นิสสัย เวชชาชีวะ
นิสสัย เวชชาชีวะ | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ก่อนหน้า | พันเอก อาจศึก ดวงสว่าง |
ถัดไป | วีระ มุสิกพงศ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2475 |
เสียชีวิต | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 (88 ปี) |
คู่สมรส | มารินา เวชชาชีวะ |
นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตกรรมการอิสระ บริษัท เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตอธิบดีกรมสารนิเทศ ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตผู้อำนวยการสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ และเป็นบิดาของนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ประวัติ
[แก้]นิสสัย เวชชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2475 เป็นบุตรของนายโฆสิต เวชชาชีวะ (น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) กับนางสุเพี้ยน เวชชาชีวะ มีน้องชายที่มีชื่อเสียง 2 คน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของไทย และ วิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
ด้านชีวิตครอบครัว นายนิสสัย เวชชาชีวะ สมรสกับนางมารินา เวชชาชีวะ มีบุตรชายคือ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ
นิสสัย เวชชาชีวะ เข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จากนั้นได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน และปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และผ่านการศึกษาอบรมหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 17[1]
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุ วัดธาตุทอง กรุงเทพมหานคร
การทำงาน
[แก้]งานการทูต
[แก้]นิสสัย เวชชาชีวะ เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากองการหนังสือพิมพ์ กรมสารนิเทศ
ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 มีมติคณะรัฐมนตรีตั้งแต่เป็น ผู้อำนวยการสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมองค์การระหว่างประเทศ [2]วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ [3]วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงต่างประเทศ[4]วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสารนิเทศ[5]
เอกอัครราชทูตหลายประเทศ ดำรงตำแหน่งสุดท้ายคือ เอกอัครราชทูต ณ กรุงสต็อกโฮล์ม โดยลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2534[6] ก่อนที่จะเกษียณอายุ
งานการเมือง
[แก้]นิสสัย เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ตั้งแต่ช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา จนถึงปี พ.ศ. 2518 (ครม.33 และ ครม.34) และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[7] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (สุรเกียรติ์ เสถียรไทย) ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2545
ด้านการศึกษา
[แก้]นิสสัย เวชชาชีวะ เคยเป็นนายกสภาสถาบันราชภัฏมหาสารคาม[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-17. สืบค้นเมื่อ 2012-01-25.
- ↑ มติคณะรัฐมนตรี
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/030/442.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/171/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/146/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง (นายนิสสัย เวชชาชีวะ)
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏมหาสารคาม สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี และสถาบันราชภัฏกำแพงเพชร (นายนิสัย เวชชาชีวะ, ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณเวลา, นายภูษณ ปรีย์มาโนช, ศาสตราจารย์เกษม จันทร์แก้ว)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-05-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๕๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๗ กันยายน ๒๕๓๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2475
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- นักธุรกิจชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยบอสตัน
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- สกุลเวชชาชีวะ
- นักการทูตชาวไทย
- เอกอัครราชทูตไทยประจำมาเลเซีย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- นายกสภาสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย