ข้ามไปเนื้อหา

รายการธงประจำจังหวัดของไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงประจำจังหวัดของไทย)

ประเทศไทยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 76 จังหวัด และอีก 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา โดยปรากฏหลักฐานว่าแต่ละจังหวัดได้มีการออกแบบธงสำหรับใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด นับตั้งแต่มีการออกแบบตราประจำจังหวัดตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2484

รายการเบื้องล่างต่อไปนี้ แสดงรูปแบบของธงประจำเขตการปกครองทั้งหมดของประเทศไทยตามที่ปรากฏการใช้งานในปัจจุบัน (ซึ่งหมายรวมถึงกรุงเทพมหานครที่เป็นเขตปกครองอิสระ) อย่างไรก็ตาม เมืองพัทยา ไม่ถูกจัดรวมเข้าอยู่ในบทความนี้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลบ่งชี้ถึงการใช้ธงรูปแบบใดเป็นพิเศษโดยฝ่ายบริหารของเมืองพัทยา

กรุงเทพมหานคร

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
กรุงเทพมหานคร ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำกรุงเทพมหานคร สีขาว ไม่พบเอกสารระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง แต่พบว่าธงที่ใช้งานจริงนั้นมีขนาดเท่ากันกับธงไตรรงค์

ภาคเหนือ

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดเชียงราย ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า-ม่วง-ฟ้า แบ่งตามแนวตั้ง กลางแถบสีม่วงมีรูปช้างสีขาวและแถบข้อความระบุชื่อจังหวัด ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [1][2]
จังหวัดเชียงใหม่ ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นฟ้า กลางธงมีรูปตราประจำจังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปช้างเผือกยืนอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [3]
จังหวัดน่าน ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นแถบ 2 สีตามแนวนอน แถบบนสีม่วง แถบล่างสีเหลือง กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดน่าน เป็นรูปพระธาตุแช่แห้งบนหลังโคอุสุภราช ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [4]
จังหวัดพะเยา ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีบานเย็น กลางธงมีรูปดวงตราประจำจังหวัดพะเยา เป็นรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด ประดิษฐานอยู่เหนือภูกามยาวและกว๊านพะเยา มีช่อลายกนกเปลวและช่อรวงข้าวล้อมรอบองค์พระเจ้าตนหลวง ช่อลายกนกเปลวมีจำนวน 7 ช่อ ตามจำนวนอำเภอเมื่อแรกตั้งจังหวัด สีที่ใช้ในธงมีความหมายดังนี้
  • สีบานเย็น ใช้เป็นสีของพื้นธง หมายถึง ภูมิภาคมณฑลพายัพ
  • สีฟ้า ใช้เป็นสีพื้นของดวงตราประจำจังหวัด หมายถึง สภาพภูมิอากาศเยือกเย็น และความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีต่อผู้ไปเยี่ยมเยือน
  • สีเหลือง ใช้เป็นสีของช่อรวงข้าว หมายถึง เป็นดินแดนที่รุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุขในร่มเงาพระบวรพุทธศาสนา
  • สีเขียว ใช้เป็นสีของใบข้าวและรูปเทือกเขาภูกามยาว หมายถึง ความสดชื่นงอกงามแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [5][6]
จังหวัดแพร่ ธงประจำจังหวัดแพร่ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งออกเป็นแถบ 2 สี ตามแนวตั้ง แถบด้านติดคันธงสีเขียว แถบด้านชายธงสีแดง รูปบนผืนธงใช้รูปที่เป็นเครื่องหมายราชการของจังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นรูปพระธาตุช่อแฮ ตั้งบนหลังม้า โดยสีเขียวหมายถึงความสุข ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนสีแดงหมายถึงชัยชนะ ความกล้าหาญ ความรักชาติรักแผ่นดิน ความเข้มแข็ง[7]
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
เดิมจังหวัดแพร่ใช้ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นแถบ 2 สีตามแนวตั้ง แถบด้านติดคันธงสีดำ แถบด้านชายธงสีแดง กลางธงมีรูปวงกลมพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งบนบรรจุรูปวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ครึ่งล่างมีข้อความ "จังหวัดแพร่" เรียงเป็นแถบโค้งครึ่งวงกลม
[8]
จังหวัดแม่ฮ่องสอน ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงเป็นสีน้ำตาล–สีฟ้า–สีน้ำตาล แบ่งตามแนวนอนเป็นสามส่วนเท่ากัน กลางแถบสีฟ้าเป็นรูปตราประจังหวัดในวงกลมสีแดง รูปตราประจำจังหวัด ด้านบนเป็นภาพท้องฟ้าสีฟ้า มีเมฆสีเหลือง ต่ำลงมาเป็นท้องน้ำสีฟ้า มีริ้วคลื่นน้ำสีขาว ในน้ำมีช้างพลายสีน้ำตาล 1 เชือก ด้านล่างเป็นแถบสีเหลืองขอบแดง ตรงกลางมีคำว่า “จังหวัดแม่ฮ่องสอน” สีแดง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [9]
จังหวัดลำปาง ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดลำปาง เป็นรูปรูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [10]
จังหวัดลำพูน ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กลางธงมีรูปตราประจำจังหวัดลำพูน เป็นรูปพระธาตุหริภุญไชย เบื้องล่างของดวงตรามีข้อความ "จังหวัดลำพูน" ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [11]
จังหวัดอุตรดิตถ์ ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแสด คาดแถบสีม่วงแก่ 2 ริ้วตัดผ่านกลางผืนธงเป็นรูปกากบาท ตรงกลางผืนธงมีเครื่องหมายดวงตราประจำจังหวัด มีสัญลักษณ์เป็นพระแท่นศิลาอาสน์มีมณฑปสีเหลืองครอบอยู่สองข้างของมณฑปเป็น ลวดลายกนกสีน้ำเงินเข้ม ด้านหน้ามณฑปมีรูปครุฑสีแดง ทั้งหมดบรรจุในกรอบวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 เซนติเมตร ด้านล่างมีตัวหนังสือชื่อจังหวัดที่เส้นรอบขอบวง ขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 180 เซนติเมตร แถบสีม่วงแก่ทั้ง 2 แถบซึ่งตัดผ่านผืนธงเป็นรูปกากบาท มีขนาดกว้าง 70 เซนติเมตร [12][13]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดกาฬสินธุ์ ธงพื้นสีเขียว-แสด-เขียว แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีตราประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นดวงตราวงกลม บรรจุภาพติณชาติ (ต้นหญ้า) บึงน้ำสีดำ (สัญลักษณ์แทนความหมายของชื่อจังหวัดกาฬสินธุ์) ภูเขา และเมฆพยับฝน เบื้องล่างของดวงตรามีข้อความ "จังหวัดกาฬสินธุ์" โอบดวงตราเป็นแถวโค้งครึ่งวงกลม ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [14]
จังหวัดขอนแก่น ธงพื้นสีเลือดหมู ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดคือรูปพระเจดีย์ก่อไว้บนตอไม้ หมายถึง พระธาตุขามแก่น ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [15]
จังหวัดชัยภูมิ ธงพื้นสี้น้ำตาล-แสด-น้ำตาล แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปธงสามชายอันเป็นธงชัยประจำกองทัพสมัยโบราณ ขนาดกว้าง 124 เซนติเมตร ยาว 190 เซนติเมตร แถบสีน้ำตาลกว้างแถบละ 27 เซนติเมตร สีแสดกว้าง 70 เซนติเมตร [16]
จังหวัดนครพนม ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งเป็นสองแถบตามแนวนอน แถบบนสีแดง แถบล่างสีดำ กลางธงมีตราประจำจังหวัดนครพนม เป็นรูปพระธาตุพนม ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [17]
จังหวัดนครราชสีมา ธงพื้นสีแสด กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีหน้าประตูชุมพล ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [18][19]
จังหวัดบึงกาฬ ธงประจำจังหวัดบึงกาฬเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ประกอบด้วยแถบสี 3 แถบตามสัดส่วนธง คือม่วง-ขาว-ม่วง มีตราจังหวัดอยู่ตรงกลาง ขนาดกว้าง 54 เซนติเมตร ยาว 84 เซนติเมตร แถบสีขาวตรงกลาง ขนาดความกว้าง 23 เซนติเมตร อยู่กึ่งกลางพื้นธง สีม่วงซึ่งเหลือเป็นแถบบนและแถบล่างความกว้างแถบละ 15.5 เซนติเมตร มีตราจังหวัดอยู่ตรงกลางขนาดเส้นรอบวง 77 เซนติเมตร [20]
จังหวัดบุรีรัมย์ ธงพื้นสีม่วง-แสด แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [21]
จังหวัดมหาสารคาม ธงพื้นสีเหลือง กลางมีแถบสีน้ำตาลพาดผ่าน ภายในแถบนั้นมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปทุ่งนาและต้นรัง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [22]
จังหวัดมุกดาหาร ธงพื้นสีน้ำเงินหม่น (ปัจจุบันพื้นเปลี่ยนเป็น สีขาวหมอกมัว) มีเส้นขอบริมสีแดง3ด้าน ยกเว้นด้านที่ติดเสาธง ตรงกลางเป็นรูปปราสาทสองนางสถิต ประดิษฐานแก้วมุกดาหารอันเป็นตราประจำจังหวัด ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [23]
จังหวัดยโสธร ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 2แถบ แบ่งครึ่งตามแนวนอน แถบบนสีชมพู แถบล่างสีฟ้า กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดยโสธร เป็นรูปพระธาตุอานนท์เปล่งรัศมี ประดิษฐานเหนือดอกบัวบาน มีสิงห์ยืนขนาบสองข้าง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [24][25]
จังหวัดร้อยเอ็ด ธงพื้นสีเหลือง ตรงกลางธงมีตราประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นตราวงกลม ภายในดวงตราบรรจุภาพศาลหลักเมืองบนเกาะกลางบึงพลาญชัย ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [26]
จังหวัดเลย ธงพื้นสีฟ้า ลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีฟ้า มีตราประจำจังหวัดเลยเป็นรูปพระธาตุศรีสองรักอยู่ในวงกลมบนพื้นผ้าทั้งสองด้าน ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [27]
จังหวัดศรีสะเกษ ธงพื้นสีแสดและสีขาว แบ่งครึ่งตามแนวนอน มีตรารูปปรางค์กู่ มีดอกลำดวน และใบลำดวน 6 ใบรองรับอยู่เบื้องล่าง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [28][29]
จังหวัดสกลนคร ธงพื้นสีน้ำเงินและสีเหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มีรูปพระธาตุเชิงชุม หน้าหนองหานหลวงและดอนสวรรค์ เบื้องล่างของตราในแถบสีเหลืองมีข้อความ "จังหวัดสกลนคร" สีน้ำเงิน [30]
จังหวัดสุรินทร์ ธงพื้นสีแสด-เหลือง-เขียว แบ่งตามแนวนอน กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดมีรูปพระอินทร์ประทับบนแท่นศีรษะช้างเอราวัณ หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [31][32][33]
จังหวัดหนองคาย ธงพื้นสีดำ - แดง - ดำ แบ่งตามแนวนอนเท่ากันทุกแถบ กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปกอไผ่ริมหนองน้ำ
จังหวัดหนองบัวลำภู ธงพื้นสีขาว กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาล เบื้องหลังเป็นหนองบัวลำภู เบื้องล่างของตรานั้นมีรูปแถบผ้าขมวดปมที่ตอนต้นและตอนปลาย ภายในมีข้อความ "จังหวัดหนองบัวลำภู"
  • สีขาว หมายถึง แผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์ด้วยศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
  • ชื่อจังหวัดบนผ้า หมายถึง การที่จังหวัดหนองบัวลำภูมีศิลปหัตถกรรมทอผ้าพื้นเมืองเป็นหลัก
  • ชายผ้าที่ผูกเป็นปมทั้งสองข้าง หมายถึง ความสามัคคีและผูกพันต่อแผ่นดินเกิดของชาวหนองบัวลำภู
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [34][35]
จังหวัดอุดรธานี ธงพี้นสีแสด กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ เทวดาผู้รักษาทิศเหนือ
จังหวัดอุบลราชธานี ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงมี 2 แถบแบ่งครึ่งตามแนวนอน ด้านบนของธงมีรูปดอกบัวสีชมพูบาน ปักอยู่บนพื้นสีชมพู ด้านล่างมีอักษรสีขาวคำว่า "อุบลราชธานี" ปักอยู่บนพื้นสีเขียว ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [36]
จังหวัดอำนาจเจริญ ธงพื้นสีม่วง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดมีรูปพระมงคลมิ่งเมือง พระพุทธรูปสำคัญประจำจังหวัด

ภาคกลาง

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นผืนธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 3 แถบสี แถบบนเป็นสีเหลือง แถบกลางสีแดง และแถบล่างสีเขียวใบไม้ ความกว้างของแถบ สีแดงเป็น 2 เท่าของแถบสีเหลืองและสีเขียวใบไม้ มีตรา ประจำจังหวัดอยู่ตรงกลางแถบสีแดง

ความหมายของสีธง

  • สีเหลือง คือ ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา มีมรดกทางวัฒนธรรมของพระพุทธศาสนามากมาย นับตั้งแต่โบราณสถานที่ใหญ่โตมโหพาร จนถึงพระเครื่องขนาดเล็กกำแพงเพชรจึงได้ชื่อว่าเป็น "เมืองพระ" และมีคำขวัญอย่างหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง"
  • สีแดง เลือดนักรบผู้กล้าแกร่ง มีอนุสรณ์สถาน คือ กำแพงเมืองเป็นประจักษ์พยานของเมืองนักรบโบราณสถานที่สร้างไว้เป็นมรตกตกทอดอีกมากมาย ล้วนแล้วแต่ใหญ่โตมั่นคง แข็งแรง สร้างด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่อย่างน่ามหัศจรรย์ จึงเป็นที่มาของคำขวัญ "เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่"
  • สีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ชองพืชพันธุ์ธัญญาหารทรัพยากรธรรมชาติ และ ความร่มเย็นเป็นสุขของบันเมืองทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ น้ำมันดิบที่ลานกระบือ และผลไม้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่มาของคำวัญ "กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ"
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [37][38]
จังหวัดชัยนาท เป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [39]
จังหวัดนครนายก ธงพื้นสีเขียว กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดมีรูปช้างชูรวงข้าว เบื้องหลังเป็นลอมฟาง มีแถบแพรสีเหลือง มีข้อความว่า "นครนายก" ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [40]
จังหวัดนครปฐม ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีรูปพระปฐมเจดีย์ ประดับด้วยเครื่องหมายเลข 4 ไทยในพระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องล่างมีข้อความ "นครปฐม" สีขาว ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [41]
จังหวัดนครสวรรค์ ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีฟ้า กลางธงมีภาพวิมาน 3 ยอด ซึ่งเป็นตราประจำจังหวัดนครสวรรค์ ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง

ธงประจำจังหวัดนครสวรรค์ แบบที่ 2 ซึ่งมีปรากฏในหนังสือ"วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครสวรรค์"[42]

[43]
จังหวัดนนทบุรี ธงสีน้ำเงินแก่ - น้ำเงิน แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง ตรงกลางมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปหม้อน้ำดินเผาลายวิจิตร หมายถึง ชาวจังหวัดนนทบุรีมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีชื่อเสียงมาช้านาน ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [44]
จังหวัดปทุมธานี ธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปบัวหลวงและช่อรวงข้าวชูช่อเหนือน้ำ
  • สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์
  • สีขาว หมายถึง ศาสนา
  • ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว

ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง ของชาติไทย ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

กว้าง 38 นิ้ว ยาว 54 นิ้ว ดวงตราประจำจังหวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 นิ้ว [45]
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งออกเป็น 3 แถบเท่า ๆ กัน มี 2 สี โดยมีสีฟ้าอยู่ตรงกลางขนาบด้วยสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีประจำภาค 1 ทั้งสองข้าง กลางธงแถบสีฟ้ามีตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นรูปปราสาทสังข์ทักษิณาวัตรใต้ต้นหมัน ใต้รูปปราสาทมีคำว่า “อยุธยา” คันธงมีแถบสีเหลืองและสีฟ้า 2 แถบ ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [46]
จังหวัดพิจิตร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น 5 แถบ ใช้สีเขียวเข้ม 3 แถบ สลับด้วย สีขาว 2 แถบบนพื้นสีเขียวสลับขาว สีเขียวมี 3 แถบ สีขาว 2 แถบ กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดพิจิตร ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [47]
จังหวัดพิษณุโลก ธงพื้นสีม่วง กลางธงมีรูปดวงตราประจำจังหวัดพิษณุโลก เป็นรูปพระพุทธชินราชประดิษฐานภายในกรอบวงกลมประดับลวดลายไทย ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [48]
จังหวัดเพชรบูรณ์ พื้นธงเป็น 3 ริ้ว มี 2 สี ริ้วสีขาวอยู่กลาง ใหญ่กว่าริ้วสีเขียวใบไม้ซึ่งเป็นริ้วที่อยู่ริม 2 ข้างประมาณ 1/3 ตรงกลางผืนธงประกอบด้วยเครื่องหมายตราประจำจังหวัด เพชรสีขาวน้ำมันก๊าด มีรัศมีโดยรอบ ภูเขามีสีน้ำเงิน และสีอื่นเหลือบเหมือนของจริง เชิงภูเขาแลเห็นเป็นทิวไม้ขึ้นเป็นสีใบไม้แก่ ต้นยาสูบสีเขียวใบไม้เหมือนของจริง ตัวอักษร “จังหวัดเพชรบูรณ์” สีแดงลายกนกไทย ล้อมรอบวงกลม เครื่องหมายตราประจำจังหวัดสีทองตัดเส้นสีแดง ผืนธงยาว 250 ซ.ม. กว้าง 150 ซ.ม. เครื่องหมายประจำจังหวัดที่ประดิษฐานอยู่ตรงกลางผืนธงมีความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลาง 66 ซ.ม. [49][50]
จังหวัดลพบุรี ธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระนารายณ์สี่กร ประทับยืนหน้าพระปรางค์สามยอด มีข้อความจังหวัดลพบุรีอยู่เบื้องล่าง ผืนธงกว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร [51]
จังหวัดสมุทรปราการ ธงพื้นสีฟ้า ตรงกลางมีภาพตราพระสมุทรเจดีย์ ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดสมุทรสงคราม ธงพื้นสีน้ำเงิน-ขาว-น้ำเงิน แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปกลองลอยน้ำ ขนาบข้างด้วยต้นมะพร้าวล้อมรอบ เหนือรูปกลองเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง
จังหวัดสมุทรสาคร ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งเป็นสามแถบตามแนวนอน แถบบนและแถบล่างเป็นแถบสีชมพู แถบกลางเป็นแถบสีฟ้าน้ำทะเล มีความกว้างเป็น 2 เท่าของแถบสีชมพู ภายในแถบสีฟ้าน้ำทะเลมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสมุทรสาคร เป็นภาพเรือสำเภาลอยลำในแม่น้ำท่าจีน ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [52][53]
จังหวัดสระบุรี ธงพื้นสีแดง-ขาว-แดง แบ่งตามแนวนอนเท่าๆ กัน กลางธงเป็นตราประจำจังหวัดรูปมณฑปพระพุทธบาท ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [54]
จังหวัดสิงห์บุรี ธงพื้นสีแดงขนาดมาตรฐานธงชาติไทย (กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน) กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสิงห์บุรี เป็นรูปโครงร่าง 11 วีรชนค่ายบางระจันสีดำ อยู่บนพื้นสีแดงภายในโล่ (เครื่องป้องกันอาวุธ) ชนิดกลม ขอบโล่ถัดจากพื้นสีแดง มีวงกลมสีขาว สีน้ำเงิน และสีแดง มีขนาดและสัดส่วนเช่นเดียวกับพื้นแถบธงชาติไทยออกไปตามลำดับ ใต้รูปโครงร่างวีรชนมีข้อความจังหวัดสิงห์บุรี เป็นอักษรสีดำโค้งไปตามส่วนล่างของขอบโล่ โดยตัดวงกลมสีแดงวงนอกสุดออกเพื่อความกลมกลืน [55]
จังหวัดสุโขทัย เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสี 3 สี แถบแดงอยู่เบื้องบน แถบสีเหลืองอยู่ตรงกลาง และแถบเขียวอยู่เบื้องล่าง พื้นธงมุมบนด้านใกล้คันธง มีภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราชประทับบนพระแท่น มนังศิลาบาตร และมีคำว่า จังหวัดสุโขทัย อยู่เบื้องล่าง ใต้ฐานยอดคันธงชิดกับมุมบนของธงด้านเสามีแถบสีแดง สีเหลือง สีเขียว ห้อยชายมายังชายธงเบื้องล่าง
  • สีแดง หมายถึง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง ทิศเหนือจรดเมืองแพร่ เมืองน่าน ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทิศตะวันออกแผ่พระราชอาณาเขตออกไปจนถึงแม่น้ำโขง ต่อแดนเวียงจันทน์และเวียงคำ ทิศใต้ตลอดถึงแหลมมลายู นับว่าดินแดนของราชอาณาจักรสุโขทัยสมัยนั้นแผ่ขยายกว้างขวางยิ่งกว่าสมัยใดทั้งสิ้น
  • สีเหลือง หมายถึง พระพุทธศาสนา ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงวางรากฐานทางพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ให้เป็นปึกแผ่น ทรงนิมนต์พระสังฆราชจากนครศรีธรรมราช มาเผยแผ่ธรรมะให้แก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
  • สีเขียว หมายถึง การเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยสมัยสุโขทัย ประชาชนดำรงชีพอยู่ด้วยความเป็นสุข พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [56][57]
จังหวัดสุพรรณบุรี ธงพื้นสีน้ำเงิน-แสด-น้ำเงิน แบ่งตามแนวนอน แถบสีแสดนั้นกว้างเป็น 2 เท่าของแถบน้ำเงิน ตรงกลางมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นรูปการกระทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชาแห่งอาณาจักรหงสาวดี ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [58]
จังหวัดอ่างทอง เป็นธง 2 สี ด้านบนสีเหลือง ด้านล่างสีเขียว มีตราประจำจังหวัดอ่างทองอยู่ตรงกลาง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [59][60]
จังหวัดอุทัยธานี ธงรูปสี่เหลี่ยม แถบแนวนอนสีเหลืองและเขียวความกว้างเท่ากัน ริ้วธงส่วนบนเป็นสีเหลือง หมายถึง สีประจำพระบรมราชจักรีวงศ์ คือ พระมหากษัตริย์ ริ้วธงส่วนล่างเป็นสีเขียว หมายถึง สีประจำพระบรมราชสมภพ แห่งรัชกาลที่ 1 คือ วันพุธ ตรงกลางผืนธงมีตราประจำจังหวัด 2:3

(อ้างอิงจากเว็บไซต์สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี ได้ระบุขนาดมาตรฐานของธงว่า กว้าง 120 ซม. ยาว 180 ซม.)

[61][62]

ภาคตะวันออก

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดจันทบุรี ธงพื้นสีแดง กลางธงเป็นภาพดวงตราประจำจังหวัดจันทบุรี ด้านล่างของดวงตรงมีข้อความ "จังหวัดจันทบุรี" ธงประจำจังหวัดจันทบุรีในปัจจุบันไม่ปรากฏข้อความไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง แต่ปรากฏหลักฐานว่าเดิมจังหวัดจันทบุรีใช้ภาพธงประจำจังหวัดอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร

เดิมจังหวัดจันทบุรีใช้ภาพธงประจำจังหวัดอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 120 เซนติเมตร ผืนธงสีแดง มุมด้านซ้ายมือของผืนธงประกอบด้วยดวงตราประจำจังหวัด อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสพื้นสีน้ำเงิน เป็นรูปกระต่ายในดวงจันทร์ เปล่งแสงเป็นประกาย
[63][64]

[65]
จังหวัดฉะเชิงเทรา ธงพื้นสีแดงเลือดนก หรือเลือดหมู กลางธงเป็นตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหารหลังใหม่



ในเว็บไซต์สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ระบุธงประจำจังหวัดฉะเชิงเทราไว้อีกแบบหนึ่งว่า"สีแดงเลือดนก คือ ความเสียสละ ความสามัคคี จากการต่อสู้และได้มาซึ่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต่อสู้ชนะข้าศึกทั้งทางบกและทางน้ำ สีเหลือง หมายถึงสีประจำรัชกาลในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ศาลากลางน้ำ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ ความชุ่มชื้น ความร่มเย็น และองค์หลวงพ่อพระพุทธโสธรที่ล่องมาทางแม่น้ำบางปะกง"[66]

[67]
จังหวัดชลบุรี ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดงเข้ม-เหลือง-แดงเข้ม แบ่งตามแนวนอน ตรงกลางเป็นรูปเขาสามมุขและทะเล ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [68][69][70]
จังหวัดตราด ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งครึ่งแถบสองสีตราแนวนอน ครึ่งบนสีน้ำเงิน ครึ่งล่างสีแดง กลางธงเป็นภาพดวงตราประจำจังหวัดตราด ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [71][72]
จังหวัดปราจีนบุรี ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะพื้นธง ตอนต้นมีพื้นสีแดง ซึ่งกำหนดเป็นสีประจำภาค มีรูปต้นโพธิ์อยู่ในกรอบวงกลมซึ่งเป็นตราประจำจังหวัด กว้าง 1.50 เมตร ยาว 2.25 เมตร พื้นสีแดงตอนต้นผืนธงกว้างยาวด้านละ 1.50 เมตร ตราประจำจังหวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 85 เซนติเมตร [73][74]
จังหวัดระยอง ธงพื้นสีแดง-เหลือง-น้ำเงิน แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีภาพตราประจำจังหวัดระยอง เป็นรูปพลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนเกาะเสม็ด
  • สีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของนักสู้ ที่สะท้อนถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงกอบกู้เอกราชและเคยพักกองทัพใต้ต้นสะตือ ณ วัดลุ่ม จังหวัดระยอง
  • สีเหลือง หมายถึง ความรักชาติ
  • สีน้ำเงิน หมายถึง ความสดใสและความเย็น สื่อถึงน้ำทะเล ซึ่งจังหวัดระยองมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 100 กิโลเมตร
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [75][76]
จังหวัดสระแก้ว ธงพื้นสีเหลือง-เขียว แบ่งครึ่งตามแนวนอนตรงกลางมีตราประจำจังหวัดเป็นรูปพระพุทธรูปปางสรงสรีระ ประทับยืนบนดอกบัว ด้านหลังเป็นภาพพระอาทิตย์ยามรุ่ง ตอนกลางเป็นภาพปราสาทเขาน้อยสีชมพู

ภาคตะวันตก

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดกาญจนบุรี พื้นธงเป็นสีฟ้า ตรงกลางเป็นสีแสดและมีตราจังหวัดอยู่ตรงกลาง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [77]
จังหวัดตาก ธงพื้นสีม่วงสลับเหลือง 7 แถบ เป็นสีม่วง 4 แถบ สีเหลือง 3 แถบ ที่ด้านติดคันธงทำเป็นช่องสามเหลี่ยมพื้นสีน้ำเงิน บรรจุดวงตราประจำจังหวัดตาก เป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกเหนือคอช้าง
  • สีม่วง หมายถึง ความสูงส่ง หยิ่งทะนองในศักดิ์ศรี ไม่ยอมเป็นทาสใคร
  • สีเหลือง หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก พืชพรรณธัญญาหาร และความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา
ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [78][79][80]
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง กลางแถบสีเหลืองภาพดวงตราประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นรูปพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ โดยมีภาพเกาะหลักอยู่เบื้องหลัง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [81]
จังหวัดเพชรบุรี ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นสีน้ำเงิน-เหลือง-น้ำเงิน กลางแถบสีเหลืองภาพดวงตราประจำจังหวัดเพชรบุรี เป็นรูปทุ่งนา ต้นตาลโตนด และพระนครคีรี (เขาวัง) บรรจุอยู่ในกรอบวงกลม ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [82][83]
จังหวัดราชบุรี ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดราชบุรี เป็นรูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ 2 ชนิด คือฉลองพระบาทเชิงงอนและพระแสงขรรค์ชัยศรี ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [84]

ภาคใต้

[แก้]
ภาพธง เขตการปกครอง ลักษณะและความหมาย สัดส่วน หมายเหตุ อ้างอิง
จังหวัดกระบี่ ธงพื้นสีเหลือง ด้านบนมุมซ้ายของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดง ภายในรูปสี่เหลี่ยมสีแดงมีรูปกระบี่สีขาวสองเล่มไขว้กัน ใต้รูปกระบี่ไขว้มีอักษรสีขาวเป็นข้อความ "จังหวัดกระบี่" ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [85]
จังหวัดชุมพร ธงพื้นสีน้ำเงิน กลางมีภาพตราประจำจังหวัด เป็นรูปเทวสตรียืนประทานพรหน้าค่าย มีต้นมะเดื่อขนาบอยู่ 2 ข้าง ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [86][87]
จังหวัดตรัง ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีฟ้า-ขาว-ฟ้า ตามแนวนอน แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปกระโจมไฟ ท่าเรือ และลูกคลื่นในท้องทะเล ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [88][89]
จังหวัดนครศรีธรรมราช ธงสีม่วง-เหลืองแบ่งครึ่งตามแนวนอน ตรงกลางผืนมีภาพวงตราประจำจังหวัด เป็นรูปพระบรมธาตุเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารล้อมรอบด้วยตราสิบสองนักษัตร ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [90]
จังหวัดนราธิวาส พื้นธงตอนต้นเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเหลือง ภายในแถบสี่เหลี่ยมจตุรัสสีเหลืองเป็นรูปเรือกอและกางใบแล่นรับลมเต็มที่ ภายในใบเรือเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องคชาภรณ์ รูปช้างนั้นหมายถึงพระศรีนรารัฐราชกิริณีฯช้างสำคัญซึ่งจังหวัดนราธิวาสได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ พ.ศ. 2520 ตอนปลายธงที่เหลือ เป็นแถบสีแดงสลับขาวในแนวนอน 7 แถบ สีแดง 4 แถบ สีขาว 3 แถบ
จังหวัดปัตตานี ธงพื้นสีเหลือง-เขียว แบ่งครึ่งตามแนวนอน กลางธงเป็นรูปปืนใหญ่พญาตานี ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [91][92]
จังหวัดพังงา พื้นธงสีน้ำเงิน-เหลือง-ชมพู แบ่งตามแนวตั้ง ตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปเรือขุดเหมือง เขารูปช้าง และเกาะตาปู [93]
จังหวัดพัทลุง ธงพื้นสีเหลือง-ม่วง-เหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอนตรงกลางเป็นตราประจำจังหวัดเป็นรูปเขาอกทะลุ [94]
จังหวัดภูเก็ต ธงประจำจังหวัดภูเก็ตทำด้วยผ้าสีฟ้ามีขอบสีขาว ตรงกลางปักภาพวาดรูปท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ด้านหลัง เป็นรูปภูเขาอยู่ในวงกลม ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [95]
จังหวัดยะลา ธงรูปสีเหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งเป็นแถบสีตามแนวนอนสองแถบ แถบบนสีเขียว แถบล่างสีขาว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดยะลา เป็นรูปคนทำเหมืองดีบุก ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [96]
จังหวัดระนอง ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนต้นธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส พื้นสีเขียว กลางธงมีรูปปราสาทตั้งอยู่บนเขานิเวศน์คีรี รองรับด้วยแถบโค้งบรรจุข้อความ "จังหวัดระนอง" ภายในปราสาทปราสาทประดิษฐานรูปเลข ๕ ไทย ตอนปลายของธงมีความกว้างประมาณกึ่งหนึ่งของแถบสีเขียว แบ่งเป็นแถบย่อยตามแนวนอน 7 แถบ แบ่งเป็นแถบสีเหลือง 4 แถบ แถบสีแสด 3 แถบ [97]
จังหวัดสตูล ธงพื้นสีเขียว กลางธงมีภาพดวงตราประจำจังหวัดสตูล เป็นรูปพระสมุทรเทวาประทับนั่งบนแท่นหิน เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อัสดง ขขอบธง 3 ด้าน (ยกเว้นด้านคันธง) เป็นสีเหลือง

สีประจำจังหวัด : เขียว - เหลือง

ปรากฏมาแต่ดั้งเดิมที่ผู้รู้บอกว่าเป็นสีของการศึกษา จึงใช้เป็นสีประจำของโรงเรียน ประจำจังหวัดด้วยตามที่ได้ยินมานั้นจะเห็นได้ว่าสีเขียวมีความหมายถึง ความเขียวขจีของพฤกษาโดยทั่วไปดูร่มรื่น ร่มเย็น อันหมายถึงความสงบร่มเย็น เป็นสุขของชาวสตูล ส่วนสีเหลืองนั้นหมายถึง สีของกษัตริย์ หรือเจ้าเมืองซึ่งได้ ทำประโยชน์แก่ท้องถิ่นนี้มาโดยตลอด แต่มาภายหลังมีผู้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า เป็นสีแห่งธรรมะ ทั้งพุทธและอิสลาม ซึ่งอยู่รวมกันอย่างสมานฉันท์ตั้งแต่บรรพกาล

ไม่ระบุสัดส่วนความกว้างและความยาวของธง [98]
จังหวัดสงขลา ธงพื้นสีเขียว ตรงกลางเป็นรูปสังข์วางอยู่บนพานแว่นฟ้า เบื้องล่างมีข้อความว่า "จังหวัดสงขลา" สีเหลือง โอบอยู่เบื้องล่าง [99]
จังหวัดสุราษฎร์ธานี ธงพื้นสีส้ม - เหลือง แบ่งครึ่งตามแนวนอน ที่กลางผืนธงประดับด้วยตราประจำจังหวัดรูปพระเจดีย์พระบรมธาตุไชยา ใต้ฐานพระเจดีย์เป็นแถบข้อความสีเหลืองระบุชื่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี [100]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของจังหวัดเชียงราย". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 139. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
  2. เว็บไซต์สำนักงานจังหวัดเชียงราย, http://www.chiangrai.net/cpoc/pages/aboutCr.aspx เก็บถาวร 2020-05-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2563
  3. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดเชียงใหม่" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดน่าน" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพะเยา. "ธงประจำจังหวัดพะเยา". วัฒนธรรมพื้นบ้านเพชรในเมืองพะเยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-24. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของเมืองพะเยา". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพะเยา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 216.[ลิงก์เสีย]
  7. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดแพร่[ลิงก์เสีย]
  8. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดแพร่" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ศาลากลางจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2561). "คำขวัญและสัญลักษณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-20. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. สำนักงานจังหวัด ศาลากลางจังหวัดลำปาง. "ธงประจำจังหวัดลำปาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-27. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดแพร่" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. จังหวัดอุตรดิตถ์. "สัญลักษณ์และเพลงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของท้องถิ่น". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุตรดิตถ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 240. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  14. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชัยภูมิ. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, กรมศิลปากร, 2544. หน้า 197. ISBN 9744192364. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2567.
  17. จังหวัดอุบลราชธานี. "สัญลักษณ์และคำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดขอนแก่น" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. https://www2.nakhonratchasima.go.th/content/flag[ลิงก์เสีย]
  20. สำนักงานจังหวัดบึงกาฬ. "ธงประจำจังหวัดบึงกาฬ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-30. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. จังหวัดบุรีรัมย์. "สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-14. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดมุกดาหาร" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. สำนักงานจังหวัดยโสธร. "ธงประจำจังหวัดยโสธร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-12. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. กรมศิลปากร. "ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 18 จังหวัดยโสธร". พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: รุ่งศิลป์การพิมพ์, 2545. หน้า 81.[ลิงก์เสีย]
  26. กระทรวงมหาดไทย (2543). "จังหวัดมุกดาหาร" (PDF). ข้อมูลสถิติสำคัญ 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร). สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเลย. "สัญลักษณ์จังหวัดเลย". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. "ตราและธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. มิสเตอร์คลีนคาร์แคร์. "ธงประจำจังหวัดศรีสะเกษ". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสกลนคร." ห้องสมุดกระทรวงมหาดไทย สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, พ.ศ. 2531, https://library.moi.go.th/read/moi87?page=1&zoom=0. เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2567
  31. วิทยาลัยการอาชีพศรีขรภูมิ. "ธงประจำจังหวัดสุรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-28. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. กระทรวงมหาดไทย. "ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ พุทธศักราช 2526". . พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์บริษัท เอเชียเพรส จำกัด, 2526.[ลิงก์เสีย]
  33. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.
  34. จังหวัดหนองบัวลำภู. "ธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-08. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของจังหวัดหนองบัวลำพู". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดหนองบัวลำพู. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ, กรมศิลปากร, 2544. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2567. ISBN 9744193093.
  36. จังหวัดอุบลราชธานี. "สัญลักษณ์และคำขวัญจังหวัดอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-04. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร (2558). "สัญลักษณ์จังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของท้องถิ่น". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 248.[ลิงก์เสีย]
  39. ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร (2563). "คำขวัญ-สัญลักษณ์". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  40. สำนักงานจังหวัดนครนายก. "ธงประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. สำนักงานจังหวัดนครปฐม. "ธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/component/smilebook/book/294-2017-02-02-07-14-14/5-2017-01-31-04-42-15[ลิงก์เสีย]
  43. http://123.242.166.5/webnkw/nsinfo/generaldata/index.php?tagpage=gdata1
  44. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 2020-11-07.
  45. จังหวัดปทุมธานี. "สัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-30. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2559). "ตราสัญลักษณ์". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. จังหวัดพิจิตร (2563). "ธงและตราประจำจังหวัดพิจิตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. "ภาพลักษณ์ของจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-22. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. สำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์. "คำขวัญ ธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของท้องถิ่น". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 191.[ลิงก์เสีย]
  51. https://library.moi.go.th/reader/moi88?page=3&space=100
  52. สำนักงานพื้นที่สรรพากรสมุทรสาคร. "สัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรสาคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-28. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. จังหวัดสมุทรสาคร. "ธงประจำจังหวัดสมุทรสาคร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-16. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. เว็บไซต์ E-book สำนักงานมหาดไทยส่วนภูมิภาค จังหวัดสระบุรี https://library.moi.go.th/ereader/?id=412645bb-3129-49b0-bd40-a23900519c77&page=10&zoom=0.6000000000000001,สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2563
  55. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. "ตราประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-30. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย. "ธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-18. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของสุโขทัย". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดสุโขทัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 265.[ลิงก์เสีย]
  58. สำนักงานจังหวัดสุพรรณบุรี (2560). "ธงประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  59. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดอ่างทอง (2558). "ธงประจำจังหวัดอ่างทอง". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  60. สำนักงานการปกครองส่งเสริมท้องถิ่นจังหวัดอ่างทอง (2557). "ประวัติและตราสัญลักษณ์". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  61. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. "ธงประจำจังหวัดอุทัยธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-23. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของท้องถิ่น". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 158.[ลิงก์เสีย]
  63. Ichiro Blog (30 เมษายน 2556). "รีวิวทริป จันทบุรี ระยอง และโรงแรม มาริออท ระยอง Marriott Rayong". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  64. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี. "ที่ระลึกในพิธีเปิดหอสมุดแห่งชาติ รัชมังคลาภิเษก จันทบุรี". กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2533. หน้า 23.[ลิงก์เสีย]
  65. สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. "ธงประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-17. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  66. สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา, http://www.chachoengsao.go.th/ccoprovince/index.php/2016-02-15-05-52-31/2016-02-24-06-55-18 สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563
  67. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-05-14.
  68. จังหวัดชลบุรี (2560). "วิสัยทัศน์ สัญลักษณ์ คำขวัญ จังหวัดชลบุรี". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. chonburi-guru (2558). "ข้อมูลจังหวัดชลบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-27. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. เฟซบุ๊ค "เมืองชล คนเล่าเรื่อง" (2558). "ธงประจำจังหวัดชลบุรี". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  71. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดตราด. "สัญลักษณ์ประจำจังหวัดตราด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  72. สำนักงานจังหวัดตราด. "ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดตราด". พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์อักษรสมัย 2527. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-27. สืบค้นเมื่อ 2020-04-23.
  73. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี (2558). "สัญลักษณ์ประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-26. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  74. ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี. "ธงประจำจังหวัดปราจีนบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-27. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  75. สำนักงานจังหวัดระยอง. "ตราสัญลักษณ์จังหวัด". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  76. [1]เว็บไซต์จังหวัดระยอง
  77. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. "คำขวัญ ตรา และธงจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-26. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  78. จังหวัดตาก. "สัญลักษณ์ประจำจังหวัด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-06. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  79. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของจังหวัดตาก". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตาก. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 246.[ลิงก์เสีย]
  80. https://library.moi.go.th/reader/moi163?page=185&space=100
  81. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. "สัญลักษณ์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  82. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. "เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  83. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "บทที่ 5 เอกลักษณ์ของท้องถิ่น". วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 155.
  84. สำนักงานจังหวัดราชบุรี. "สัญลักษณ์จังหวัด". สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  85. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกระบี่". กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2542. หน้า 330.[ลิงก์เสีย]
  86. สำนักงานจังหวัดชุมพร. "สัญลักษณ์ประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  87. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดชุมพร". กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 251.[ลิงก์เสีย]
  88. ศาลากลางจังหวัดปัตตานี. "ธง/อักษรย่อ/ดอกไม้/ต้นไม้ ประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  89. องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง. "ตรัง Trang". กรุงเทพ: โรงพิมพ์ ดี แอล เอส, 2531. หน้า 150.[ลิงก์เสีย]
  90. สำนักงานสรรพากรพื้นที่นครศรีธรรมราช. "สัญลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-02. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  91. ศาลากลางจังหวัดปัตตานี. "ธง/อักษรย่อ/ดอกไม้/ต้นไม้ ประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  92. สำนักงานจังหวัดปัตตานี. "ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดปัตตานี" (PDF). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น, 2528. หน้า 4.
  93. https://karantee123.wordpress.com/%E0%B8%98%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2/
  94. http://www.phatthalung.go.th/old/emblem.php
  95. จังหวัดภูเก็ต. "ธงประจำจังหวัด". สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  96. กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดยะลา. "ธงประจำจังหวัดยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-10. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  97. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดระนอง". กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. หน้า 183.[ลิงก์เสีย]
  98. http://www.satun.go.th/content/flag
  99. https://www.songkhlacity.go.th/new/ebook1/detail/34/data.html
  100. เว็บไซต์การแข่งขันกีฬาอาชีวะศึกษา ระดับภูมิภาค:ภาคใต้ ครั้งที่ 15 "ร้อยเกาะเกมส์"http://www.archeewa.org/roikohgames/suratthani.php สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]