ชดช้อย โสภณพนิช
ชดช้อย โสภณพนิช | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มีนาคม พ.ศ. 2487 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
คุณหญิง ชดช้อย โสภณพนิช (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ชุดเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 และอดีตผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ (ทีเค พาร์ก)
ประวัติ
[แก้]คุณหญิง ชดช้อย เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรีของนายชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ กับนางบุญศรี โสภณพนิช ภรรยาคนที่สอง มีพี่ชายร่วมมารดาคือ นายโชติ โสภณพนิช สามีของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช และเป็นน้องสาวต่างมารดาของนายชาตรี โสภณพนิช จบปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย[1] สมรสและหย่ากับนายแพทย์ จอน ยังพิชิต สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ผู้เชี่ยวชาญการแพทย์แบบทางเลือกด้วยสเต็มเซลล์ มีบุตร-ธิดา ชื่อ ชยุส, ฆฤต (ยังพิชิต), เจษฎา และดลิน
คุณหญิง ชดช้อย เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะประธานที่ปรึกษาสมาคมสร้างสรรค์ไทย ที่มีผลงานรณรงค์การรักษาความสะอาดในโครงการ "ตาวิเศษ"[2] ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 [3]
กีฬาไพ่บริดจ์
[แก้]คุณหญิง ชดช้อย ยังเป็นนักเล่นไพ่บริดจ์ที่ได้รับการฝึกสอนโดย พิศวง คุณะดิลก ครั้นเมื่อผู้ฝึกสอนได้เห็นแววจึงชวนให้เข้าแข่งขันในรายการต่างๆ โดยคุณหญิงชดช้อยสามารถคว้าแชมป์ทีมผสมอาเซียน และรองแชมป์เอเชียแปซิฟิก ตลอดจนดำรงตำแหน่งฐานะนายกสมาพันธ์บริดจ์ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกมาแล้วกว่า 16 ปี[4] คุณหญิงชดช้อยยังเป็นนักกีฬาทีมชาติไทยเข้าแข่งขันกีฬาไพ่บริดจ์ในซีเกมส์ 2011 ที่ประเทศประเทศอินโดนีเซีย โดยคุณหญิงชดช้อยเป็นผู้ชนะรางวัลเหรียญทองในประเภททีมผสม[5] และในเวลาต่อมายังได้รับเหรียญเงิน ประเภททีมผสม ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ 2018 ที่กรุงจาการ์ตา และเมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย โดยสร้างปรากฏการณ์เป็นนักกีฬาทีมชาติไทยที่ได้เหรียญเอเชียนเกมส์ที่อายุมากที่สุด คือ 74 ปี 1 เดือน 26 วัน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[9]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประวัติคุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-23. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
- ↑ "เสพศิลป์แบบคุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช". กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์. 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-17. สืบค้นเมื่อ 2008-12-18.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ กันยายนนี้’ตาวิเศษ’ถึงอวสาน! เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เดลินิวส์, 24 มิถุนายน 2548
- ↑ "คุณหญิงชดช้อย สู้ศึกบริดจ์ซีเกมส์ : ข่าวสดออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-02.
- ↑ "คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช" คว้าเหรียญทองแข่งบริดจ์ซีเกมส์ครั้งแรก - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ หน้า 19 ต่อจากหน้า 17 กีฬา, คุณหญิงชดช้อยเก๋าสุดได้เหรียญ อชก., "ฉัตร์ชัยลิ่ว8คนชนมวยโสมแดง". เดลินิวส์ฉบับที่ 25,156: วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 แรม 2 ค่ำ เดือน 9 ปีจอ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๖๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๙, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๘๐, ๒๙ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2487
- สกุลโสภณพนิช
- คุณหญิง
- สมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร
- นักเล่นไพ่บริดจ์
- นักกีฬาทีมชาติไทย
- นักกีฬาเหรียญทองซีเกมส์ชาวไทย
- นักกีฬาเหรียญเงินเอเชียนเกมส์ชาวไทย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.จ. (ฝ่ายใน)
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน