ทะเลสาบโบสทัง
ทะเลเลสาบโบสทัง | |
---|---|
ภาพถ่ายดาวเทียม (2 พฤศจิกายน 2547) | |
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: Unable to find the specified location map definition: "Module:Location map/data/China Xinjiang Bayingolin" does not exist | |
ที่ตั้ง | เขตปกครองตนเองมองโกลบายินโกลิน ซินเจียง |
พิกัด | 42°00′N 87°00′E / 42.000°N 87.000°E |
พื้นที่รับน้ำ | 56,000 ตารางกิโลเมตร (22,000 ตารางไมล์) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | จีน |
ช่วงยาวที่สุด | 55 กิโลเมตร (34 ไมล์) |
ช่วงกว้างที่สุด | 25 กิโลเมตร (16 ไมล์) |
พื้นที่พื้นน้ำ | 1,000 ตารางกิโลเมตร (390 ตารางไมล์) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | 8.15 เมตร (26.7 ฟุต) |
ความลึกสูงสุด | 666 เมตร (2,185 ฟุต) |
ปริมาณน้ำ | 8,150,000,000 ลูกบาศก์เมตร (2.88×1011 ลูกบาศก์ฟุต) |
ความสูงของพื้นที่ | 1,048 เมตร (3,438 ฟุต) |
ทะเลสาบโบสทัง (จีนตัวเต็ม: 博斯騰湖; จีนตัวย่อ: 博斯腾湖; พินอิน: Bósīténg Hú; อุยกูร์: باغراش كۆلى / Бағраш Көли / Baghrash Köli / Baƣrax Kɵli; ชากาทาย: Bostang) เป็นทะเลเลสาบน้ำจืดทางขอบตะวันออกเฉียงเหนือของแอ่งทาริม อยู่ในเขตปกครองตนเองมองโกลบายินโกลิน (巴音郭楞蒙古自治州; Bayin'gholin Mongol Autonomous Prefecture) และประมาณ 20 กม. (12 ไมล์) ทางตะวันออกของการาชาฮีร์ (焉耆; Yānqí; ยานฉี) และ 57 กม. (35 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคูร์ลา ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน ทะเลเลสาบครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางกิโลเมตร (390 ตารางไมล์) (ร่วมกับทะเลสาบขนาดเล็กที่อยู่ติดกัน) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในซินเจียงและเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจีน[1] ทะเลสาบโบสทังได้รับน้ำไหลเข้าจากพื้นที่เก็บกักน้ำ 56,000 ตารางกิโลเมตร (22,000 ตารางไมล์)[2]
ชื่ออุยกูร์ของทะเลสาบและภาษาจีนบางครั้งแสดงเป็น Bosten Hu, Bagrax-hu, Bagrasch-köl, Baghrasch köl, Bagratsch-kul, Bositeng Lake หรือ Bositeng Hu
แม่น้ำไคตู (开都河) เป็นแม่น้ำสาขาสำคัญที่สุดที่ไหลลงทะเลสาบโบสทัง คิดเป็นประมาณร้อยละ 83 ของปริมาณน้ำที่ไหลเข้าทั้งหมด[1] แม่น้ำสาขาที่สำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ลำห้วยหวงสุ่ย (จีน: 黃水溝) แม่น้ำชิงสุ่ย (清水河) และแม่น้ำไซต์ (烏拉司特河)[3]
ปัจจุบันยังคงมีการทำประมงอยู่ในทะเลสาบ ข้อมูลจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 (ช่วง พ.ศ. 2513) ปลาที่จับได้ประจำปีร้อยละ 80 เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน 2 ชนิด[4] คือ Schizothorax biddulphi และ Aspiorhynchus laticeps ซึ่งเป็นปลาเฉพาะถิ่นของทะเลสาบโบสทังและแม่น้ำยาร์คันด์ คิดเป็น ในช่วงปี พ.ศ. 2505 ถึง 2508 ได้มีการนำปลาในวงศ์ปลาตะเพียนหลายชนิด (ปลาซ่ง, ปลาเฉาดำ, ปลาลิ่น, ปลาเฉา, ปลาไน และปลาทอง) มาปล่อยในทะเลสาบ[4] ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ปลาเหล่านี้กลายเป็นเป้าหมายหลักของการประมงในทะเลสาบแทน[4] และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ปลาเพิร์ชยุโรปได้ถูกนำมาปล่อยและเป็นปลาชนิดหลักในการการประมงในทะเลสาบโบสทังในเวลาต่อมา[4]
ระเบียงภาพ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Seespiegelschwankungen des Bosten-Sees (ในภาษาเยอรมัน)[ลิงก์เสีย]
- ↑ Mischke, S. (6–11 April 2003). "Holocene environmental fluctuations of Lake Bosten (Xinjiang, China) inferred from ostracods and stable isotopes". EGS - AGU - EUG Joint Assembly, Abstracts from the Meeting Held in Nice, France, Abstract #6609. European Geosciences Union: 6609. Bibcode:2003EAEJA.....6609M.
- ↑ Wei, K.Y.; Lee, M.Y.; Wang, C.H.; Wang, Y.; Lee, T.Q.; Yao, P. (February 2002). "Stable isotopic variations in oxygen and hydrogen of waters in Lake Bosten region, southern Xinjiang, western China". Western Pacific Earth Sciences. 2 (1): 67–82.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 K. F. Walker and H.Z. Yang, Fish and Fisheries in Western China, in Fish and Fisheries at Higher Altitudes: Asia (FAO Fisheries Technical Paper), December 1999