จำรัส เศวตาภรณ์
จำรัส เศวตาภรณ์ | |
---|---|
รู้จักในชื่อ | จ๋าย |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 |
แนวเพลง | เพลงสตริง, เพลงประกอบภาพยนตร์, เพลงบำบัด |
อาชีพ | นักแต่งเพลง นักดนตรี นักร้อง |
เครื่องดนตรี | เปียโน, คีย์บอร์ด, กีตาร์ |
อดีตสมาชิก | แกรนด์เอ็กซ์ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์กรีนมิวสิก |
จำรัส เศวตาภรณ์ (ชื่อเล่น: จ๋าย, เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงชาวไทย และอดีตสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ มีชื่อเสียงจากงานเพลงประกอบภาพยนตร์ไทย สารคดี และ พระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2498 ที่ กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี เรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนดรุณวิทย์วิทยา (ปัจจุบันเลิกกิจการ) มัธยมที่ โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร[1] จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติ
[แก้]จำรัส เริ่มเล่นดนตรีขณะเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยเล่นและร้องเพลงตามห้องอาหาร ไนท์คลับ จนกระทั่งเป็นสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ ในตำแหน่ง กีตาร์ และ นักร้องนำ จากการชักชวนของ ทนงศักดิ์ อาภรณ์ศิริ[2]โดยออกผลงานซิงเกิล "คู่นก" และอัลบั้ม ลูกทุ่งดิสโก้ ชุด 1-2 ก่อนจะเปลี่ยนให้ ดนุพล แก้วกาญจน์ ทำหน้าที่แทน
ภายหลังลาออกจากแกรนด์เอ็กซ์ จำรัสได้ร่วมงานกับวง เดอะ เรดิโอ โดยออกอัลบั้มเพลงชุด "นกเจ้าโผบิน" จนมีชื่อเสียงโด่งดัง กระทั่งในปี พ.ศ. 2528 ได้เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทย โดยรับหน้าที่ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์กว่าร้อยเรื่อง ของผู้กำกับภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น มานพ อุดมเดช, เชิด ทรงศรี, หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล โดยเฉพาะภาพยนตร์เรื่อง "นางนวล" ได้รับรางวัลดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเอเชียแปซิฟิก ประจำปี พ.ศ. 2530 และมีเพลงร้องที่เป็นที่รู้จักในช่วงทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ คือ "น้ำเซาะทราย"
ต่อมา จำรัสเริ่มผลิตผลงานเพลงบรรเลงในลักษณะ "ดนตรีบำบัด" (Spa Music) ที่ได้ซึมซับเอาบรรยากาศความงดงามของชีวิต และปรัชญาแห่งสายน้ำมาตั้งแต่วัยเยาว์ มาถ่ายทอดเป็นบทเพลงต่างๆ โดยวางจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป และยังมีการทำเพลงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอีกด้วย [3]
ในปี พ.ศ. 2549 เพลงบรรเลง "การเดินทางของใจที่เที่ยงแท้" (Journey on the earth) ซึ่งอยู่ในอัลบั้ม "นิพพาน" (Nirvana) ได้ถูกใช้เป็นเพลงประกอบการถ่ายทอดสด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิตในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน โดย โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย [4] และอีกครั้งหนึ่งในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 85 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555[5]
ปัจจุบัน จำรัสยังคงทำงานด้านดนตรี โดยได้กลับมาทำดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ชั่วฟ้าดินสลาย"[6] แต่ไม่ได้รับทำงานเพลงให้กับศิลปินนักร้องสังกัดค่ายเพลงใด ๆ เลย [3]
ผลงาน
[แก้]อัลบั้มเพลง
[แก้]- แกรนด์เอ็กซ์
- Single คู่นก (2520)
- ลูกทุ่งดิสโก้ ชุดที่ 1 (2522)
- บันทึกการแสดงสดที่แมนฮัตตันคลับ (2523)
- ลูกทุ่งดิสโก้ ชุดที่ 2 (2523)
- เดอะเรดิโอ
- “นกเจ้าโผบิน" (2525)
- “หยาดฝน" (2526)
- “บทเพลงและความฝัน" (2527)
- จำรัส เศวตาภรณ์
- ละครฝัน-น้ำเซาะทราย (2529)
- แล้วแต่จะนึก..บันทึกไว้ด้วยใจ (2531)
- บันทึกหลังฉาก (2537)
- เพลงบรรเลง
- ในห้วงภวังค์
- เช้าวันใหม่ Morning
- ฤดูกาลแห่งชีวิต Season of life
- เสียงเพรียกจากสายลม Whisper of the wind
- เพลงใบไม้ Song of leaf
- บทเพลงแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา Music of the Chaophraya river
- เปียโนในสวน Piano in the garden
- เนรัญชรา The Naerunchara river
- นิพพาน Nirvana
ฯลฯ
เพลงประกอบภาพยนตร์
[แก้]- ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย (2528)
- ข้างหลังภาพ (2528)
- หย่าเพราะมีชู้ (2528)
- โปรดทราบคิดถึงมาก (2529)
- น้ำเซาะทราย (2529)
- ปลื้ม (2529)
- เกมมหาโชค (2529)
- ขบวนการคนใช้ (2529)
- หัวใจเดียวกัน (2529)
- คำมั่นสัญญา (2530)
- เหยื่อ (2530)
- พลอยทะเล (2530)
- กว่าจะรู้เดียงสา (2530)
- สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530)
- ฉันรักผัวเขา (2530)
- นางนวล (2530)
- ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
- พี่เลี้ยง (2531)
- ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
- คู่กรรม (2531)
- อุบัติโหด (2531)
- ทองประกายแสด (2531)
- กลิ่นสีและกาวแป้ง (2531)
- เทวดาตกสวรรค์ (2532)
- ปุกปุย (2533)
- ทวิภพ (2533)
- ความรักไม่มีชื่อ (2533)
- ฉลุย โครงการ 2 (2533)
- กะโหลกบางตายช้า กะโหลกหนาตายก่อน (2534)
- แชะ แชะ แชะ เจอแจ๋วแหวว (2534)
- นายซีอุย แซ่อึ้ง (2534)
- สยึ๋มกึ๋ย (2534)
- ไอ้คุณผี (2534)
- เพียงเรามีเรา (2535)
- ฝากฝันไว้เดี๋ยวจะเลี้ยวมาเอา (2535)
- บุญตั้งไข่ (2535)
- สะแด่วแห้ว (2535)
- โตแล้วต้องโต๋ (2535)
- สมศรี 422 อาร์ (2535)
- โจ๋ไม่โจ๋หัวใจให้โจ๋(2535)
- ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม (2536)
- สมศรี โปรแกรม B ปีนี้ 2 ขวบ (2536)
- เพื่อนซื่อพาก๊อง (2536)
- บันทึกจากลูกผู้ชาย (2537)
- อำแดงเหมือนกับนายริด (2537)
- ม.6/2 ห้องครูวารี (2537)
- โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2538)
- สมศรี 422 R โปรแกรม D ปีนี้มีน้อง (2538)
- กึ๋ยทู สยึ๋มกึ๋ย 2 (2538)
- บินแหลก (2538)
- สติแตกสุดขั้วโลก (2538)
- เพื่อนกันเฉพาะวันหยุด (2539)
- ม.6/2 ห้องครูวารี เทอม 2 (2539)
- ดอกไม้ ไนน์มา กับขาหมู (2539)
- คู่กรรม 2 (2539)
- เรือนมยุรา (2539)
- ฝันติดไฟหัวใจติดดิน (2540)
- เพื่อเพื่อน เพื่อฝัน เพื่อวันเกียรติยศ (2540)
- ยุกยิกหัวใจหยิกกัน (2540)
- แตก 4 รัก โลภ โกรธ เลว (2542)
- ข้างหลังภาพ (2544)
- โก๋หลังวัง (2545)
- ชั่วฟ้าดินสลาย (2553)
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต ในสวนฝัน (2 - 3 สิงหาคม 2557)
- คอนเสิร์ต GREEN CONCERT #18 THE LOST LOVE SONGS ร้อยเพลงรัก..ที่หายไป (29-30 สิงหาคม 2558)
- คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ เพื่อพี่ใหญ่ วงปะการัง (27 เมษายน 2560)
หนังสือ
[แก้]- Memmory Song Book Vol.1
- เพลงประทับใจ ฉบับที่2 รวมเพลงยอดนิยมยุค '70 - '90
- เมโมรี่ ซองบุ๊ค ฉบับที่ 5
- The Piano Vol.4
- โน้ตคีย์บอร์ด สเปเชียล
ผลงานแสดงภาพยนตร์
[แก้]- รักใคร่ (2530)
- ข้างหลังภาพ (2544)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [https://thai.greenmusic.org/ "ʻ� (spa music) : ʻ� �����,����պӺѴ,����� ʻ�,�մ��ŧ ʻ�,�ѧ�ŧ����ŧ���͡�ü������������� ���Ѻ���������٧�ش �� ����� ��ǵ��ó�"]. thai.greenmusic.org.
{{cite web}}
: replacement character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 2 (help) - ↑ "The Last GRAND EX' mini magazine", บทความพิเศษใน นิตยสาร ป็อปมิวสิค 2527
- ↑ 3.0 3.1 ประวัติและความเป็นมาของ จำรัส เศวตาภรณ์
- ↑ "ด้วยพระบารมีในหลวง พลิกชีวิตชั่วข้ามคืน" ปีติจากใจ "จำรัส เศวตาภรณ์ บทความจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2549
- ↑ สกู๊ป..เตรียมพร้อมถ่ายทอดสดพิธีออกมหาสมาคม สีหบัญชร จาก ครอบครัวข่าว 3[ลิงก์เสีย]
- ↑ ข้อมูลภาพยนตร์ ชั่วฟ้าดินสลาย(2553) เก็บถาวร 2010-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน movie.mthai.com