ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานแพร่

พิกัด: 18°07′54″N 100°09′52″E / 18.13167°N 100.16444°E / 18.13167; 100.16444
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานแพร่
ป้ายหน้าอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดแพร่
ที่ตั้งตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
พิกัด18°07′54″N 100°09′52″E / 18.13167°N 100.16444°E / 18.13167; 100.16444
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/home.php?site=phrae
แผนที่
แผนที่
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
01/19 4,921 1,500 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร34,947
เที่ยวบิน758
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ท่าอากาศยานแพร่ หรือ สนามบินแพร่[1] (อังกฤษ: Phrae Airport) (IATA: PRHICAO: VTCP) ตั้งอยู่ที่ 72 หมู่ที่ 5 ถนนช่อแฮ ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่[2] ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[3]

ประวัติ

[แก้]

ท่าอากาศยานแพร่ เป็นท่าอากาศยานที่สร้างขึ้นในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งพื้นผิวทางวิ่งในช่วงแรกเป็นพื้นดินลูกรัง ภายหลังจากที่สงครามสงบลง จึงมอบหมายให้กองทัพอากาศดูแลและใช้ประโยชน์ ต่อมา สำนักงานการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม ในขณะนั้น ได้ดำเนินการพัฒนาเป็นท่าอากาศยานขนส่งผู้โดยสารและพัสดุในปี พ.ศ. 2495 โดยได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งให้มีขนาด 30 x 1,200 เมตร และสร้างอาคารท่าอากาศยานเพื่อใช้ในกิจการการบินพลเรือน

ในปี พ.ศ. 2514 - 2516 กรมการบินพาณิชย์ ในขณะนั้น ได้ปรับปรุงผิวทางวิ่ง ทางขับและ ลานจอดเป็นพื้นผิวแอสฟัลท์ติคคอนกรีต (asphaltic-concrete) ทำให้ทางวิ่งมีขนาดกว้าง 30 เมตร และยาว 1,500 เมตร และ พ.ศ. 2517 - 2518 ได้สร้างอาคารท่าอากาศยานแพร่ในพื้นที่ปัจจุบัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2524 - 2525 ได้ต่อเติมอาคารท่าอากาศยานให้มีขนาด 250 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2533 กรมการบินพาณิชย์ได้ปรับปรุงต่อเติมอาคารผู้โดยสารพร้อมเครื่องปรับอากาศ พื้นที่ 432 ตารางเมตร และในปี พ.ศ. 2539 ได้สร้างหอบังคับการบินใหม่แยกออกจากอาคารผู้โดยสาร มีความสูง 7 ชั้น[4]

อาคารสถานที่

[แก้]

อาคารผู้โดยสาร

[แก้]

อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานแพร่เป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้งานจริง 1 ชั้น มีพื้นที่ 1,550 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 374 คน/ชั่วโมง โดยแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังนี้[5]

  • ชั้น 1 เป็นโถงผู้โดยสารขาเข้าและขาออก และที่ทำการท่าอากาศยาน
  • ชั้น 2 และ 3 เป็นหอบังคับการบินเดิม

ลานจอดเครื่องบิน มีขนาดกว้าง 60 เมตร ยาว 180 เมตร สามารถจอดเครื่องบินขนาด เอทีอาร์ 72 ได้จำนวน 3 ลำ และมีหลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ทั้งหมด 6 หลุม[5][6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

[แก้]

ท่าอากาศยานแพร่มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 1,500 เมตร[5] พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 45 เมตร และความยาวข้างละ 75 เมตร ซึ่งเป็นขนาดที่ไม่เหมาะสมต่อเครื่องบินขนาดใหญ่ กรมท่าอากาศยานจึงได้มีแผนที่จะขยายทางวิ่งให้มีความกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ซึ่งจะช่วยให้มีสายการบินเปิดเส้นทางบินมายังแพร่เพิ่มมากขึ้น[7] เนื่องจากเป็นขนาดทางวิ่งที่สามารถรองรับเครื่องบินขนาด โบอิง 737 และ แอร์บัส เอ320 ที่สายการบินหลายสายในประเทศไทยนิยมใช้

ทางขับมีทั้งหมด 1 ทางขับ พื้นผิวแอสฟัลติกคอนกรีต (asphaltic-concrete) ขนาดกว้าง 15 เมตร ยาว 145 เมตร

รายชื่อสายการบิน

[แก้]

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน

[แก้]

ไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ

[แก้]
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[8] ปีที่ทำการบิน หมายเหตุ
นกแอร์[9] กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2554 - 2566 ยกเลิกเส้นทางบิน
นกมินิ เชียงใหม่ พ.ศ. 2554 - 2557 ยกเลิกเส้นทางบิน
โซล่าแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2553 - 2554 ยกเลิกเส้นทางบิน
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ยกเลิกเส้นทางบิน
แอร์อันดามัน กรุงเทพฯ-ดอนเมือง พ.ศ. 2545 - 2547 ยกเลิกเส้นทางบิน
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ยกเลิกเส้นทางบิน
เดินอากาศไทย[4] กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ยกเลิกเส้นทางบิน

สถิติ

[แก้]

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ

[แก้]
ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[10]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 19,749 1,458 42.42
2545 12,558 ลดลง 36.41% 860 15.81
2546 10,592 ลดลง 15.66% 722 17.01
2547 828 ลดลง 92.18% 41 0.396
2548 13 ลดลง 98.43% 17 0.00
2549 13 Steady 4 0.00
2550 440 เพิ่มขึ้น 3284.62% 180 0.00
2551 0 ลดลง 100.00% 0 0.00
2552 0 Steady 0 0.00
2553 470 เพิ่มขึ้น 54 0.00
2554 3,494 เพิ่มขึ้น 643.40% 215 0.00
2555 9,056 เพิ่มขึ้น 159.19% 421 0.00
2556 13,690 เพิ่มขึ้น 51.17% 483 0.00
2557 23,371 เพิ่มขึ้น 70.72% 509 0.00
2558 48,673 เพิ่มขึ้น 108.26% 797 0.00
2559 72,274 เพิ่มขึ้น 48.49% 1,191 0.00
2560 80,961 เพิ่มขึ้น 12.02% 1,326 0.00
2561 88,971 เพิ่มขึ้น 9.89% 1,460 0.00
2562 70,069 ลดลง 21.25% 1,220 0.00
2563 34,947 ลดลง 50.12% 758 0.00
2564
2565
2566
2567 0 ลดลง 100% 0 0.00

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน

[แก้]

ท่าอากาศยานแพร่ตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดิน 1022 เข้าไปประมาณ 330 เมตร โดยมีลานจอดรถยนต์กลางแจ้งหน้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งมีความจุ 60 คัน และที่ท่าอากาศยานมีบริการรถสาธารณะเข้าเมือง และบริการรถเช่า[5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินแพร่ ในท้องที่อำเภอหนองม่วงใข่ อำเภอเมืองแพร่ อำเภอสูงเม่น และอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๓
  2. ติดต่อท่าอากาศยานแพร่
  3. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน
  4. 4.0 4.1 ข้อมูลประวัติแบบสมบูรณ์ ท่าอากาศยานแพร่
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 ลักษณะทางกายภาพ ท่าอากาศยานแพร่
  6. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  7. "อธิบดีกรมท่าอากาศยานตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของท่าอากาศยานแพร่". สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 จังหวัดเชียงใหม่. 13 เมษายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  8. ประวัติ ท่าอากาศยานแพร่ บนเว็บไซต์กรมท่าอากาศยาน
  9. "นกแอร์ บอกลาเครื่องบิน Q400 หยุดบิน 3 เส้นทาง แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง". ประชาชาติธุรกิจ. 2023-04-10. สืบค้นเมื่อ 2023-11-26.
  10. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.