ซาร์แปเตอร์ที่ 2 แห่งบัลแกเรีย
แปเตอร์ที่ 2 Петър II | |
---|---|
เหรียญในสมัยซาร์แปเตอร์ที่ 2 | |
| |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1185 – 1197 |
ราชาภิเษก | ค.ศ. 1185 |
ถัดไป | กาลอยัน |
สวรรคต | ค.ศ. 1197 |
ราชวงศ์ | อาแซน |
ซาร์แปเตอร์ที่ 2[note 1] มีพระนามแต่กำเนิดว่า แตออดอร์ หรือเป็นที่รู้จักในพระนาม แตออดอร์–แปเตอร์ (บัลแกเรีย: Теодор-Петър; สวรรคต ค.ศ. 1197) ทรงเป็นซาร์ (จักรพรรดิ) พระองค์แรกของจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ระหว่างปี ค.ศ. 1185–1197 พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของคนเลี้ยงแกะผู้ร่ำรวยจากเทือกเขาในบริเวณของแตมาปารีสติออน พระองค์และพระอนุชาของพระองค์คืออาแซนและกาลอยันได้รับการการกล่าวถึงจากหลักฐานชั้นต้นแทบทั้งหมดว่าเป็นชาววลาก แต่คาดว่าน่าจะเป็นเชื้อสายผสมกันระหว่างชาววลาก บัลแกเรียและคูมัน
ในปี ค.ศ. 1185 แตออดอร์–แปเตอร์และอาแซนได้เข้าหาจักรรพรรดิไบแซนไทน์คือจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 อันเจลอสที่เธรซ พร้อมทั้งเรียกร้องคฤหาสถ์ในแถบเทือกเขาบอลข่าน หลังจากที่จักรพรรดิทรงปฏิเสธและสร้างความอับอายให้กับพวกเขา พวกเขาจึงตัดสินใจก่อกบฎ โดยใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของชาวบัลแกเรียและวลากในประเด็นของการจัดเก็บภาษี เพื่อชักจูงให้เพื่อนร่วมชาติร่วมด้วยกับพวกเขา จึงจ้างผู้วิเศษท้องถิ่นให้ป่าวประกาศว่านักบุญเดเมทรีอุสแห่งเทสซาโลนีกีกำลังสนับสนุนพวกเขาอยู่ ก่อจะสิ้นปี แตออดอร์–แปเตอร์ได้สวมมงกุฎและใช้เครื่องหมาย ซึ่งสงวนไว้เฉพาะซาร์แห่งบัลแกเรีย
กองทัพไบแซนไทน์สามารถปราบปรามกบฎได้สำเร็จ บีบบังคับให้แตออดอร์–แปเตอร์และอาแซนหนีไปอยู่คูมันในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1186 พวกเขากลับมาพร้อมกับกองทัพคูมันในฤดูใบไม้ร่วง และเข้าควบคุมปารีสติออน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของการก่อกำเริบด้วยการก่อตั้งรัฐใหม่ขึ้น โดยถือว่ารัฐใหม่นี้เป็นรัฐสืบทอดจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในช่วงทศวรรษที่ 1190 กลุ่มพี่น้องมักเข้าจู่โจมดินแดนของไบแซนไทน์ที่อยู่ใกล้เป็นประจำ ความขัดแย้งระหว่างจักรพรรดิไอแซ็คที่ 2 และจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในระหว่างสงครามครูเสด ส่งผลให้ซาร์แปเตอร์ที่ 4 ยึดดินแดนใหม่ได้ในปี ค.ศ. 1190 ซาร์แปเตอร์ที่ 4 และอาแซนแบ่งดินแดนกันปกครองในปี ค.ศ. 1192 โดยซาร์แปเตอร์ที่ 4ทรงได้รับแปรสลัฟและดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือ พระองค์ได้บรรลุสัญญาสันติภาพกับจักรวรรดิไบแซนไทน์ หลังจากที่อาแซนถูกสังการโดยบอลยาร์ในปี ค.ศ. 1196 ซาร์แปเตอร์ที่ 4 จึงแต่งตั้งให้กาลอยันปกครองดินแดนเดิมของอาแซน ซาร์แปเตอร์ที่ 4 ถูกปลงพระชนม์ในปีถัดมา
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Georgi Atanasov, มีลีอานา ไคมากามอวา และนักวิชาการบัลแกเรียผู้อื่นบางส่วนระบุพระองค์เป็น แปเตอร์ที่ 4 (บัลแกเรีย: Петър IV) เนื่องจากพวกเขานับผู้นำกบฏต่อต้านไบแซนไทน์สองพระองค์ คือ แปเตอร์ แดลยัน (ขึ้นครองตำแหน่งใน ค.ศ. 1040) และคอนสแตนติน บอดิน (ผู้ใช้พระนาม แปเตอร์ ใน ค.ศ. 1072)[1]
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
[แก้]- George Akropolites: The History (Translated with and Introduction and Commentary by Ruth Macrides) (2007). Oxford University Press. ISBN 978-0-19-921067-1.
- O City of Byzantium, Annals of Niketas Choniatēs (Translated by Harry J. Magoulias) (1984). Wayne State University Press. ISBN 978-0-8143-1764-8.
- "The History of the Expedition of the Emperor Frederick". In The Crusade of Frederick Barbarossa: The History of the Expedition of the Emperor Frederick and Related Texts (Translated by G. A. Loud) (2013). Ashgate Publishing. pp. 33–134. ISBN 9781472413963.
แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
[แก้]- Chary, Frederick B. (2011). The History of Bulgaria. Greenwood. ISBN 978-0-313-38447-9.
- Curta, Florin (2006). Southeastern Europe in the Middle Ages, 500–1250. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-85085-8.
- Dall'Aglio, Francesco (2013). "The interaction between nomadic and sedentary peoples on the Lower Danube: the Cumans and the "Second Bulgarian Empire"". ใน Curta, Florin; Maleon, Bogdan–Petru (บ.ก.). The Steppe Lands and the World Beyond Them: Studies in Honor of Victor Spinei on his 70th Birthday. Editura Universității "Alexandru Ian Cuza". pp. 299–313. ISBN 978-973-703-933-0.
- Madgearu, Alexandru (2017). The Asanids: The Political and Military History of the Second Bulgarian Empire, 1185–1280. BRILL. ISBN 978-9-004-32501-2.
- Petkov, Kiril (2008). The Voices of Medieval Bulgaria, Seventh-Fifteenth Century: The Records of a Bygone Culture. BRILL. ISBN 978-90-04-16831-2.
- Stephenson, Paul (2000). Byzantium's Balkan Frontier: A Political Study of the Northern Balkans, 900–1204. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-02756-4.
- Vásáry, István (2005). Cumans and Tatars: Oriental Military in the Pre-Ottoman Balkans, 1185–1365. Cambridge University Press. ISBN 0-521-83756-1.
ก่อนหน้า | ซาร์แปเตอร์ที่ 2 แห่งบัลแกเรีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ว่างตำแหน่ง ผู้ดำรงตำแหน่งซาร์ล่าสุด ซาร์แปรสเซียนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย |
ซาร์แห่งบัลแกเรีย (ราชวงศ์อาแซน) (ค.ศ. 1185–1197) |
ซาร์กาลอยันแห่งบัลแกเรีย |
- ↑ Madgearu 2017, pp. 37–38.