จ๋าเจี้ยงเมี่ยน
ประเภท | บะหมี่ |
---|---|
แหล่งกำเนิด | จีน |
ภูมิภาค | มณฑลชานตง |
ส่วนผสมหลัก | เส้นบะหมี่ เนื้อบด ผัก และจ๋าเจี้ยง (ซอสถั่วเหลืองหมักแบบข้น) |
จ๋าเจี้ยงเมี่ยน | |||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 炸醬麪 | ||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 炸酱面 | ||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "บะหมี่ซอสผัด" | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาไทย | |||||||||
อักษรไทย | จ๋าเจี้ยงเมี่ยน | ||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||
ฮันกึล | 1. 자장면 2. 짜장면 | ||||||||
ฮันจา | 炸醬麵 | ||||||||
| |||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||
คันจิ | 1. 炸醤麺 2. ジャージャー麺 | ||||||||
|
จ๋าเจี้ยงเมี่ยน (จีน: 炸醬面; พินอิน: zhájiàngmiàn) หรือจ้าเจี้ยงเมี่ยน (พินอิน: zhàjiàngmiàn) เป็นอาหารประเภทบะหมี่ที่มีต้นกำเนิดมาจากมณฑลชานตง ประเทศจีน และแพร่หลายไปทั่วประเทศจีนและประเทศใกล้เคียงในเอเชียตะวันออกได้แก่เกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งตำรับจ๋าเจี้ยงเมี่ยนในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไป ชื่อ "จ๋าเจี้ยงเมี่ยน" แปลตรงตัวว่า "บะหมี่ซอสผัด" ส่วนประกอบหลักของจ๋าเจี้ยงเมี่ยนได้แก่เส้นบะหมี่ชนิดหนาทำจากแป้งสาลี ซอสจ๋าเจี้ยงซึ่งทำจากถั่วเหลืองหมักและผัดรวมกับเนื้อบดหรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ และผัก[1][2]
ประวัติ
[แก้]จ๋าเจี้ยงเมี่ยนมีต้นกำเนิดจากมณฑลชานตง[1] ต้นกำเนิดของอาหารชนิดนี้ไม่ชัดเจนนัก มีเพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่าในช่วงสงครามกับพันธมิตรแปดชาติ ขณะที่พระราชวังต้องห้ามกำลังถูกกองทัพของพันธมิตรแปดชาติเข้าปิดล้อม พระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวังซฺวี่เสด็จลี้ภัยพร้อมข้าราชบริพารไปยังซีอาน ระหว่างทาง หลี่ เหลียนอิง ขันทีผู้ทรงอิทธิพลในรัชสมัยของจักรพรรดิกวังซฺวี่ได้กลิ่นอาหารจากร้านจ๋าเจี้ยงเมี่ยน หลี่ เหลียนอิงทูลต่อพระนางซูสีไทเฮาและจักรพรรดิกวังซฺวี่เกี่ยวกับร้านอาหาร ทั้งสองพระองค์จึงรับสั่งให้หยุดขบวนและพักรับประทานอาหาร ทุกคนต่างพอใจรสชาติของจ๋าเจี้ยงเมี่ยนเป็นอย่างมากจนยอมสั่งเพิ่มอีกหนึ่งชาม ก่อนจะเดินทางต่อไป พระนางซูสีไทเฮาได้มีพระราชบัญชาให้หลี่ เหลียนอิงเชิญพ่อครัวผู้ปรุงจ๋าเจี้ยงเมี่ยนเข้าไปในวังหลังสงครามสงบ[3] จ๋าเจี้ยงเมี่ยนจึงเข้าสู่กรุงปักกิ่งและแพร่หลายไปทั่วประเทศจีนนับแต่นั้น
ตำรับ
[แก้]จีน (นอกมณฑลชานตง) และไต้หวัน
[แก้]จ๋าเจี๋ยงเมี่ยนได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วประเทศจีน สูตรของจ๋าเจี้ยงเมี่ยนในภูมิภาคต่าง ๆ ของจีนจะแตกต่างกันออกไป ซอสจ๋าเจี้ยงแบบปักกิ่งจะเน้นรสเค็ม ในขณะที่ซอสจากบริเวณอื่น ๆ ในจีนและไต้หวันจะหวานกว่าเนื่องจากใช้น้ำตาลและแป้งเพิ่มเพื่อให้ข้น[2] ซอสจ๋าเจี้ยงจากมณฑลเสฉวนจะดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของชาวเสฉวนโดยเพิ่มรสเผ็ดเข้าไปด้วย[2] ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าผักชนิดใดควรใช้ ขึ้นอยู่กับฤดูกาลนั้น ๆ ว่ามีผักชนิดใด[4] เนื้อสัตว์ที่นิยมใช้โดยส่วนใหญ่คือเนื้อหมูติดมัน[5] อย่างไรก็ตาม มุสลิมชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือจะนิยมใช้เนื้อวัวหรือแกะแทนตามข้อห้ามทางศาสนา[4] เส้นบะหมี่ที่ใช้ทำจากแป้งสาลีเนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ในแถบตอนเหนือของจีนทำให้ข้าวสาลีเติบโตได้ดีกว่าข้าวเจ้า[1] ขนาดความกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตรและหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร[4]
เกาหลี
[แก้]จ๋าเจี้ยงเมี่ยนแพร่เข้าไปสู่คาบสมุทรเกาหลีโดยชาวมณฑลชานตง[2] บางส่วนเป็นแรงงานที่เดินทางไปทำงานในเกาหลี[6] ในขณะที่บางส่วนอพยพด้วยหลายสาเหตุ ได้แก่ถูกจักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครอง สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สองซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองมณฑลชานตงแทนเยอรมัน และความขัดแย้งในสงครามกลางเมืองจีนระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน[1] ชาวชานตงอพยพบางส่วนประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อดำรงชีวิต[1] จ๋าเจี้ยงเมี่ยนที่ขายในเกาหลีนั้นถูกปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับอาหารเกาหลีและเป็นที่รู้จักในเกาหลีว่า "จาจังมย็อน" โดยซอสที่ใช้ในจาจังมย็อนจะทำจากชุนจังซึ่งใช้ถั่วเหลืองคั่วก่อนแล้วนำไปหมักและเติมแป้งข้าวโพด ทำให้ซอสจาจังมย็อนมีสีเข้มกว่า รสหวานกว่า และข้นกว่าซอสจ๋าเจี้ยงแบบจีน[2][1][6]
ญี่ปุ่น
[แก้]จ๋าเจี้ยงเมี่ยนในญี่ปุ่นจะเรียกว่าจาจาเม็งโดยใช้มิโซะเป็นส่วนประกอบหลักในซอส บางครั้งนิยมใช้เส้นอูดงแทน[7] จาจาเม็งเป็นอาหารขึ้นชื่อของเมืองโมริโอกะ จังหวัดอิวาเตะ โดยถือว่าเป็นหนึ่งใน "สามสุดยอดบะหมี่แห่งโมริโอกะ" ร่วมกับเรเม็ง (บะหมี่แบบเย็นกินคู่กับผลไม้เช่นแตงโมหรือสับปะรด) และวังโกะโซบะ (โซบะในชามเล็กและนิยมรับประทานในรูปแบบการแข่งขันกินจุให้ได้จำนวนมากชามที่สุด)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Zha jiang mian (noodles with meat sauce)". chinesegrandma.com. 12 กันยายน 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 ลี, โซเฟีย (16 ตุลาคม 2554). "Culture and history intersect with Korean ja jang myun | Daily Trojan". สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 豆小豆 (30 กรกฎาคม 2556). "说一说炸酱面的来历-好豆网" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 Chinese Cooking Demystified (10 ธันวาคม 2561). Zha Jiang Noodles, Old Beijing-style (老北京炸酱面). สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite AV media}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Souped Up Recipes (23 สิงหาคม 2560). BETTER THAN TAKEOUT – Beijing Fried Sauce Noodles Recipe [炸酱面]. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite AV media}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 6.0 6.1 แอนโทเนชัน, มาร์ก (12 เมษายน 2559). "Tracing the Evolution of Zhajiangmian to Korean Jajangmyeon and Japanese Ja Ja Men in Denver | Westword". Westword. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ วาตานาเบะ, อากิโกะ. "Jajamen - Japanese Food - NHK WORLD". สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "Culinary specialties of Iwate Prefecture | Japan Experience". Japan Experience. 19 เมษายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)