ข้ามไปเนื้อหา

คลีโอพัตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คลีโอพัตราที่ 7)
คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์
พระบรมรูปครึ่งองค์คลีโอพัตราที่ 7
ประดิษฐานอยู่ที่พิพิธภัณฑ์อัลเทส กรุงเบอร์ลิน
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งอียิปต์
ครองราชย์51– 12 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล (21 ปี)
ก่อนหน้าทอเลมีที่ 12
ผู้ปกครองร่วมทอเลมีที่ 12
ทอเลมีที่ 13
ทอเลมีที่ 14
ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน
ประสูติตอนต้นของ 69 ปีก่อนคริสตกาล
อเล็กซานเดรีย, อียิปต์
สวรรคต10 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล (39 พรรษา)
อเล็กซานเดรีย, อียิปต์
ฝังพระศพไม่ทราบ (อาจอยู่ในประเทศอียิปต์)
คู่อภิเษกทอเลมีที่ 13
ทอเลมีที่ 14
มาร์ค แอนโทนี
พระราชบุตรทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน, อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส, คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2, ทอเลมี ฟิลาเดลฟัส
ราชสกุลราชวงศ์ทอเลมี
พระราชบิดาทอเลมีที่ 12
พระราชมารดาคลีโอพัตราที่ 5 แห่งอียิปต์ (สันนิษฐาน)
คลีโอพัตราที่ 7 ในไฮเออโรกลีฟ
q
rw
iwApAd
r
tAH8
คลีโอพัตรา
Qlwpdrt
G5
wr
r
nbnfrnfrnfrH2
x
O22
พระนามฮอรัส (1): Wer(et)-neb(et)-neferu-achet-seh
Wr(.t)-nb(.t)-nfrw-3ḫ(t)-sḥ
พระนางผู้ทรงดีเลิศ ซึ่งทรงเป็นเลิศในด้านคำชี้แนะ
G5
wr t
r
t
W
t
A53n
X2 t
z
พระนามฮอรัส (2): Weret-tut-en-it-es
Wr.t-twt-n-jt=s
ผู้ทรงเป็นพระรูปบูชาที่ยิ่งใหญ่อันศักดิ์สิทธิ์ของพระบิดา
q
rw
W
p
d
r
t H8
nTrt
H8
R7
t
z
N36
Cleopatra netjeret mer(et) ites
Qlwpdrt nṯrt mr(t) jts
เทพธิดาคลีโอพัตรา ผู้ทรงเป็นที่รักของพระบิดา

คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ (กรีกคอยนี: Κλεοπάτρα Φιλοπάτωρ, อักษรโรมัน: Kleopátra Filopátor; หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา; มกราคม ปีที่ 69 ก่อนคริสตกาล – 10 สิงหาคม ปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย พระราชบิดาของพระองค์คือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระราชมารดาเป็นพระเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้

ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดา, พระราชอนุชา, พระราชสวามีผู้เป็นพระอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระราชโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น

พระราชประวัติ

[แก้]

วัยเยาว์

[แก้]

คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีก เสด็จพระราชสมภพในดินแดนอเล็กซานเดรีย, อียิปต์โบราณ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ลำดับถัดจาก ทอเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ ขณะนั้นพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ได้ร่วมกันก่อการกบฏขึ้น ทำให้ฟาโรห์ทอเลมีที่ 12 ออเลติส ต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทรงขอกำลังเสริมจากสภาซีเนตแห่งกรุงโรม และจ่ายเงินตามข้อเรียกร้องของ ออกัส กาบิเนียส จำนวน 10,000 เทลแลนด์ เนื่องจากฟาโรห์ไม่ทรงมีเงินพอ จึงทรงขอยืมเงินจากคหบดีผู้ร่ำรวยนาม ราบีเรียส โพลตูมัส แล้วเสด็จนิวัติอียิปต์พร้อมกองกำลังเพื่อจัดการกับผู้ก่อการกบฏ และมีพระราชบัญชาให้ประหารพระนางเบเนไซน์กับแม่ทัพอาร์เชลล์ ทำให้ราบีเรียสได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระคลังของอียิปต์

ขึ้นครองราชย์

[แก้]

ราบีเรียสรีดไถชาวอียิปต์อย่างหนัก ทำให้ชาวเมืองลุกฮือต่อต้านด้วยความไม่พอใจ จนเขาต้องหนีกลับโรม เมื่อพระราชบิดาของพระนางคลีโอพัตราเสด็จสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเสด็จเถลิงถวัลย์ขึ้นเป็นพระราชินีนาถแห่งอียิปต์ เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกพระองค์ที่มีชื่อว่าอาร์ซิโน่ที่ 4 ในช่วงแรก พระนางทรงครองราชย์ร่วมกับพระราชบิดาเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระราชอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ต่อต้านการปกครองของโรมันและปโตเลมีที่ 14 แต่การสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ทอเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินีคือคลีโอพัตรา เพื่อขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชาและสวามีของพระนางเสด็จสวรรคตลง คลีโอพัตราได้ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30 ก่อนคริสตกาล

ความสัมพันธ์กับจูเลียส ซีซาร์

[แก้]

ในปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของทอเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปรธินุส เข้ายึดอำนาจของคลีโอพัตรา พระนางหนีจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกัน อำนาจของทอเลมีที่ 13 ถูกลิดรอนเมื่อเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม กรณีที่พระองค์เอาใจซีซ่าร์ด้วยการประหารนายพลปอมเปอุส มักนุส (ซึ่งมีภรรยาเป็นลูกสาวของ จูเลียส ซีซาร์ นางเสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ซึ่งหลบหนีซีซาร์มาที่เมืองอเล็กซานเดรีย ซีซาร์ไม่พอใจการกระทำดังกล่าว จึงยกทัพบุกยึดเมืองหลวงของอียิปต์ พร้อมกับตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างทอเลมีที่ 13 และ คลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้น ๆ ทอเลมีที่ 13 สวรรคต ซีซาร์คืนอำนาจให้แก่พระนาง โดย ทอเลมีที่ 14 เป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์

ซีซาร์ พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่ 48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล พระนางสร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของเขา ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ พระนางมีพระประสูติการพระราชโอรส ทรงพระนามทอเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี เขาปฏิเสธซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดอำนาจของตน และได้แต่งตั้งให้พระราชภาคิไนย (หลาน) ทรงพระนาม ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน

พระนางกับซีซาเรียนเสด็จพระราชดำเนินเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล ในช่วงเหตุการณ์ลอบสังหารซีซ่าร์

ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ทอเลมีที่ 14 เสด็จสวรรคตอย่างลึกลับ พระนางแต่งตั้งซีซาเรียนเป็นผู้ร่วมครองบัลลังก์ (สันนิษฐานกันว่าพระนางลอบวางยาพิษทอเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเอง)

ความสัมพันธ์กับมาร์ค แอนโทนี

[แก้]

ในปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม (ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงสุญญากาศทางอำนาจหลังอสัญกรรมของซีซาร์) กราบทูลเชิญคลีโอพัตราเสด็จมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อทรงตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน ต่อมาในช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่ 42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่ 41 ก่อนคริสตกาล เขาใช้เวลาอยู่กับพระนางในอเล็กซานเดรีย จนมีพระราชโอรส - ธิดาฝาแฝด พระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

สี่ปีต่อมาในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล เขาเดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย และได้สานสัมพันธ์กับพระนางทั้งยังถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา เขาอภิเษกสมรสกับพระนางตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย พี่สาวของ อ็อกตาเวียน (หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม) เขามีบุตรกับพระนางอีกหนึ่งคน ชื่อ ทอเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่พระนางและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล (หลังจากที่เขามีชัยเหนืออาร์มีเนีย) พระนางกับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์มีเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนทอเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย, ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้พระนางยังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย

มีเหตุการณ์อันโด่งดังมากมายเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดซึ่งไม่อาจตรวจสอบความจริงได้ คือเรื่องพระกระยาหารค่ำมูลค่าแพงลิบ โดยพระนางหยอกเย้าพนันกับแอนโทนีว่าสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ เขารับพนัน คืนต่อมาหลังพระกระยาหารค่ำธรรมดา พระนางรับสั่งให้นำน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วยเข้ามาถวาย แล้วทรงถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ หย่อนลงไปในถ้วยปล่อยให้ไข่มุกละลายแล้วดื่มส่วนผสมนั้น

พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงโน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของ แอนโทนี เผชิญหน้ากับทัพเรือทหารโรมันนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราร่วมออกรบด้วยทัพเรือของพระนางเองและเห็นกองเรือของเขาที่มีแต่เรือขนาดเล็กขาดแคลนยุทโธปกรณ์ ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางนำเรือหลบหนี ทำให้แอนโทนี ทิ้งสนามรบกลางทะเลและรีบตามพระนางไป

สิ้นพระชนม์

[แก้]
อัตวินิบาตกรรมของคลีโอพัตรา โดย เรจินัลด์ อาร์เธอร์

หลังการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ขณะใกล้ถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังของแอนโทนีหนีทัพไปร่วมด้วย คลีโอพัตรา และ มาร์ค แอนโทนี ตัดสินใจฆ่าตัวตาย โดยพระนางใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ ถูก อ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ ส่วนโอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับแอนโทนี รอดชีวิตและต้องเดินทางไปโรม โดยการร้องขอและช่วยเหลือของ อ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของเขา

มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราใช้งูพิษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอสพฺ (asp) ซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค โดยทั่วไปหมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในแอฟริกา และยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ประหารนักโทษในบางครั้ง มีเรื่องเล่าว่าพระนางทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่าง ๆ นานากับข้าราชบริพารและนักโทษหลายคน ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการที่เห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด

ด้วยความมีเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งด้านภาษาและวัฒนธรรม พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของราชวงศ์ทอเลมี (ซึ่งปกครองอิยิปต์ยาวนานกว่า 300 ปี) ที่มีชื่อเสียงในอัจฉริยะภาพเป็นเลิศอย่างแตกฉานทางภาษาอียิปต์ และภาษาต่างประเทศอีก 14 ภาษา

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของคลีโอพัตรา

[แก้]

ยังเป็นข้อถกเถียงระหว่างนักไอยคุปต์ศาสตร์ กับนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกา เกี่ยวกับเชื้อสายแท้จริงของคลีโอพัตรา นักไอยคุปต์ศาสตร์กล่าวว่าพระนางสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ทอเลมีของกรีก โดยมีบรรพบุรุษเป็นหนึ่งในทหารระดับนายพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยังกล่าวว่าผังตระกูลของราชวงศ์ทอเลมีระบุว่า การสมรสข้ามเผ่าพันธุ์มีอยู่มากและคลีโอพัตราเป็นราชนิกูลพระองค์แรกที่เรียนภาษาอียิปต์ มีผิวขาว รูปปั้นโบราณรวมทั้งรูปบนเหรียญตรายังบ่งชี้ว่าพระนางมีเชื้อสายคอเคเซียน

นักประวัติศาสตร์สายนิยมแอฟริกาอ้างว่า ไอยคุปต์ปกครองโดยอารยธรรมของชาวชนผิวดำ และชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ แม้ว่านักประวัติศาสตร์กลุ่มหลังนี้ ยอมรับว่าราชวงศ์ทอเลมีเป็นชนผิวขาว แต่ก็เชื่อว่าจะราชวงศ์กับชาวอียิปต์น่าจะมีการสมสู่กัน ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าใครคือมารดาของพระนาง (มิได้ระบุไว้ในผังตระกูลของราชวงศ์ทอเลมี) หลายคนจึงเชื่อว่าพระนางน่าจะเป็นพระสนมผิวดำคนหนึ่ง

นักไอยคุปต์ศาสตร์อ้างว่า การกล่าวว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวดำ เป็นแนวคิดแต่งเติมของนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนเชื้อสายแอฟริกัน ขณะที่นักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกาอ้างว่า ความเชื่อว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวขาวนั้น เป็นเพียงอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าชนผิวขาวขโมยวัฒนธรรมของชนผิวดำ

คลีโอพัตราในศิลปวัฒนธรรม

[แก้]

บทประพันธ์

[แก้]

บางส่วนของงานเขียนเรื่องราวของคลีโอพัตรา

ภาพยนตร์/ละครเวที

[แก้]
คลีโอพัตราของฟ็อกซ์ ที่โด่งดังและทำเงินมากที่สุดในปี ค.ศ. 1963 รับบทโดยเอลิซาเบท เทย์เลอร์

ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ได้แก่เรื่อง Antony and Cleopatra (ปี ค.ศ. 1908) นำแสดงโดย Florence Lawrence ในบทของคลีโอพัตรา ส่วนภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีคลีโอพัตราเป็นเนื้อหาหลักได้แก่เรื่อง Cleopatra, Queen of Egypt นำแสดงโดย เฮเลน การ์ดเนอร์ (ค.ศ. 1912)

บางส่วนของภาพยนตร์ และละคร ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์:

  • ค.ศ. 1917: Cleopatra: Theda Bara (คลีโอพัตรา), Fritz Leiber (ซีซาร์), Thurston Hall (แอนโทนี) กำกับการแสดงโดย J. Gordon Edwards สร้างจากบทละครเรื่อง Cléopatre ของ Émile Moreau, Cléopatre ของ Sardou และ Antony and Cleopatra ของ วิลเลียม เชคสเปียร์
  • ค.ศ. 1934 : Cleopatra: Claudette Colbert (คลีโอพัตรา), Warren William (ซีซาร์), Henry Wilcoxon (แอนโทนี) กำกับการแสดงโดย Cecil B. DeMille ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
  • ค.ศ. 1946 : Caesar and Cleopatra: วิเวียน ลีห์ (คลีโอพัตรา), Claude Rains (ซีซาร์), Stewart Granger, Flora Robson — ดัดแปลงจากบทละครของ George Bernard Shaw ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขากำกับศิลป์-ตกแต่งภายใน วิเวียน ลีห์ ยังได้แสดงเป็นคลีโอพัตราร่วมกับ Laurence Olivierสามีของเธอในสมัยนั้น ผู้รับบทซีซาร์ ในภาคละครเวทีของเรื่องนี้ที่เปิดแสดงในกรุงลอนดอน
  • ค.ศ. 1953 : Serpent of the Nile: Rhonda Fleming (คลีโอพัตรา), Raymond Burr (มาร์ค แอนโทนี), Michael Fox (ออกตาเวียน)
  • ค.ศ. 1963 : Cleopatra: เอลิซาเบท เทย์เลอร์ (คลีโอพัตรา), Rex Harrison (ซีซาร์), Richard Burton (แอนโทนี) ได้รับ 4 รางวัลออสการ์ด้านศิลปกรรม, ถ่ายภาพ, เครื่องแต่งกายและเทคนิคพิเศษ
  • ค.ศ. 1964 : Carry On Cleo:ภาพยนตร์ตลกขบขัน ล้อเลียนภาพยนตร์ที่สร้างในปี ค.ศ. 1963 Amanda Barrie รับบทคลีโอพัตรา, Sid James เป็น มาร์ค แอนโทนี และ Kenneth Williams เป็นซีซาร์
  • ค.ศ. 1972/1973 : Antony & Cleopatra: ดัดแปลงจากงานประพันธ์ของวิลเลียม เช็กสเปียร์ (William Shakespeare) สร้างโดย แร็งค์ออร์แกไนเซชั่น (Rank Organization) ฮีลเดการ์ด นีล (Hildegard Neil) เป็นคลีโอพัตรา, ชาร์ลตัน เฮสตัน (Charlton Heston) เป็น มาร์ค แอนโทนี และทำหน้าที่ผู้กำกับการแสดงครั้งแรก แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากบทที่เฉื่อยชาและทุนสร้างจำกัดเกินไปสำหรับหนังแนวมหากาพย์ (Epic) [1][2]
  • ค.ศ. 1974 : Antony & Cleopatra: โดย London's Royal Shakespeare Company นำแสดงโดย Janet Suzman (คลีโอพัตรา), Richard Johnson (แอนโทนี) และ Patrick Stewart (เอโนบาร์บุส)
  • ค.ศ. 1999 : Cleopatra: Leonor Varela (คลีโอพัตรา), ทิโมธี ดาลตัน (ซีซาร์), Billy Zane (แอนโทนี) สร้างจากหนังสือ Memoirs of Cleopatra โดย Margaret George เป็นเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุด แต่ฉากเล่นกับงูก่อนปลิดชีพดูมากเกินควรและไม่น่าเป็นไปได้รวมทั้งยังขัดแย้งกับอารมณ์เศร้าหดหู่ในช่วงท้าย

Teresa Pavlinek รับบทคลีโอพัตราในฉากการรบที่อ่าวแอคติอุม จากภาพยนตร์เรื่อง History Bites

ละครโทรทัศน์

[แก้]

ภาพวาด

[แก้]
  • ภาพวาดคลีโอพัตราที่มีชื่อเสียงมากที่สุด อาจไม่เคยมีในประวัติศาสตร์เลย ตำนานกล่าวว่าเนื่องจากพระนางได้สวรรคตในอียิปต์หลายปีก่อนที่ออกุสตุสจะได้ประกาศชัยชนะของตนในกรุงโรม เขาจึงสั่งให้ศิลปินวาดภาพพระนางถูกล่ามโซ่ตรวนเดินไปตามท้องถนน เพื่อแสดงถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของเขาจากนั้นก็สั่งให้ประหารชีวิตพระนางด้วยพิษงู เรื่องราวนี้อ้างอิงจากเว็บไซต์ Plut. Ant. 86 และ App. Civ. II.102 ซึ่งแหล่งข้อมูลหนังนี้ได้กล่าวถึงรูปปั้นแทนที่จะเป็นภาพวาด นอกจากนั้น Cass. Dio LI.21.3 ยังกล่าวด้วยว่าภาพตัวแทนของพระนางที่เป็นสีทองนั้นไม่ใช่ภาพวาดแน่นอน กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ค้นพบในเมืองซอเรนโต สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นภาพในคอลเล็คชันส่วนตัวและเป็นส่วนหนึ่งในคอลเล็คชันที่เมืองคอร์โทนา แต่ไม่พบร่องรอยของภาพนี้แต่ประการใด สาเหตุของการหายไปอย่างลึกลับของภาพวาดดังกล่าว น่าจะเป็นเพราะภาพปลอมนั่นเอง

ความตายของคลีโอพัตราสร้างแรงบันดาลใจแก่ศิลปินหลายยุคหลายสมัย ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นเพียงผลงานจากหัวข้อในการเรียนของโรงเรียนช่างวาดฝรั่งเศส ดังรายชื่อต่อไปนี้ (เรียงตามลำดับเหตุการณ์)

  • อัตวินบาตกรรมของคลีโอพัตรา (ค.ศ. 1621) ภาพสีน้ำมัน ขนาด 46 x 36 - 3/4 นิ้ว (116.8 x 93.3 ซ.ม.) วาดโดย จีโอวานนี ฟรานเซสโก บาร์บีเอรี ฉายา แกร์ซีโน ปัจจุบันแสดงในคอลเล็คชันที่พิพิธภัณฑ์นอร์ตัน ไซมอน ในเมืองพาซาดีนา รัฐแคลิฟอร์เนีย ในภาพดังกล่าวคลีโอพัตราจับงูพิษไว้ในมือข้างหนึ่ง เตรียมจะปลิดชีพตนเอง
  • งานเลี้ยงโต๊ะยาวของคลีโอพัตรา (ค.ศ. 1743 - 5) ภาพสีน้ำมัน ขนาด 248.2 x 357.8 ซ.ม. วาดโดย จีแอมบัตติสตา ทีเอโปโล (ค.ศ. 1696 - 1770) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งรัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย ในภาพแสดงงานเลี้ยงที่คลีโอพัตราเอาต่างหูมุกมาละลายในแก้วน้ำส้มสายชู
  • คลีโอพัตรากับชาวนา (ค.ศ. 1838) ภาพสีน้ำมัน วาดโดย เออแฌน เดอลาครัว แสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะอาคแลนด์ มหาวิทยาลัยนอร์ทคาโลไลนา ในภาพมีชายผู้หนึ่งนำงูพิษมาถวายคลีโอพัตราเพื่อให้พระนางปลิดชีพตนเอง
  • คล๊โอพัตรากับซีซาร์ (ค.ศ. 1866) ภาพสีน้ำมัน วาดโดย ชอง - เลอง เกโรม (ค.ศ. 1824 - 1904) ภาพต้นฉบับหายสาบสูญไป เหลือเพียงสำเนา เป็นภาพคลีโอพัตรายืนอยู่ต่อหน้าแท่นประทับของซีซาร์ ในแบบศิลปะตะวันออก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Antony & Cleopatra (1972 Film), Wikipedia
  2. Martin, Leonard, Movie and Video Guide 1995, P.49

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]