มีการตามด้วยความว่า "ของเอฟราธาห์" หรือ "ของยูดาห์" จึงน่าจะเป็นเบธเลเฮมในอาณาเขตของเผ่าเศบูลุน (โยชูวา 19:15).[16]

เอโลน (12:11–12)

[แก้]

เอโลนได้ขึ้นเป็นผู้วินิจฉัยคนที่ 10 ต่อจากอิบซาน มีบันทึกเกี่ยวกับเอโลนน้อยมาก ไม่มีประวัติใด ๆ ของท่านนอกจากว่าท่านมาจากเผ่าเศบูลุน เอโลนวินิจฉัยอิสราเอลเป็นเวลา 10 ปี เมื่อท่านเสียชีวิตได้ถูกฝังในอัยยาโลนในอาณาเขตของเผ่าเศบูลุน[17]

อับโดน (12:13–15)

[แก้]

อับโดนบุตรฮิลเลลชาวปิราโธนแห่งเผ่าเอฟราอิมได้ขึ้นเป็นผู้วินิจฉัยถัดจากเอโลน อับโดนมีบุตรชาย 40 คนและหลานชาย 30 คน ท่านวินิจฉัยอิสราเอลเป็นเวลา 8 ปี ฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ตอนกลางของอิสราเอลภายหลังสงครามกลางเมืองที่เกี่ยวข้องกับเยฟธาห์และคนกิเลอาด[18]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ผู้วินิจฉัย 10, ผู้วินิจฉัย 11
  • หมายเหตุ

    [แก้]
    1. หนังสือผู้วินิจฉัยทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[9]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Halley 1965, p. 173.
    2. Talmud, Baba Bathra 14b-15a)
    3. 3.0 3.1 Gilad, Elon. Who Really Wrote the Biblical Books of Kings and the Prophets? Haaretz, June 25, 2015. Summary: The paean to King Josiah and exalted descriptions of the ancient Israelite empires beg the thought that he and his scribes lie behind the Deuteronomistic History.
    4. Niditch 2007, p. 177.
    5. 5.0 5.1 Niditch 2007, p. 185.
    6. Chisholm 2009, pp. 251–252.
    7. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    8. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. Chisholm 2009, p. 251.
    11. Judges 3:7 Hebrew Text Analysis. Biblehub
    12. Chisholm 2009, p. 252.
    13. 13.0 13.1 Webb 2012, p. 302.
    14. 14.0 14.1 Younger 2002, p. 241.
    15. Richard Hess; Daniel I. Block; Dale W. Manor (12 January 2016). Joshua, Judges, and Ruth. Zondervan. p. 352. ISBN 978-0-310-52759-6.
    16. Hirsch, Emil G.; Seligsohn, M. "Ibzan". Jewish Encyclopedia. 1906.
    17. Jastrow, Morris, Jr.; Mendelsohn, Charles J.; Barton, George A. "Elon". Jewish Encyclopedia. 1906.
    18. McCurdy, J. Frederic. "Abdon". Jewish Encyclopedia. 1906.

    บรรณานุกรม

    [แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]