ข้ามไปเนื้อหา

บายา มาลี กนินจา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บายา มาลี กนินจา
Баја Мали Книнџа
เกิดมีร์โก ปัยชิน
(เซอร์เบีย: Мирко Пајчин)

13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 (58 ปี)
กูบิน, สาธารณรัฐสังคมนิยมบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ยูโกสลาเวีย
อาชีพนักร้อง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2532–ปัจจุบัน
บุตร6
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลงSuperton Music

มีร์โก ปัยชิน/(เซอร์เบีย: Мирко Пајчин /Mirko Pajčin 13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 –) หรือที่รู้จักกันในนาม บายา มาลี คนินจา (เซอร์เบีย: Баја Мали Книнџа /Baja Mali Knindža) เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของประเทศเซอร์เบีย เขาเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักร้องแนวเทอร์โบโฟล์คและมีเนื้อหาที่ปลุกใจในช่วงสงครามยูโกสลาเวีย[1] โดยเพลงของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ มอยเยตาตาซลอซินาชิสราตา (Moj je tata zločinac iz rata, บิดรของข้าเป็นอาชญากรสงคราม)[2] ซึ่งถูกนำไปเผยแพร่และล้อเลียนโดยนักอินเทอร์เน็ตมีมอย่างกว้างขวาง[2]

ประวัติและเส้นทางในวงการเพลง

[แก้]

บายาเป็นชาวบอสเนียเซิร์บ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ลีฟโบ ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ต่อมาเขาย้ายไปอาศัยที่ประเทศเซอร์เบียในสมัยที่ยังเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียและเริ่มเข้าสู่วงการเพลงใน พ.ศ. 2527 ต่อมาเขาชนะการประกวดร้องเพลงที่เมืองลีฟโบใน พ.ศ. 2532 และเริ่มมีอัลบั้มเพลงเป็นของตัวเองใน พ.ศ. 2533 ซึ่งอยู่ในช่วงที่กำลังเกิดสงครามยูโกสลาเวีย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะนักร้องที่เพลงมีเนื้อหาปลุกใจและสนับสนุนชาวเซิร์บในช่วงสงคราม และเป็นสัญลักษณ์ความเป็นชาตินิยมของเซอร์เบีย[3] ร่วมกับรอคิ วูลอวิชซึ่งเป็นนักร้องแนวชาตินิยมชาวเซิร์บเช่นกัน เนื้อหาเพลงของเขาส่วนใหญ่มักจะมีเนื้อหาต่อต้านการประกาศเอกราชของบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาและมีเนื้อหาเพลงที่พาดพิงอาลียา อีเซตเบกอวิช ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาอยู่บ่อยครั้ง[4] เพลงที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ กนีนเยกรายีซนีซี, เนวอลีมเตอาลียา, มอเยตาตาซลอซินาชิสราตา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เขาก็มีเพลงที่เนื้อหาไม่เกี่ยวกับช่วงสงครามยูโกสลาเวีย ได้แก่ "อูมรีบาบา" และ "พอเกออะพารัต"

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เขาสมรสแล้วและมีบุตรและธิดารวมหกคน ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่เซมุน เขาสามารถพูดภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียได้ ทั้งนี้ เขายังเป็นผู้สนับสนุนหลักของพรรคก้าวหน้าของประเทศเซอร์เบียอีกด้วย นอกจากนี้ เขายังมีญาติซึ่งเป็นนักร้องเช่นกัน คือ กเซนียา ปราจชินซึ่งถูกฆาตกรรมโดยสามีของกเซนียาเองเมื่อ พ.ศ. 2553[5][6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Galijaš 2011, S. 284: „Selbst militärische Führer schrieben ihr einen derart hohen Stellenwert zu […]“ u. S. 285: „[…] Hass zu vertiefen. Die Lieder von Baja Mali Knindža leisteten dazu einen wesentlichen Beitrag“ (siehe Literatur)
  2. 2.0 2.1 "Baja Mali Knindza: Moj Je Tata Zlocinac Iz Rata". tekstovi-pesama.com. 2011-11-05. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.
  3. Ivan Čolović (1994). Bordell der Krieger: Folklore, Politik und Krieg. Osnabrück. p. 111. ISBN 3-929759-08-X.
  4. Radano, Ronald Michael; Bohlman, Philip Vilas (2000). Music and the racial imagination. University of Chicago Press. p. 639. ISBN 978-0-226-70200-1. สืบค้นเมื่อ 11 September 2010.
  5. "Plačem za sestrom Ksenijom". Kurir. 27 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
  6. "Baja Mali Knindža posvetio pesmu Kseniji Pajčin". Svet. 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]